ไม่ได้เงินทุกคน! เช็คเงื่อนไข ‘เยียวยาล็อคดาวน์’ ‘ประกันสังคม’ ม.33 ม.39 ม.40
สรุปชัดในกลุ่ม "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 ใครได้เงิน "เยียวยาล็อคดาวน์" บ้าง
หลังจากที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 27 เพื่อลดผลกระทบในระยะสั้นสำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม โดยเป็นการทดแทนมาตรการช่วยเหลือตามมติครม. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน
- 9 กลุ่มอาชีพ 10 จังหวัดในพื้นที่สีแดง ที่ได้รับการเยียวยาจากมาตรการควบคุมโรคระบาด คือ
9 อาชีพ
- กลุ่มก่อสร้าง
- กลุ่มที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- กลุ่มศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- กลุ่มกิจกรรมบริการด้านอื่นๆ ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
- กลุ่มขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์
- กลุ่มขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- กลุ่มกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- กลุ่มกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
- กลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
10 จังหวัด
- กรุงเทพฯ
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สงขลา
- เงื่อนไขการเยียวยา
โดยมีหลักการการเยียวยา และเงื่อนไขการรับเงิน ตามที่มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนฯ ฉบับที่ 27 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ คือ
- กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33
ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 ได้รับการช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน และลูกจ้างที่ได้รับชดเชยจะได้รับเงินเดือน 50% ของค่าจ้าง (ไม่เกิน 7,500บาท) รวมไม่เกินคนละ 10,000 บาท
เงื่อนไข : เงื่อนไข : สัญชาติไทย ว่างงาน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานจากคำสั่งปิดสถานที่
สำหรับผู้ประกอบการ จะได้รับรายละ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน จำกัด ไม่เกิน 200 คน
- กลุ่มประกันสังคมมาตรา 39 และ 40
สำหรับผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาท
เงื่อนไข : สัญชาติไทย ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน
- กลุ่มอาชีพอิสระ
เตรียมหลักฐานยื่นลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพื่อรับเงินช่วยเหลือ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับความช่วยเหลือ 5,000 บาท
เงื่อนไข : สัญชาติไทย ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน
ที่มา : มาตราการบรรเทาผลกระทบฯ ฉบับที่ 27 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