'สภาฯ' ถกงบฯ65 วันที่สาม ข้องใจ 'กมธ.ฯ' ทำงาน หั่นงบ'ก.พลังงาน' แค่ '10ล้าน'

'สภาฯ' ถกงบฯ65 วันที่สาม ข้องใจ 'กมธ.ฯ' ทำงาน  หั่นงบ'ก.พลังงาน' แค่ '10ล้าน'

"ส.ส." ตั้งคำถาม กับ "กมธ.งบฯ65" หลังพบ งบ "ก.พลังงาน" ถูกหั่นแค่ 10 ล้านบาท ชี้เป็นงบทิพย์ ตั้งแบบผูกพัน-ไม่ช่วยประชาชน

       เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม เวลา 09.55 น. การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท วาระสอง หลังจากที่กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ซึ่งมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เป็นประธานกมธ.ฯ พิจารณาแล้วเสร็จ เป็นวันสาม มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม
       โดยเร่ิมพิจารณา ที่มาตรา 18 งบประมาณของกระทรวงพลังงาน ตั้งเป็นจำนวน 1,873 ล้านบาท ซึ่งมีผู้อภิปรายเพื่อปรับลดวงเงินที่กมธ.พิจารณา ซึ่งตั้งข้อสังเกตต่อการทำหน้าที่หลังจากพบว่ากระทรวงพลังงาน ถูกปรับลดงบประมาณ เพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น
       ทั้งนี้นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย ปรับเพียง 10 ล้านบาท ถือว่าน้อยแบบมีนัยยสำคัญ เมื่อพิจารณารายละเอียดพบว่า ตั้งงบประมาณผูกพันเกือบทุกโครงการทั้งโครงการเล็กและโครงการใหญ่ ใช้วิธีแบบบริษัทมหาชน เช่น ซื้อรถตู้, รถบรรทุก, เช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี, เช่ารถยนต์ประจำตำแหน่งรัฐมนตี  พบว่าใช้แบบงบผูกพันทำให้กมธ.​ฯ ไม่สามารถตัดได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อเนื่อง  รวมถึงพบกาตั้งงบประมาณเพื่อศึกษา รายการละ 14 ล้านบาท, รายการ 19ล้านบาท หรือรายการ 24 ล้านบาท เกือบทุกโครงการเป็นงบผูกพัน หรือตนขอเรียกว่า งบทิพย์ เพราะกรรมาธิการฯตัดไม่ได้  ถือเป็นการทำงบที่ฉลาด จึงขอตั้งข้อสังเกตต่อการจัดทำงบในครั้งนี้ด้วย
       ขณะที่ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายปรับลด 7% พร้อมตั้งคำถามต่อกมธ.ฯ ที่ปรับลดงบประมาณน้อย ว่าได้ทำหน้าที่เพื่อดูแลปัญหาให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเรื่องราคาพลังงาน โดยเฉพาะการปรับอัตราโครงสร้าางค่าไฟฟ้าที่เป็นธรม เนื่องจากพบอัตราค่าไฟฟ้าของผู้ที่ขอมิตเตอร์ชั่วคราว ต้องจ่ายค่าไฟต่อหน่วย 6.8 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าไฟฟ้าจากมิเตอร์ถาวร ที่จ่ายหน่วยละ 2 - 4 บาท 

       ส่วนน.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายปตท.สผ. ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตเลียมอ่าวไทยและบงกช ทำให้บริษัทเชฟลอนผู้รับสัมปทานเดิมต้องรื้อถอน แท่นผลิตรวม 1.5 แสนล้านบาทและส่งมอบทรัพย์สินให้กับรัฐ  ทำให้บริษัทเชฟรอนฟ้องร้องต่ออนุญาโตตุลาการ  เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะกระทรวงออกกฎกระทรวงย้อนหลัง
       “ประชาชนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายงบประมาณคดีค่าโง่หรือไม่ แม้รมว.พลังงานยุคคสช. เป็นสิทธิผู้ประกอบการเอกชนยื่นฟ้องอนุญาโตตุลาการได้ แต่หากรัฐทำให้เป็นธรรม การเสียค่าโง่อาจไม่เกิดขึ้น ขอให้ชี้แจงหากตอบไม่ได้ต้องขอตัดลดงบกรมเชื้อเพลิงพลังงานจำนวน 185 ล้านบาท เพื่อเตรียมใช้ในกรณีที่มีการฟ้องร้องในชั้นอนุญาโตตุลาการทั้งหมด” น.ส.เบญจา อภิปราย
       ด้านนายจิรายุ ห่วงทรัพย์  ส.ส.กทม.​พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า กระทรวงพลังงานซุกงบจ้างทนาย เพื่อต่อสู้คดีที่บริษัทเชฟรอนฟ้องร้องกับหน่วยงานกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นทนายต่างชาติที่เป็นคู่กรณีกับบริษัทเชฟรอน  เกือบ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ยังพบการตั้งงบประมาณของกระทรวงพลังงานเพื่อชดใช้ข้อผิดพลาดของรัฐ และความลุอำนาจของคนสั่งไม่ใช่เพื่อประโยชน์ประชาชน  อย่างไรก็ดีรายละเอียดและข้อมูลทั้งหมดขอให้รมว.พลังงานพิจารณาและดำเนินการ ทั้งนี้ประเด็นที่เกี่ยวข้องขอให้ติดตามต่อในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ.