รู้หรือไม่? 'วัคซีนใบยา'กระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องโควิดได้ระดับไหน

รู้หรือไม่? 'วัคซีนใบยา'กระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องโควิดได้ระดับไหน

ขณะนี้ในประเทศไทยมี "วัคซีนโควิด-19"เพียง 2 ชนิดที่ใช้ฉีดให้แก่คนไทย ซึ่ง "วัคซีนใบยา" จะเป็นอีกหนึ่งวัคซีนทางเลือกที่เป็นการคิดค้นพัฒนาโดยคนไทย และคาดว่าจะมาฉีดให้คนไทยได้ในเข็มที่ 3

เดือนมิ.ย.นี้จะเป็นครั้งแรกที่ “บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด” สตาร์ทอัพ BioTech ของไทย ที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะทดลอง วัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์ ระยะ 1 หลังจากที่ปรับปรุงห้องทดลองของจุฬาฯ สถานที่ผลิต เพื่อเป็น GMP facility ที่ได้มาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด สามารถผลิตยาอื่นๆ ที่บริษัทพัฒนาในอนาคตได้ด้วย

พร้อมทั้งจะมีการเปิดรับอาสาสมัครประมาณ 96 คน ใน 2 ช่วงอายุ คือ อายุ 18-55 ปี และอายุตั้งแต่65-75 ปี เพื่อเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ หากผลิตวัคซีนแล้วเสร็จ ทุกคนสามารถมากระตุ้น ภูมิฉีดวัคซีนเข็มที่ 3ได้

162150176635

“บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด” เกิดขึ้นจากอาจารย์ประจำ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 Co-founder คือ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ CTO ของบริษัท ที่ได้เริ่มก่อตั้งบริษัทมาแล้วหลายปี จากการบ่มเพาะโดย CU Innovation Hub จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ทำสัญญามอบหุ้น 10% ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิิทยาลัยด้วย 

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยผู้ร่วมคิดค้น"วัคซีนโควิด-19" จาก "ใบยาสูบ" ในฐานะ Co-founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าของ "วัคซีนโควิด-19" ว่า หลังจากที่บริษัท ใบยา ได้มีการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีของบริษัทฯ โดยศึกษากลไกการเกิดโรคในใบพืช หรือ"ใบยาสูบ"ชนิดพิเศษ และปรับปรุงจนได้เทคโนโลยีที่สามารถแกล้งพืชให้ผลิตโมเลกุลของโปรตีนที่ต้องการได้

162150176615

มีการพัฒนาชุดตรวจโดยใช้โปรตีนที่พัฒนาขึ้นมา และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับไวรัส มีการผลิตเป็นโปรโตไทป์ วัคซีนต้นแบบทั้ง 6 ชนิด และได้ทดสอบในหนูไปแล้ว 2 ชนิด โดยเลือกมา 1 ชนิด ไปทดสอบในลิง พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิได้เพิ่มขึ้น เป็นผลค่อนข้างดี

  • "วัคซีนใบยา" วัคซีนทางเลือกป้องกันโควิด-19

ทั้งนี้ "ใบยาสูบ"ที่นำมาใช้ไม่ใช่"ใบยาสูบ"ที่ทำบุหรี่ แต่เป็นการนำเทคนิคการใช้พืชเพื่อผลิตโปรตีนนั้น ซึ่งมีการใช้ในหลายประเทศ โดยใบยาสูบที่นำมาใช้นั้น เป็นสายพันธุ์ที่มีนิโคตินระดับน้อยมากๆ ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมยาหลายแห่งทั่วโลกได้ใช้โปรตีนจากพืชเพื่อผลิตเป็นยา หรือวัคซีน อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน เกาหลี ญี่ปุ่น

ในส่วนของประเทศไทยนั้น การผลิตโปรตีนจากพืช หรือ"ใบยาสูบ"นั้น ไม่ต้องนำเข้าเทคโนโลยี เนื่องจากมีพันธุ์ต้นไม้ และใส่รหัสพันธุกรรมเข้าไป ก็จะสามารถสร้างโปรตีนขึ้นมาได้ เป็นการสร้างโปรตีนที่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า อย่างที่บริษัท ใบยา จะสามารถสร้างโปรตีนจาก"ใบยาสูบ"ได้เพียง 10 วัน ซึ่งหากนำไปผลิตเป็นวัคซีนจะได้ปริมาณราว 10,000 โดสต่อเดือน ดังนั้น การพัฒนาวัคซีนจะมีความหลากหลาย มีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางเลือก เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดในอนาคต

162150404394

“วัคซีนที่เราผลิตนั้น ได้มีการทดสอบในหนูและลิง ซึ่งมีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้อย่างมาก ดังนั้นหลังจากมีการปรับปรุงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์โควิดต่างๆ ได้มีการจัดสูตรมาตั้งแต่เดือนก.พ.นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จทดลองในมนุษย์ได้ในเร็วๆ นี้ เพื่อที่จะให้การทดลองวัคซีนได้สามารถฉีดให้แก่คนไทยได้ทั่วประมาณกลางช่วงปี 2565 หรือทันที่คนไทยจะได้ฉีดกระตุ้นภูมิในเข็มที่ 3 ตอนนี้นักวิจัยทุกคนกำลังเร่งพัฒนา ศึกษาค้นคว้า ทดลองอย่างเต็มที่ โดยเบื้องต้นตั้งเป้าว่า เมื่อทำเสร็จจะสามารถทำวัคซีนได้อย่างน้อย 1 ล้านโดสต่อเดือนและสูงสุด 5 ล้านโดสต่อเดือน”ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าว

