แก้จน เสร็จ แก้ปัญหา สุขภาพ ประชาชนจีน ความพยายามครั้งใหม่ของทางการจีน

แก้จน เสร็จ แก้ปัญหา สุขภาพ ประชาชนจีน ความพยายามครั้งใหม่ของทางการจีน

แม้จีนจะประกาศความสำเร็จกับการแก้ไข "ปัญหาความยากจน" ทว่าจีนยังคงเจอ "ปัญหาด้านสุขภาพ" ของประชาชนในชาติ โดยเฉพาะ “ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน” ที่พบมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่

นับตั้งแต่ ..2556 จีนชูนโยบายนำพาคนจีนในเขตพื้นที่ชนบทและยากจนแร้นแค้นออกจากความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จ ภายในปี ..2563 ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญของจีนที่ทั่วโลกต่างจับตามองว่าสามารถทำได้หรือไม่ แต่ผลสุดท้ายจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ประกาศชัยชนะเหนือความยากจนเรียบร้อยแล้ว แม้ต้องเจอกับวิกฤติแพร่ระบาดโควิดตลอดทั้งปี 2563 จนคนจำนวนไม่น้อยต่างมองว่า จีนอาจทำไม่ได้ตามเป้า

การ "แก้จน" ของจีน ไม่ใช่แค่การแจกจ่ายเงินหรือใช้เม็ดเงินลงไปตรงๆ แต่แก้จนด้วยการแก้ไขและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันเกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของประชาชน เพื่อแก้จนแบบยั่งยืน หนึ่งในนั้น คือ ด้านสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งต้องยอมรับตามตรงว่า แม้จีนจะประกาศความสำเร็จกับการแก้ไขความยากจน ทว่าจีนยังคงเจอปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในชาติ โดยเฉพาะภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่

การ "แก้จน" ของจีน ไม่ใช่แค่การแจกจ่ายเงินหรือใช้เม็ดเงินลงไปตรงๆ แต่แก้จนด้วยการแก้ไขและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันเกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของประชาชน เพื่อแก้จนแบบยั่งยืน หนึ่งในนั้น คือ ด้านสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ

ถ้าเราดูตามสถิติจากรายงานสำรวจโภชนาและสถานการณ์โรคเรื้อรังในจีน ประจำปี ..2020” พบว่า คนจีนอายุ 18 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน เกิน 50% นับเป็นครั้งแรกของจีน โดย 34.3% ของคนจีนอายุ 18 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) ขณะที่ 16.4% เข้าเกณฑ์โรคอ้วน (Obesity)

เด็กจีนมีปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเช่นกัน โดย กลุ่มอายุระหว่าง 6-17 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนรวมกันคิดเป็น 19% ส่วนกลุ่มเด็กต่ำกว่า 6 ปี มีสัดส่วนน้อยสุด ที่ 10.4%

เมื่อนับจำนวนทุกกลุ่มช่วงอายุรวมกัน กลายเป็นว่า จีนมีจำนวนประชากรเผชิญภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก จำนวนกว่า 600 ล้านคน

ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นผลพวงมาจากวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ นิยมกินอาหารขบเคี้ยว อาหารฟาสต์ฟู้ด และกินอาหารดึก หรือที่เรียกว่า 宵夜 ถือเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ก็ว่าได้

จีนไม่ได้เพิ่งเจอปัญหานี้ แต่มีมาเป็นสิบปี เพียงแต่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ จนเผยผลลัพธ์ครองแชมป์จำนวนคนอ้วนแบบที่จีนต้องยอมรับแบบไม่เต็มใจนัก รัฐบาลจีนจึงดำเนินนโยบายแก้ปัญหาสุขภาพข้างต้นมาโดยตลอด อย่างยิ่งในสถานศึกษา อาทิ หลายมหาวิทยาลัยเพิ่มกฎออกกำลังกายให้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนจบการศึกษา และการปรุงอาหารให้ถูกหลักตามโภชนาการ ก็เป็นหนึ่งในความพยายามที่ทางรัฐบาลจีนดำเนินนโยบายโดยมีมหาวิทยาลัย-สถานศึกษาจีนดำเนินการตาม

 

 

ขอยกตัวอย่างที่กำลังเป็นกระแสโซเชียลจีนช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหยางโจว เพิ่มเมนูอาหารคลีน และถูกหลักตามโภชนาการ สารอาหารครบถ้วน มีความสมดุลระหว่างปริมาณเนื้อสัตว์และผัก ซึ่งนักศึกษาและชาวโซเชียลจีนต่างถูกอกถูกใจ พากันพูดต่อจนเป็นกระแสสังคม

จากที่เล่ามาทั้งหมด อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าจีนแคร์เรื่องสุขภาพเฉพาะคนรุ่นใหม่เพียงเท่านั้น ในกลุ่ม "ผู้สูงอายุ" จีนให้ความสำคัญเช่นกัน โดยกำหนดนโยบาย “Healthy China 2030” หรือเราอาจเรียกนโยบายแบบเข้าใจง่ายว่า นโยบายชาวจีนต้องอายุยืน ใจความสำคัญของนโยบายนี้ มุ่งเน้นพัฒนาสุขภาพของประชากรในประเทศจีนเพื่อให้ทุกคนอายุยืน ตั้งเป้าให้ประชากรมีอายุเฉลี่ยถึง 79 ปี ภายในปี 2030 ซึ่งปัจจุบันอายุเฉลี่ยคือ 76.34 ปี และลดอัตราการเสียชีวิตของทารก ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึง1ขวบ ให้ลดจาก 8.1:1,000 เหลือ 5:1,000 ภายใน 10 ปีต่อจากนี้ 

พร้อมตั้งเป้าพัฒนาระบบสาธารณสุขและสถานพยาบาลให้ดีขึ้นกว่าเดิม และจัดหาประกันสุขภาพให้ครอบคลุม 96.5% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งรัฐจะช่วยออกค่าใช้จ่ายประกันสุขภาพ

กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันจีนก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 18% ถ้าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จะทะลุ 20% ภายใน 5 ปีจากนี้  คนจำนวนไม่น้อยกังวลว่า นี่คือปัญหาครั้งใหม่ของจีน เพราะผู้สูงอายุมากเกินไป

แต่จีนกลับมองว่า ถ้าจะมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ก็เสริมสร้างด้วยสุขภาพที่ดี เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น นี่คือหลักฐานยืนยันการคิดแก้ปัญหายากจนและสร้างจีนแบบยั่งยืน