แกว่งตัวผันผวน (18 มิ.ย.64)

แกว่งตัวผันผวน (18 มิ.ย.64)

วันพฤหัสที่ผ่านมาตลาดเผชิญแรงขายในช่วงท้ายตลาด นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี จากความกังวลที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์

แม้ในช่วงเช้าตลาดปรับตัวบวก จากการที่นายกตั้งเป้าเปิดประเทศใน 120 วัน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,617.65 จุด -7.14 จุด -0.44% มูลค่าการซื้อขาย 88,018 ลบ. ต่างชาติ -2,887.82 ลบ. TFEX -4,089 สัญญา ตราสารหนี้ -964.98 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมตัดสินใจยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินโควิด-19 ในหลายพื้นที่ซึ่งจะมีผลในวันอาทิตย์ที่ 20 มิ.ย. ซึ่งเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก
+ สหรัฐเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index) ปรับตัวขึ้น 1.3% สู่ระดับ 114.5 ในเดือนพ.ค. ดีดขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และสอดคล้องตามคาดกาณ์ของนักวิเคราะห์
+ รมช.คมนาคม กำชับให้กรมท่าอากาศยานเตรียมความพร้อมท่าอากาศยานให้สอดคล้องกับแผนเปิดประเทศของรัฐบาลในเดือน ต.ค.64
+ อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทัณฑสถานผ่านพ้นช่วงวิกฤตแล้ว
+ จีนเปิดเผยรายได้ด้านการคลังในช่วง 5M64 พุ่งขึ้น 24.2%YoY แตะที่ระดับเกือบ 9.65 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยลบ

- ดัชนีดาวโจนส์ปิดปรับตัว ลดลง 210.22 จุด -0.62% หลังจาก FED ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 เร็วขึ้น 1 ปี และคาดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2566 แต่การพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีช่วยหนุนดัชนี Nasdaq ปิดบวกจากความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวแข็งแกร่ง
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 1.11 ดอลลาร์ -1.5% ปิด $71.04 ต่อบาร์เรลจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ หลัง FED ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม 1 ปี และกังวลการชะลอตัวของอุปสงค์น้ำมัน หลังมีรายงานว่าอังกฤษพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นรายในวันเดียว
- หน่วยงานของสหรัฐและจีนด้านโรคระบาดต่างมีวิวาทะต่อกันถึงต้นตอของเชี้อไวรัสโควิด-19 ของแต่ละฝ่าย
- รายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ความเสียหายจากการปรับขึ้นภาษีฝ่ายเดียวระหว่างสหรัฐและจีนจะยังคงส่งผลกระทบต่อการเติบโตของห่วงโซ่มูลค่าโลก ไปอีก 3-5 ปีข้างหน้าในประเทศที่ได้รับผลกระทบ
-ภาพรวมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ลดลงโดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑล และภาคใต้ ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้น โรงงาน ตลาด แคมป์คนงาน ยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยง รายงานผู้ติดเชื้อใหม่วันนี้อยู่ที่ระดับ 3 พันคน

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสยังแกว่งผัน โดยยังมีแรงกดดันจากการส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ย่อตัวลงกดดันตลาด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,605-1,625 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

• หุ้นที่เข้าคำนวณ SET50 มีผล 30 มิ.ย. : เข้า STGT, IRPC, STA, KCE ออก AWC, BAM, TOA, VGI , SET 100 : STGT, NRF, PSL, PTL, SYNEX, SINGER, ICHI, TKN, AAV ออก : AWC, BAM, TOA, VGI
• หุ้นเข้าคำนวณเข้าดัชนี FTSE SET Large Cap Index มีผล 21 มิ.ย. : เข้า KTC ,OR ออก EGCO ,TRUE , FTSE SET Mid Cap Index : เข้า BEC, DCC, EGCO, JMART, KEX, PTL, PSL, RBF, RCL, SAK, STARK, TTA ,TRUE ออก KTC
• หุ้นกลุ่ม Reopening MINT ERW CENTEL SHR AOT BA AAV CPN CRC MBK AU M ZEN SPA
• ดัชนีค่าระวางเรือปรับตัวขึ้น TTA PSL RCL
• หุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาทองแดงที่ปรับตัวลง KCE HANA DELTA TEAM
• หุ้นที่เข้าคำนวณ FTSE มีผลบังคับใช้ราคาปิดวันที่ 18 มิ.ย. Large Cap : เข้า OR SCGP ไม่มีออก ,Mid Cap :ไม่มีเข้าและออก , Small Cap : เข้า KEX ออก THAI ,Micro Cap : เข้า JR, NEX, NRF, RT, SA, SO ไม่มีออก

หุ้นรายงานพิเศษ

                                     AWC Bloomberg Concensus 5.30 บาท

                                                 “ เด่นในธีมเปิดเมือง ”

•ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ แบ่งเป็นโรงแรมกลุ่ม MICE โรงแรมในกทม.และนอกกทม. และรีสอร์ทระดับ Luxury สัดส่วนรายได้ 47% และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ สัดส่วนรายได้ 51% และกลุ่มธุรกิจอาคารสำนักงาน ถือหุ้นโดยกลุ่มตระกูลสิริวัฒนภักดี

•ในช่วง 1Q64 มีผลการดำเนินงานขาดทุน 594 ลบ. ลดลง 324%YoY ต่อเนื่องจากทั้งปี 63 ที่ขาดทุน 1,881 ล้านบาท จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ฉุดรายได้ธุรกิจโรงแรม บริหาร และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า ขณะที่ธุรกิจอาคารสำนักงานยังมีผลการดำเนินงานที่ดี ปลายมี.ค. 64 มีกำไรสะสม 5.4 พันล้านบาทและส่วนของผู้ถือหุ้น 7.7 หมื่นล้านบาท

•ความเห็น เรามองถึงศักยภาพในการเติบโตในระยะยาวจากการเข้าซื้อกิจการ เป็นการพลิกวิกฤตที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทตกต่ำเป็นโอกาสในการเข้าซื้อด้วยงบลงทุนเกือบ 2 หมื่นลบ.และนำมาพัฒนาปรับปรุงสินทรัพย์หลังเข้าซื้อเพื่อเปิดดำเนินการในอนาคต ขณะที่ฐานะทางการเงินยังแข็งแกร่ง อีกทั้งธุรกิจท่องเที่ยวทีคาดว่าจะฟื้นตัวหลังเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาภายในประเทศ จึงมีความน่าสนใจซื้อลงทุนในระยะยาว ราคาหุ้นลดลง 11% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากผลลบเชิงจิตวิทยาในการถูกปรับออกจากการคำนวณดัชนี SET50

หุ้นมีข่าว

(+) NRF ( ฺBloomberg Consensus 11.00 บาท) ศึกษาออกเหรียญคริปโทระดับโลก ชี้เข้าทางบริษัทที่เป็นดิจิทัล ส่วนการเข้าคำนวณ SET100 รอบนี้ดึงโอกาสสถาบันลงทุนเพิ่ม จากปัจจุบันถือหุ้นสูง 20-30 กองทุน เดินหน้าโรดโชว์ต่อเนื่อง แย้มภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จะประกาศพันธมิตรเพิ่มในธุรกิจกัญชง และ Ethnic Food พร้อมเจรจาพันธมิตรรายใหญ่ร่วมทุน Plant-Based Food อีก 2-3 ราย (ที่มา ทันหุ้น)

(+) KUMWEL ( ฺBloomberg Consensus - บาท) ส่งสัญญาณทิศทางออเดอร์ครึ่งปีหลังฟื้นชัด เชื่อโครงการขยายตัวต่อ กดปุ่มเดินเครื่องโรงงาน GROUND ROD ไตรมาส 3 นี้ หนุนกำลังผลิตเพิ่มขึ้น 4 เท่า แถมกดต้นทุนลดฮวบ ด้านผู้บริหารลั่นยันเป้ารายได้ปี 64 โต 20% ลุยขายสินค้านวัตกรรมทำเงิน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) GPSC (Bloomberg Consensus 84.13 บาท) เคาะแผนลงทุนต่างประเทศเปรี้ยงเดียว 2,000 เมกะวัตต์ ผ่าน 2 โปรเจกต์ใหญ่ “โซลาร์ฟาร์มอินเดีย 1,700 เมกะวัตต์ เป้าปิดดีลไตรมาส 3/64 พ่วงวินด์ฟาร์มไต้หวัน 200-500 เมกะวัตต์ เชื่อปิดดีลไตรมาส 1/65” ตามแผนเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก 30% ภายใน 5 ปี ขณะที่บริษัทแม่ปตท.อัดฉีดเงินช่วยเหลือในรูปเงินกู้ 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยไม่ถึง 3% กำหนดนโยบายชัด GPSC คือเรือธงธุรกิจไฟฟ้าหลักและไฟฟ้าหมุนเวียนต่างประเทศ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) SUN (Bloomberg Consensus - บาท) ย้ายเข้าเทรดในตลาด SET วันนี้ หวังเพิ่มสภาพคล่อง-ลดข้อจำกัดการเข้าลงทุนของนักลงทุนสถาบัน เดินหน้าตามแผน เพิ่มกำลังผลิตกลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน คาดภายในมิ.ย.นี้ สามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ การันตีรายได้รวมปี 64 โต 10-15% (ที่มา ข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตา

ในประเทศ

สัปดาห์ที่ 4 ก.พาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

18 มิ.ย. ศบค.เตรียมปรับมาตรการผ่อนคลายบางจังหวัด-เคาะภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์

23 มิ.ย. ประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2564

24 มิ.ย. ส.อ.ท. แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

สัปดาห์ที่ 5 สศค. รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สศอ. แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

30 มิ.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ต่างประเทศ

18 มิ.ย. ธนาคารกลางญี่ปุ่นประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย

21 มิ.ย. ธนาคารกลางจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR

22 มิ.ย. สหรัฐรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.

23 มิ.ย. BOJ เปิดเผยรายงานการประชุม

           EU & US เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและบริการขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค.

           สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)