'ท้องถิ่น' ผนึกพลังตั้ง 'Community Isolation' ชุมชนดูแลผู้ป่วย สู้วิกฤติ 'โควิด 19'

'ท้องถิ่น' ผนึกพลังตั้ง 'Community Isolation' ชุมชนดูแลผู้ป่วย สู้วิกฤติ 'โควิด 19'

เมื่อ “โควิด 19” ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเมืองหลวง พร้อมพื้นที่สีแดง และสีแดงเข้มเริ่มแผ่ขยายทั่วประเทศไทย ดังนั้น ภารกิจฉุกเฉินสำคัญยิ่งเวลานี้ที่ปฏิเสธไม่ได้ของแต่ละชุมชน ท้องถิ่น คือ การต้องลุกขึ้นมา “ตั้งรับ” ทำ “Community Isolation” ฉบับเร่งด่วน

ความรุนแรงของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า” ที่สามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทั้งยังทำร้ายสุขภาพมากยิ่งกว่าโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ นาทีนี้ ส่งผลให้สถานการณ์ โควิด 19ในประเทศไทยเริ่มเกินกำลังที่จะรับมือมากขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ต้องเผชิญปัญหาความไม่สมดุลของจำนวนผู้ป่วยล้นจน แต่ไม่มีเตียงหรือหมอให้รักษา

คู่มือการแยกกักตัวที่บ้านคู่ใจคนรักษาตัวอยู่บ้าน

ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายสลัมสี่ภาค และภาคีเครือข่ายต่างๆ พัฒนาแกนนำสร้างต้นแบบชุมชน 33 ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และปทุมธานี ตามมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านและที่ชุมชน รวมถึงได้ขยายแนวทางดังกล่าวไปยังเครือข่ายร่วมสร้างสุขชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคีสุขภาพของ สสส. ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 600 แห่ง เพื่อสนับสนุนมาตรการแยกกักตัวที่บ้าน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสสกล่าวถึงตรียมความพร้อมชุมชน หนุนมาตรการรัฐ โดยการนำมาตรการการดูแลผู้ป่วยโดยวิธีแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) มาเป็นทางเลือกสำคัญที่เข้ามาช่วยดึงผู้ติดเชื้อในระดับสีเขียวออกจากสถานพยาบาลแล้วไปรับผู้ป่วยอาการหนักได้มากขึ้น นอกจากนี้ สสส. ร่วมมือกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ สปสช. จัดทำคู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)โดยรวบรวมข้อมูลจากทีมแพทย์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเร่งสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน เพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชนในการรักษาตัวอยู่บ้าน โดยเชื่อมร้อยระบบประสานการติดตามโรคของหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างใกล้ชิด

ท้องถิ่น ถึงคราวรวมพลัง รับมือวิกฤติ

เมื่อ โควิด 19ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเมืองหลวง พร้อมพื้นที่สีแดง และสีแดงเข้มเริ่มแผ่ขยายทั่วประเทศไทยดังนั้น ภารกิจฉุกเฉินสำคัญยิ่งเวลานี้ที่ปฏิเสธไม่ได้ ของแต่ละชุมชน-ท้องถิ่น คือการต้องลุกขึ้นมาตั้งรับ

ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้การขับเคลื่อนและสนับสนุนโดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. จึงมาร่วมระดมไอเดีย เพื่อมองหาแนวทางหรือมาตรการรองรับ ไปถึงการพัฒนารูปแบบการจัดตั้งชุมชนดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ที่เรียกว่า Community Isolation ฉบับเร่งด่วน ผ่านกิจกรรมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือการระบาดของโควิด 19 ผ่านทางระบบออนไลน์ โดยงานนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 600 แห่ง รวม 2,268 คนที่เข้าร่วม

สมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด 19 ในครั้งนี้ ทำให้ท้องถิ่นมีประสบการณ์การรับมือกับการระบาดที่แตกต่างกันไป บางพื้นที่มีการระบาดค่อนข้างกว้างขว้างและเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ ท้องถิ่นจึงต้องวางมาตรการจำกัดวงการระบาด ทั้งการคัดกรองคนเข้าออกพื้นที่อย่างเข้มงวด มีการเตรียมสถานที่สำหรับกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงสูง การส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อไปยังโรงพยาบาล รวมถึงการบริหารจัดการวัคซีนให้กับประชาชนในพื้นที่

