เช็กปริมาณน้ำทั่วไทย แหล่งน้ำขนาดใหญ่ รับน้ำ 58,485 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 82%
ตรวจสอบ เช็กปริมาณน้ำทั่วไทย แหล่งน้ำขนาดใหญ่ รับน้ำ 58,485 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 82%
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ต.ค. 65 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สงขลา (159 มม.) จ.เพชรบุรี (111 มม.) และ กรุงเทพมหานคร (107 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึง กอนช. แจ้งเตือนระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เข้าสู่สภาวะวิกฤต ระดับ 3 คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับวิกฤตหรือสูงกว่าคันดินโนนสัง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์มีระดับน้ำสูงขึ้นและอาจกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณ อ.อุบลรัตน์ เขาสวนกวาง ซำสูง น้ำพอง และอ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเฝ้าระวังพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำชี ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ได้คาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำชีด้านท้ายอ่างฯอุบลรัตน์ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 8 - 13 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1. อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ.โกสุมพิสัย อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.10 – 0.50 เมตร
2. อ.จังหาร อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.1-0.6 เมตร
3. อ.เมืองยโสธร อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.30 เมตร
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 66,440 ลบ.ม. (81%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 58,485 ล้าน ลบ.ม. (82%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร บึงบระเพ็ด และหนองหาร
กอนช. ห่วงใยประชาชนในพื้นเสี่ยงอุทกภัยและพื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขัง หลังเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำเนื่องจากสภาพอากาศใน ช่วงวันที่ 10 - 14 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณ ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
กอนช. เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง รวมถึงติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พร้อมตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเร่งเข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย