ลงทะเบียน "เงินเยียวยาเกษตรกร" ล่าสุด กรณีน้ำท่วม อยากได้ไร่ละ 5,000 บาท
ความคืบหน้า เช็กการลงทะเบียน "เงินเยียวยาเกษตรกร" ล่าสุด กรณีน้ำท่วม ชาวนาอยากได้ไร่ละ 5,000 บาท ชักช้าไม่ทันการนะจะบอกให้
การลงทะเบียน "เงินเยียวยาเกษตรกร" ล่าสุด กรณีน้ำท่วม พี่น้องชาวเกษตรกรเร่งลงทะเบียนขอเยียวยาน้ำท่วม ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ ต่างเร่งมาลงทะเบียนแจ้งความเดือนร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมไร่นา บ้านเรือน ปศุสัตว์ เพื่อยื่นเรื่องขอให้รัฐบาลชดเชย อย่างน้อยไร่ละ 5,000 บาท เยียวยาคุ้มค่ากับความสูญเสีย อยากมีทุนทำนาปรังหลังน้ำลดลง
วันนี้ 27 ตุลาคม 2565 สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดศรีสะเกษ วันนี้ที่ใต้สะพานลอยข้ามรางรถไฟ สามแยกบ้านหนองบัวไชยวาน ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ใหญ่บ้านได้นัดหมายให้เกษตรกร พร้อมลูกบ้านในเขตตำบลโนนสัง ที่ได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วม บ้านเรือน ไร่นา และปศุสัตว์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เงินเยียวยาเกษตรกรปี 65 เช็กด่วน กระทรวงเกษตรฯแจกเงินช่วยเหลือน้ำท่วม
- อัปเดต เงินช่วยเหลือเกษตรกรปี 65 เยียวยาน้ำท่วม ไร่ละ 11,780 บ. พื้นที่ 41 จว.
- "เงินเยียวยาน้ำท่วม" เกษตรกรวอนรัฐเร่งจ่ายด่วน
ชาวนาชาวสวนได้เดินทางออกมาลงทะเบียนในแบบคำร้อง “แบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านพืช ด้านสัตว์ และบ้านเรือน” เนื่องจากน้ำยังท่วมบ้านเรือน และถนนบางส่วนอยู่ จึงได้นัดหมายให้ทุกคนออกมาพบกันเพื่อลงทะเบียนยังจุดพักพิงชั่วคราวที่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟ
โดยทุกคนจะต้องมีภาพถ่ายไร่นา บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม มีสำเนาเอกสารแสดงสิทธิแสดงที่ตั้งของพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม อื่นๆ เพื่อแนบเอกสารใบลงทะเบียนเพื่อส่งทางอำเภอ ขณะที่รักษาการผู้ว่าฯ ได้สั่งการสำรวจความเสียหาย ประชุมพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของกระทรวงการคลังได้ทันทีหลังน้ำลด หากไม่พอจะขอส่วนการช่วยต่อไป
นายดวงศรี คำศิริ หนึ่งในเกษตรกรที่ออกมาลงทะเบียน อยู่บ้านหนองบัวไชยวาน หมู่ที่ 3 ตำบลโนนสัง เปิดเผยว่า วันนี้มาลงทะเบียนน้ำท่วม สำหรับผู้ที่ถูกน้ำท่วมไร่ ท่วมนา บ้านเรือน ซึ่งทุกคนก็จะต้องมาลงทะเบียนตามความเป็นจริง ซึ่งทุกพื้นที่ที่น้ำท่วมก็มีเขตอยู่อย่างชัดเจน
หวังว่าจะได้ค่าชดเชยเยียวยาจากรัฐบาลบ้าง เพื่อจะได้ซื้อข้าวกินต่อไป ซึ่งในปีน้ำท่วมหนักมาก ซึ่งเฉพาะนาข้าวของตนที่มีนาข้าวแปลงเดียว ถูกน้ำท่วมทั้งหมดเลย 17 ไร่ ต้นข้าวถูกน้ำท่วมเน่าเสียหายหมด ตอนนี้ก็หวังว่ารัฐบาลจะช่วยค่าเยียวยา ก็อยากได้เป็นเงินสด อยากได้ไร่ละ 5,000 บาท จึงจะชดเชยกันได้ เพราะที่ผ่านมาลงทุนทำนา ทั้งค่าไถนา ค่าปุ๋ยซึ่งก็แพง กระสอบละ 1,700 บาท และหลังน้ำลดก็อยากทำนาปรังชดเชยข้าวนาปีที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย พอจะได้มีข้าวกินไปจนสิ้นปี และปลูกหญ้าพอเอาไว้เลี้ยงวัว - ควาย ซึ่งต้องอพยพมาอยู่ที่ใต้สะพานเช่นกัน
ด้านนายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าฯ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ตอนนี้ในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ประสบอุทกภัยอยู่เหลือ 5 อำเภอ คือ อำเภอศิลาลาด , ราษีไศล , เมืองศรีสะเกษ , ยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ 25 ตำบล 136 หมู่บ้าน ซึ่งก็ยังมีอพยพออกมาอาศัยอยู่ด้านนอกบ้านตนเองอยู่ ซึ่งการช่วยเหลือ จังหวัดก็ได้เข้าไปดูแลในทุกด้าน ทั้งความเป็นอยู่ ด้านอาหาร ด้านที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อื่นๆ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ มาโดยตลอด
ดูแลทั้งคน ทั้งปศุสัตว์ โดยประสานกับท้องถิ่นตลอด ส่วนการประมวลน้ำท่วมในภาพรวม ตอนนี้พื้นที่ริมแม่น้ำมูล ซึ่งยังจะต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะระดับน้ำจึงจะลดลงจนเข้าสู่สภาวะปกติ ก็อาจจะต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือน โดยตนได้สั่งการให้ทุกอำเภอเร่งสำรวจความเสียหาย จัดประชุมพิจารณาตามคำร้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ทั้งนาข้าว พืชไร่ ประมง ปศุสัตว์ต่างๆ รวมทั้งที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายด้วย
ซึ่งหากเป็นวงเงินที่มาก เกินอำนาจของผู้ว่าฯ ก็จะต้องขอไปยังส่วนกลาง โดยตนได้เร่งให้ดำเนินการแล้ว ในขณะเดียวกันก็ทราบว่า ทางรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือ เมื่ออุทกภัยกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ก็จะมีโครงการสร้างฝันสร้างอาชีพ ในการจัดสรรวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาให้ครอบครัวเกษตรกรผู้ประสบภัยได้ไปใช้สร้างอาชีพหลังน้ำลดต่อไปด้วย
"เงินเยียวยาเกษตรกร" - ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ในอัตรา ดังนี้
- ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท
- พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท
- ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่นๆ ไร่ละ 4,048 บาท
- ช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติที่สัตว์ตายหรือสูญหาย ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงิน ดังนี้
- กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
- ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง)ไร่ละ 4,682 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
- สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท ไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตร หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท
...
อ้างอิงข้อมูล - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์