แต่สิ่งที่มีเหมือนกันทุกพื้นที่คือ ความร่วมมือกันในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการปัญหาผ่านความร่วมมือของ 4 องค์กรหลัก นั่นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ซึ่งทุกพื้นที่ต้องรับมือกับสถานการณ์อย่างจริงจังและเข้มงวด เพื่อจำกัดวงการระบาดทั้งในส่วนที่จะนำเข้ามาและในส่วนที่จะนำออกไป

162858569597

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมและการรับมือกับวิกฤตการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในระลอกนี้ว่า แผนสุขภาวะชุมชนร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่าย (ศวภ.) ได้ออกแบบชุดกิจกรรมเพื่อการควบคุมโควิด 19 ใน 5 ประเด็นคือ 

  1. ติดตามข้อมูลคนเข้าออก/ผู้ติดเชื้อ/กลุ่มเสี่ยง 
  2. การสื่อสารกระบวนการ ได้แก่ การรายงานตัว และการรับวัคซีน 
  3. การดูแลตนเองในระบบชุมชนให้กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 ในชุมชน (Community Isolation) ซึ่งประกอบไปด้วย สถานกักกันโรคท้องที่ (Local Quarantine / Home Quarantine) และระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation)
  4. การสนับสนุน รับ-ส่งตัว
  5. การฟื้นฟูด้านต่างๆ ในทุกมิติ

ซึ่งที่ผ่านมามองว่าเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ มีความเข้มแข็งและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในการปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่รวดเร็ว สามารถปรับแผนปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี แต่ในการรับมือสถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 ชุมชนท้องถิ่นต้องเตรียมความพร้อมและมีมาตรการรองรับ

สำหรับไฮไลท์สำคัญของเวทีกิจกรรมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือการระบาดของโควิด 19 ครั้งนี้ ยังได้นำหลายบทเรียนและประสบการณ์การรับมือมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันของ อปทกว่า 600 แห่ง

  162858601460

คอรุม ตั้งรับด้วยทีมเวิร์ค

คนที่มาจากพื้นที่เสี่ยง 13 จังหวัดสีแดง จะต้องกักตัวทุกคน ส่วนคนที่อยู่นอกเหนือจากจังหวัดเหล่านั้น หากประสงค์จะกักตัวที่บ้าน เราจะมีการตรวจสอบดูว่าเขาประกอบอาชีพอะไร มีการตรวจเช็กไทม์ไลน์ของเขาอย่างชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหรือไม่ หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ก็ต้องกักตัวตามมาตรการในการเข้ามาพื้นที่เช่นกัน จะไม่อนุญาตให้กักตัวที่บ้านเด็ดขาด” เสียงบอกเล่าของ ผจญ พูลด้วง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม .พิชัย .อุตรดิตถ์ กล่าวถึงสถานการณ์ในพื้นที่

พื้นที่ตำบลคอรุม เป็นอีกหนึ่งพื้นที่มีการวางระบบรองรับการเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยเฉพาะการเปิดจุดกักตัว ซึ่งเกิดจากข้อตกลงของแต่ละหมู่บ้านร่วมกัน เพื่อรองรับและป้องกันการแพร่ระบาด โควิด 19 พร้อมกับอำนวยความสะดวกแก่คนในพื้นที่ที่เดินทางกลับมา ซึ่งขณะนี้มีผู้แจ้งความประสงค์จะเดินทางกลับมาในพื้นที่เรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่เป็นพี่น้องที่ไปใช้แรงงานที่กรุงเทพฯ 

โดยทางตำบลได้กำหนดมาตรการให้ผู้ที่จะกลับมาต้องแจ้งล่วงหน้ากับ อบตหรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ตัวเองอย่างน้อย 3 วัน เพื่อการเตรียมความพร้อมและอำนวยความสะดวกในการการดูแล

ในด้านการเลือกใช้สถานที่กักตัวของชุมชน หรือ Local Quarantine (LQ) ในช่วงแรกให้แต่ละหมู่บ้านดำเนินการเอง แต่เมื่อมีคนเดินทางมากักตัวมากขึ้นทำให้ยากต่อการจัดการ ปัจจุบันจึงเหลือ LQ อยู่ในตำบลคอรุม 5 แห่ง ในพื้นที่ 5 จุด ประกอบด้วย

