'เสวนาไทยไม่ทน' ชี้ ปมล้มเหลว จัดการ 'โควิด' ใช้ระบบมั่นคงนำ-บริหารแบบราชการ

'เสวนาไทยไม่ทน' ชี้ ปมล้มเหลว จัดการ 'โควิด' ใช้ระบบมั่นคงนำ-บริหารแบบราชการ

เวทีไทยไม่ทน จัดเสวนา ชำแหละปมล้มเหลวรัฐบาล จัดการโควิด ชี้เพราะระบบราชการ ใช้ความมั่นคงนำ จี้ให้เปลี่ยนการบริหารจัดการ เพื่อคนไทยอยู่รอด

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวทีไทยไม่ทน สามัคคีประชาชน เพื่อประเทศไทย จัดวงเสวนา  หัวข้อ ความล้มเหลวของแก้ปัญหาโควิด-19 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม   โดยมีนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
       โดยนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี แกนนำกลุ่มแคร์ คิดเคลื่อนไทย และที่ปรึกษารมว.สาธารณสุข กล่าวว่า การระบาดล่าสุด เริ่มกระจายในครอบครัว และคุมได้ยาก เพราะศูนย์กลางระบาดคือ กรุงเทพ ที่เปราะบางที่สุดของระบบสาธารณสุข เพราะกระทรวงสาธารณสุข ไม่มีอำนาจบริหารเต็มตัว เนื่องจากขึ้นอยู่กับองค์กรบริหาร คือ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ศูนย์บริการสาธารณสุขของกทม. ไม่มีศักยภาพมากพอต่อการรับมือ 
        “อัตราตายของผู้ป่วยในกทม. คำนวณเปรียบเทียบต่างจังหวัด พบว่ากทม.​ ป่วยและเสียชีวิต มากถึง 2-3 เท่า สิ่งที่กทม.​มีปัญหาเรื่องระบบ ขณะที่ศบค.​มีจุดอ่อน สำคัญ คือ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การบริหารไม่ฉับไว ไม่ฉุกเฉิน ตั้งแต่การระบาดปลายมีนาคมแก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้ต้องตั้ง ศบค.กทม.และปริมณฑล ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าระบบการจัดการที่มีปัญหา ยังตั้งระบบดังกล่าวอีกทำให้การจัดการปัญหาล้มเหลว” นพ.สุรพงษ์ กล่าว
1620559846100

        ทางด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตอดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวโดยเชื่อว่าสถานการณ์ระบาดของโควิดที่เกิดกับประชาชนจะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะผู้ติดเชื้อต้องกักตัว ไม่สามารถทำงานได้ จะทำให้ขาดรายได้ แต่ประเด็นดังกล่าวถูกพูดถึงน้อยกว่าการเข้าถึงการได้รับรักษา ทั้งนี้ตนมองว่าความล้มเหลวของสถานการณ์ เพราะไม่จัดระบบการแก้ปัญหาการระบาดของโรคให้สมดุลกับการบริหารเศรษฐกิจ
 
162056028165
        “การแพทย์ สาธารณสุขของไทยดีมาก แต่สิ่งที่เป็นความล้มเหลว คือ การไม่เพิ่มขีดความสามารถในการรับรองภาวะวิกฤต เช่น การเพิ่มเตียง รวมถีงการตรวจคัดกรองเชิงรุก ทั้งนี้ต่อไปเชื่อว่าจะพบกับวิกฤตคือ คนไข้เกินระบบ และการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้เพื่อการสาธารณสุขนั้นพบการเบิกจ่ายน้อย ผมมองว่าประเทศไทยมียุทธศาสตร์ที่ผิด คือ ตั้งเป้าการฉีดวัคซีนให้คนไทย 50% ในปลายปี ทำให้เกิดการผูกขาดวัคซีน 2 ยี่ห้อ ส่วนยี่ห้ออื่นที่ติดต่อ ถูกปฏิเสธจากรมว.สาธารณสุขว่าไทยมีวัคซีนที่เพียงพอแล้ว ขณะที่ยาซึ่งจะนำเข้า 1.5 ล้านเม็ด จะมีเพียงพอให้ประชาชน 3หมื่นคน ทำไมไม่นำเข้าให้มากกว่านี้”นายจาตุรนต์ กล่าว
 
162055986252
        นายจตุรนต์ กล่าวด้วยว่าสำหรับการเยียวยาที่ ครม. เตรียมพิจารณา วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ตนเชื่อว่าไม่พอ ส่วนการจัดทำงบประมาณ ปี 2565 คือ งบประมาณแบบถดถอย น้อยกว่าปีก่อน จึงไม่สามารถลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากปัญหาโควิด ส่วนจะกู้เงินอีก จะกระทบต่อหนี้สาธารณะ ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคือ จีดีพี จะถดถอย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เดดล็อคทางกฎหมาย ทำให้เศรษฐกิจไทยเสียหาย ดังนั้นความล้มเหลวสำคัญ​คือให้ฝ่ายมั่นคงบริหารวิกฤต และระบบสาธารณสุขประมาท รวมถึงการรวบอำนาจไว้ที่คนเดียว
 
 
       ส่วนนายสมชัย ศรีสุทธิยากร แกนนำภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย กล่าวโดยเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ ไม่สามารถฉีดวัตซีนให้ครบ 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีก 7 เดือน หากจะทำให้ได้ต้องฉีดให้ได้วันละ 4.5 แสนโดส แต่จากการคำนวณการฉีดวัคซีนที่สามารถทำได้เร็วที่สุด ต้องใช้เวลา 1 ปี 10 เดือน แต่หากฉีดด้วยการบริหารจัดการปัจจุบัน หลักพันคนต่อวัน จะใช้เวลานานถึง 11 ปี ดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันหากจะทำให้สำเร็จได้ คือ ต้องมีวัคซีนและความสามารถในการบริหารจัดการฉีดวัคซีน เหมือนกับประเทศสิงคโปร์ที่ ที่บริหารจัดการวัคซีนอย่างรวดเร็ว สามารถขึ้นทะเบียนยาไฟเซอร์ ภายใน 3 วัน และจัดบริการฉีดให้ประชาชน นั้นมีสถานที่บริการ อาทิ คลีนิค ศูนย์ฉีดวัคซีนของรัฐ และให้ประชาชนสามารถเลือกยี่ห้อได้
162055988074
       "ของไทยนั้นพบกระบวนการขึ้นทะเบียนยามีความล่าช้า ตามกฎหมายจะใช้เวลา 6 เดือน ถึง 3 ปี แต่การออกระเบียบเพื่อขึ้นทะเบียนยาในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะใช้เวลาเร็วขึ้นคือ ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ดีปัจจุบันองค์กรอนามัยโลกให้การรับรองวัคซีน3 ยี่ห้อแล้ว ทำไมไม่นำการรับรองดังกล่าวย่นเวลาการรับรองในประเทศไทย ไม่ต้องใช้เอกสารนับหมื่นหน้า  หรือเร่งรัดระบบของราชการให้เสร็จภายใน 3 วัน ซึ่งผมเชื่อว่าหากทำได้ เราจะรอด" นายสมชัย กล่าว.