เหลื่อมล้ำ“ดิจิทัล” คือเหลื่อมล้ำการศึกษา
การระบาดทั้งรอบที่ 2 ของโควิด 19 ทำให้สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ การศึกษา
การระบาดทั้งรอบที่ 2 ของโควิด 19 ทำให้สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ การศึกษา ในหลายประเทศทั้วโลกแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ ถึงประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประไทยของเราก็ประสบปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างคือระดับผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา
ปัจจัยหลักที่จะถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา บางกรณีเริ่มต้นจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและเป็นที่มาของการเกิดvicious circle หรือที่เรียกว่าวงจรชั่วร้าย
ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า vicious circle of poverty วงจรชั่วร้ายของความยากจน ซึ่งไม่ว่าจะมองในมุมไหนก็พบว่าจะไปเกี่ยวโยงกับปัจจัยทางด้านการศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศจึงให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงการศึกษา
สำหรับประเด็นความเหลื่อมล้ำในที่นี้คือ ความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงและความรู้ดิจิทัล (digital literacy) ที่เป็นหนึ่งอุปสรรคที่สำคัญที่เชื่อมโยงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) รวมถึงการพัฒนาประเทศโดยรวม
"คงไม่ห่างไกลจากความเป็นจริงสักเท่าไร ที่ประเด็นความเหลื่อมนั้นเกิดขึ้นจากการเข้าไม่ถึง ตัวอย่างเช่น ปัญหาเชิงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การที่ประเทศไทยพัฒนาปรับโครงสร้างต่างๆให้เป็นดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม แต่บางครั้งการมุ่งเน้นการพัฒนาไปในทางใดด้านหนึ่งนั้น ถ้าอีกด้านไม่ได้ถูกพัฒนาไปพร้อมกันก็จะทำให้เกิดกรณีที่เรียกว่า zero sum ผลรวมศูนย์ ไม่ใช่ join sum ผลรวมร่วม"
ตัวอย่างของการเหลื่อมล้ำทางการเมือง ประเทศได้มีการปรับโครงสร้างด้านต่างๆให้เป็นดิจิทัลนั้น กลุ่มหนึ่งสามารถเข้าถึงประโยชน์ได้ แต่ยังมีอีกกลุ่มที่ไม่ใช่เพียงถูกทิ้งไว้ แต่มีคนจำนวนมากพอที่จะเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรได้รับการพิจารณาแก้ไข เพราะสาเหตุอาจจะเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางการเมืองที่จะเข้าถึงเพื่อเรียกร้องประโยชน์ ซึ่งก็เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาเช่นกัน
ตัวอย่างของความเหลื่อมล้ำของการถึงเทคโนโลยีพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันที่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในหลายด้าน รวมถึงสิ่งที่จะนับได้ว่าเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของอีกหลายๆกลุ่ม เห็นในจากตัวเลขปริมาณที่ใช้ในการซื้อของ เช่น e-payment and e-commerce เราต้องเรียนรู้ที่ต้องใช้เทคโนโลยีในชีวิตเกือบจะทุกๆวัน แต่ยังคงมีอีกกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าเทคโนโลยีเหล่านี้เลย เพราะการเกิดของกรณีของความกีดกันทางดิจิทัล (Digital Exclusion) อันเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังไม่รับการพิจาณาแก้แบบเร่งด่วนนั้นจะส่งผลกระทบระยะยาวในประเทศ
ตัวอย่างของการเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงดิจิทัลทางการศึกษา โอกาสของการเข้าถึงของการศึกษานั้นได้แพร่กระจายไปในหลายระดับชั้น ยังไม่นับรวมการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่สำคัญอย่างยิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ในการจัดการปัญหา อีกหนึ่งตัวอย่างของการเสียโอกาศการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัลด้านการศึกษา เช่น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนภาคการศึกษาก็พัฒนาเนื้อหาเพื่อรองรับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ได้มีการจัดทำโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย การระบบการเรียนการสอนระบบเปิด (MOOC) ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายต่อผู้ที่สนเรียน การเสียโอกาสเกิดจากปัญหาโครงสร้างและปัญหาของการเข้าถึง (digital literacy) การให้ความสำคัญในการเริ่มต้นแก้ไขความเหลื่อมล้ำนี้ความกลับมาสู่การพิจาณาการลดความเหลือมล้ำของการเข้าถึงการศึกษา
ปัจจุบันเหล่ามีเนื้อหาดิจิทัลมากมายซึ่งหลายกลุ่มเสียโอกาสที่จะเข้าถึง ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างประเทศให้เป็นดิจิทัลนั้นนับได้ว่าประสบความสำเร็จในหลายๆจุด แต่ความสำเร็จนั้นทำให้สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำต่อการเข้าถึงความรู้ดิจิทัลการศึกษา การพัฒนาโครงสร้างควรทำพร้อมไปกับการพัฒนาความรู้ด้านดิจิทัลจึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนมากกว่าในอดีต ดังนั้นการให้ความสำคัญต่อการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ดิจิทัลการศึกษาจึงจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในเขตพื้นที่อีอีซีและต่อการพัฒนาทั้ประเทศในระยะยาว เราคงอยากให้ทุกคนในประเทศเดินไปข้างหน้าพร้อมกับเราให้ได้มากที่สุด