  1. วัดป่าแต้ว รับประชาชนหมู่ที่ 4 หมู่ที่ 9 จำนวน 10 คน
  2. วัดบางนา หมู่ที่ 12 รับประชาชน หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 12 จำนวน 10 คน
  3. วัดคลองกล้วย รับประชาชนหมู่ที่ 8, 10, 11 จำนวน 10 คน
  4. อาคารเอนกประสงค์หมู่ 5 รับประชาชนหมู่ 5 จำนวน 10 คน
  5. วัดขวางชัยภูมิ รับประชาชน หมู่ 1, 2, 3, 6 จำนวน 10 คน ซึ่งช่วยทุ่นกำลังในการบริหารจัดการ ซึ่งหากผู้ที่ไม่มีอาการก็จะได้รับการตรวจหาเชื้อ 2 ระยะด้วยกัน คือ ตรวจทุก 7 วัน หากไม่ติดเชื้อก็สามารถกลับบ้านได้

ล่าสุด ได้ระดมกำลังทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันจัดการเตรียมการเปิดโรงพยาบาลสนามอำเภอพิชัย แห่งที่ 4 วัดขวางชัยภูมิ สามารถรองรับ ได้ 100 เตียง โดยจะรับผู้ป่วยจาก รพ.ที่อาการดีแล้ว มาพักรักษาตัวต่อ ช่วยให้ รพ.จังหวัด มีเตียงคอยรองรับผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤต เพื่อรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวจะมีแพทย์คอยควบคุม ขณะที่ รพ.สต. อสม.จะทำงานในการดูแลผู้ป่วยภายใต้การดูแลของแพทย์ ส่วน อบตจะรับผิดชอบในการดูแลสถานที่ ทีม อปพร. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ดูแลเฝ้าระวัง โดยมีเวรยามที่ชัดเจน

ทุ่งกระเต็น พลิกบทเรียนเก่า ปรับกลยุทธ์ใหม่

จากประสบการณ์การรับมือการระบาดของเชื้อ โควิด 19 ในพื้นที่มาถึง 3 ระลอก ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถเรียนรู้และนำประสบการณ์มาปรับใช้ได้ทันกับการระบาดที่หนักหน่วงขึ้นในระลอกนี้ 

อิสริยา จิตสุภาพ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระเต็น ระบุถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่ว่า จังหวัดบุรีรัมย์มีนโยบายที่ชัดเจน จากระดับจังหว้ด ไปสู่อำเภอ ซึ่งในระดับพื้นที่เราเรียกประชุม รพ.สต. ท้องถิ่น ท้องที่ ร..ชุมชน และอปทในส่วนของนโยบาย LQ เพื่อการกักตัว และดูแลประชาชนไม่ให้มีการติดเชื้อ หรือแพร่เชื้อโควิด 19 เข้าสู่ชุมชน

หลังจากการได้ทำงานร่วมกันกับ สสส.สำนัก 3 ทำให้เรามี 4องค์กรหลัก (ท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่และองค์กรชุมชน) ที่เหนียวแน่น มีความเข้าใจกัน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาในพื้นที่ต้องแจ้งให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านรับทราบ เมื่อมาถึงพื้นที่จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด 19 หากพบเชื้อก็ส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล หากไม่พบก็ต้องไปกักตัวตามสถานที่กักตัว หรือ LQ ที่จัดเตรียมไว้ให้ ส่วนการกักตัวที่บ้านนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นนโยบายของจังหวัด

ในตอนแรก อบต.ทุ่งกระเต็นและ อบต.หนองกี่ จึงได้จัดทำ LQ ร่วมกันที่วัดใหม่สระขุด เพราะเป็นตำบลที่มีรอยต่อติดกัน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดที่หนักขึ้นในขณะนี้จึงได้มีการขยาย LQ ไปอีกวัด คือวัด สามัคคีศรัทธาธรรม เราจะเรียกว่าโซนนอก โซนใน ซึ่งผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสามารถเลือกได้ว่าจะกักตัวที่โซนไหน ที่ใกล้บ้าน และมีความสะดวก ทั้งตัวเอง และญาติพีน้องก็ได้เบาใจ