“วัคซีน” แต่ละชนิด แต่ละบริษัท ประเทศที่ผลิตนั้น คงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ว่าผลของที่ไหนเป็นอย่างไร ตัวไหนดีหรือไม่ เพราะการออกแบบวัคซีนในแต่ละตัวไม่เหมือนกัน  

162150183437

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:  'จุฬาฯ-ใบยา' เร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทย เตรียมทดสอบในมนุษย์กลางปีนี้

                      เปิดระบบ'on-site'รองรับคนไม่นัดล่วงหน้า'วัคซีนโควิด-19'

                      เปิด 9 สถิติสำคัญหลังฉีด 'วัคซีนโควิด-19'

  • ชวนคนไทย "ฉีดวัคซีนโควิด" กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวต่อว่าสำหรับกระบวนการทดสอบในมนุษย์มีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ คณะแพทย์ทั้งจุฬาฯ และ ที่อื่นๆ ในการออกแบบการวัดผล"วัคซีน" ดังนั้น ในระยะแรกต้องดูเรื่องความปลอดภัย รวมถึงได้มีการพูดคุยกับ อย.เป็นระยะ เพื่อจะไม่ให้ไปผิดทาง เนื่องจากการจะฉีดในมนุษย์ต้องมีความระมัดระวังอย่างมาก 

อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นตัวเร่งทำให้ทีมนักวิจัยทำงานเร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้ทีมวิจัย 40-50 คน กำลังทำงานอย่างเต็มที่ และมีหลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนเพื่อให้ไทยสามารถผลิต "วัคซีน"ในประเทศได้เอง หากมีการระบาดครั้งหน้า มั่นใจว่าจะผลิตได้เร็วกว่านี้ และอาจจะเป็นอันดับต้นๆ ของโลกที่ผลิตเอง นี่คือความฝันที่ไม่ได้ช่วยแค่คนไทย แต่ช่วยเพื่อนบ้านที่เผชิญวิกฤติโควิด-19 ได้ด้วย

162150176617

จากการติดตามข่าวสารเรื่องของวัคซีนอาจทำให้คนเกิดความกังวลว่าควรจะฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่ ณ ขณะนี้ ซึ่งในฐานะนักวิจัยพัฒนาวัคซีน อยากแนะนำให้ทุกคนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพราะการฉีดวัคซีนจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในระยะต้น ลดความรุนแรงของโรค และลดภาระในแง่ของการเข้าโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิต อีกทั้งวัคซีนทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียง แต่ผลข้างเคียงเหล่านั้นไม่ได้พบกับทุกคน และคนที่พบผลข้างเคียงก็เป็นอาการที่หายได้ รักษาได้ ทุกคนควรรับวัคซีน และเมื่อบริษัท ใบยา ผลิตวัคซีนแล้วเสร็จ ทุกคนสามารถมากระตุ้น ภูมิฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ได้ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าว

การผลิต วัคซีนโควิด-19 ครั้งนี้ ถือเป็นวัคซีนที่ผลิตโดยคนไทย ซึ่งจุฬาฯได้ตั้งมูลนิธิ ซียู เอ็นเตอร์ไพรส์ ขึ้นมาเพื่อระดมทุนด้วยการเปิดรับบริจาค 500 บาทจำนวน 1 ล้านคน ซึ่งเงินจำนวน 500 ล้านบาทนั้น 150 ล้านบาทจะนำไปปรับปรุงสถานที่ตึกหนึ่งในจุฬาฯที่จะเป็นไพลอท สำหรับบริษัทให้เป็น GMP facility ที่ได้มาตรฐานที่อย.กำหนด สามารถผลิตยาอื่นๆที่บริษัทพัฒนา ส่วนอีก 300-400 ล้านบาทนำไปการทำทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์เฟส 1, 2 และ 3 คาดว่าจะเริ่มประมาณเดือนมิ.ย. 2564 หากสำเร็จจะใช้เวลา 2-3 เดือนและจะดำเนินการในเฟส 3 ต่อไป คาดว่าวัคซีนโควิด-19 น่าจะมีให้คนไทยได้ใช้ในสิ้นปี 2564 หรือต้นปี 2565

162150176752

อย่างไรก็ตาม ด้วยการพัฒนา "วัคซีนใบยา" ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนคนไทย โครงการวัคซีนของใบยายังเปิดขอรับบริจาคเพื่อนำเงินไปสร้างสถานที่ผลิตและใช้เป็นทุนในการทดสอบวัคซีนในคนถึงสิ้นปีนี้ ดูรายละเอียดได้ที่  www.cuenterprise.com