เตรียมตัวก่อน ‘ยื่นภาษี’ ปี 2563 ‘ลดหย่อน’ อะไรได้บ้าง?

เตรียมตัวก่อน ‘ยื่นภาษี’ ปี 2563 ‘ลดหย่อน’ อะไรได้บ้าง?

เตรียมก่อน "ยื่นภาษี" ปี 2563 ทำความเข้าใจเรื่อง "ภาษี" เบื้องต้น พร้อมวิธีการคำนวณ และอัพเดทรายการและมาตรการที่จะสามารถนำไป "ลดหย่อนภาษี" ก่อนต้องยื่นภายในเดือนมีนาคม 2564

เข้าสู่ช่วงสิ้นปี 2563 หลายคนเริ่มมองหาการลงทุนและช่องทางเพื่อลดหย่อนภาษี ก่อนที่จะถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563 ที่จะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคม 2564 ประกอบกับช่วงเวลานี้ยังมีมาตรการช้อปดีมีคืน จากภาครัฐที่หวังกระตุ้นให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าและบริการ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี เพิ่มเข้ามา

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องการยื่นภาษี และอัพเดทรายการและมาตรการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ก่อนที่จะถึงเวลาต้องดำเนินการในปี 2564

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักคำว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กันก่อน ซึ่งก็คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้เกดิขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล

ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนมกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป เช่น ปีภาษี 2563 จะต้องยื่นภาษีภายในเดือนมีนาคม 2564 แต่สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณี กฎหมายได้กำหนดให้ยื่นภาษีตอนครึ่งปีด้วย หรือเรียกว่า ...94 ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ การรับเหมา เป็นต้น ซึ่งการยื่นภาษีนั้น สามารถทำได้ทั้งไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และรูปแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th

หลักในการคำนวณภาษี หลักๆ มี 2 รูปแบบ คือ

1.คำนวณภาษีแบบเงินได้พึงประเมิน x 0.5% หรือที่หลายคนเรียกว่าภาษีแบบเหมา x 0.5%

โดยวิธีการนี้ เพจ taxbugnoms ได้อธิบายไว้ว่า วิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ทั้งปี ซึ่งไม่นับรวมเงินเดือน เกินกว่า 1 ล้านบาท โดยวิธีการนั้นเป็นการนำเอาเงินได้ทั้งหมดทุกประเภท ที่ไม่ใช่เงินเดือน คูณด้วย 0.5%

2.คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ จะแบ่งเป็นขั้นบันได 0-35% 

สูตรในการคำนวณง่ายๆ คือ นำเงินได้ มาลบด้วยค่าใช้จ่าย และลบด้วยค่าลดหย่อน ผลที่ได้คือ เงินได้สุทธิ จากนั้นก็เอาเงินได้สุทธิ คูณด้วยอัตราภาษี สุดท้ายก็จะได้เงินภาษีที่ต้องจ่าย ซึ่งสามารถดูขั้นบันไดฐานภาษี โดยเริ่มต้นจากเงินได้สุทธิตั้งแต่ 1-150,000 บาท ตามกฎหมายจะได้รับการยกเว้นอัตราภาษี ตามด้วยเงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% จนกระทั่งอัตราภาษีสูงที่สุด 35% คือผู้ที่มีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 5,000,001 บาทขึ้นไป ได้ตามตารางด้านล่างดังนี้

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

160379586158

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า หนึ่งในองค์ประกอบของการคำนวณภาษี คือ การลดหย่อนภาษี ที่มีส่วนช่วยทำให้เสียภาษีลดลง หรืออาจจะได้รับการยกเว้นภาษีเลยก็เป็นไปได้ ที่ผ่านมาจึงมีหลายรายการหรือมาตรการจากภาครัฐที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ ซึ่งสำหรับปีนี้ ภาครัฐได้ออกมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" เพื่อหวังให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ โดยกำหนดรายละเอียดสินค้าและบริการ ทั้งที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ และรายการที่ยกเว้น ซึ่งจะลดหย่อนได้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

นอกจากนี้ในปีภาษี 2563 นี้ จะรายการลดหย่อนอะไรบ้าง ติดตามได้จากตารางด้านล่างนี้

160380063877

ที่มา : https://www.itax.in.th, www.rd.go.th, taxbugnoms