162858663459

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกระเต็น ให้ข้อสังเกตถึงการเลือกใช้สถานที่เพื่อเป็น LQ ว่า ไม่ควรเลือกสถานที่ราชการ เนื่องจากว่า อบต.ทุ่งกระเต็น เคยใช้ รพ.สต.เป็นสถานที่กักตัว ซึ่งผู้ที่กักตัวกลายเป็นผู้ติดเชื้อ ทำให้จำเป็นต้องปิด รพ.สต. ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้ตามปกติ จึงเป็นบทเรียนสำคัญว่า พื้นที่ LQ จะต้องไม่เป็นหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน

สำหรับเรื่องอาหารการกิน ชาวบ้านมีการปรับตัวหันมาซื้อขายออนไลน์กันในพื้นที่ เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจในชุมชนไปในตัว ขณะเดียวกันคนในชุมชนก็เกิดการปรับตัวเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ไปโดยอัตโนมัติ

บ้านพอเพียง ลดภาระรัฐ จัดการตนเอง

ที่ตำบลพิมาน .นาแก .นครพนม ขณะนี้ยังมีผู้เดินทางกลับมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกคนที่เข้าพื้นที่ต้องตรวจหาเชื้อโควิดด้วยการตรวจโควิดด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็ว (Rapid test) และหากผลเป็นบวกจะส่งต่อโรงพยาบาลทันที แต่หากผลเป็นลบ จะต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ใน บ้านพอเพียง ซึ่งจะหมุนเวียนกันไป

ทุกคนไม่รอเป็นภาระของทางราชการเพียงอย่างเดียว สิ่งสำคัญคือ การควบคุมคนที่มาจากต่างพื้นที่ตามมาตรการให้ได้ ทุกคนจึงต้องเป็นหูเป็นตา เพื่อไม่ให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่

บัญชา ศรีชาหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน .นาแก .นครพนม เล่าต่อว่า มีการเตรียมความพร้อมสถานที่รับคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อกักตัว หรือสถานกักกันโรคท้องที่ โดยปรับโฮมสเตย์บ้านพอเพียงจำนวน 13 หลัง ของชุมชนเป็นสถานที่กักตัว และระหว่างที่กักตัวจะมีทีมแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตรวจเก็บตัวอย่าง ทุก 5 วัน ผลจากการดำเนินการทำงานที่บูรณาการระหว่างกัน ส่งผลให้สถานการณ์ที่พิมานขณะนี้ไม่น่าห่วง เพราะความตื่นตัวของคนในชุมชนที่ร่วมด้วยช่วยกัน

162858675127

เร่งเดินหน้าสร้างความเข้าใจ

อีกหัวใจสำคัญในการทำงานคือ ต้องสื่อสารข้อมูลถึงกันและกัน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร นโยบาย มาตรการต่างๆ ให้ภาคีเครือข่าย ได้รับรู้ข้อมูลเท่าทันกัน เพื่อนำมาสู่การร่วมกันทำงานดูแลพี่น้องประชาชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อคนในพื้นที่ว่าการจัดศูนย์กักตัวไม่ได้นำเชื้อเข้าสู่ชุมชน

พงษ์ศักดิ์ สมประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า มีการจัดเตรียมสถานที่กักตัวของชุมชน เช่น วัด อาคารเอนกประสงค์ของชุมชน ซึ่งการใช้วัดแต่ละชุมชนเป็นสถานที่กักตัว ทำให้เกิดความระแวงหวาดกลัวของคนในชุมชน บางพื้นที่ไม่กล้าใส่บาตรพระ จึงต้องเร่งเดินหน้าสร้างความเข้าใจให้คนในชุมชนไปพร้อมกันด้วย

เช่นเดียวกับที่ทุ่งกระเต็น อิสสริยาเอ่ยว่า การสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่มีความกังวลกับผู้ที่เข้ามากักตัว ว่าอาจจะนำเชื้อเข้าสู่ชุมชนนั้น จะเป็นหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึง อสมเป็นผู้ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน โดยในช่วงแรกเกิดความไม่เข้าใจจนไม่สามารถสร้าง LQ ได้ แต่เมื่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผ่านFacebook ของตำบล ที่มีผู้ติดตามจำนวน 2,000 คน ก็สามารถสร้างความเข้าใจจนมีมติตั้ง LQในพื้นที่ขึ้นมาได้

162858687992