ขบวนแห่กระทงใหญ่ยี่เป็งเชียงใหม่สวยงามตระการตา
บรรยกาศการประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 15 ขบวนในงานประเพณี่ยี่เป็งเชียงใหม่ จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 3 ปี ภายใต้แนวคิด“ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที” ขณะที่ประชาชน-นักท่องเที่ยวแห่ชมความสวยงาม 2 ฝั่งถนนกันอย่างเนืองแน่น
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดเชียงใหม่จัดกิจกรรมการประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยในปีนี้ขบวนกระทงใหญ่จะเคลื่อนขบวนจากข่วงประตูท่าแพ ไปตามถนนท่าแพ เคลื่อนไปยังเวทีหน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งมีีขบวนเข้าร่วมจำนวน 15 ขบวน แต่ในปีนี้มีขบวนที่เข้าร่วมประกวดจำนวน 10 ขบวน ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่, สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, กองประกวดนางสาวเชียงใหม่, สถานกงสุลอินเดีย ประจำจังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ราชวดี, สภาชาติพันธุ์ไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ Now clinic, Chiang Mai Night Life, เทศบาลตำบลท่าศาลา
ในแต่ละขบวนจะมีแนวคิดในการออกแบบกระทงใหญ่ที่แตกต่างกันออกไปขบวนที่ 1 เทศบาลนครเชียงใหม่ มีแนวคิดคือนำเสนอแม่น้ำปิงผ่านจินตนาการ ผสมผสานกับตำนานความเชื่อและศาสนา จำลองเอาพญานาคราช ผู้เป็นใหญ่แห่งสายน้ำ เข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญ อีกทั้งเทวาอารักษ์ผู้พิทักษ์แห่งสายน้ำ ทั้งยังได้ประดิษฐานพระพุทธรูปขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระวิหารหลวง เป็นตัวแทนแห่งพระพุทธศาสนาของนครพิงค์ล้านนา ศาสนาที่ก่อร่างสร้างฐานลงอย่างแน่นแฟ้นในดินแดนแทบลุ่มแม่น้ำปิง
ส่วนขบวนที่ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มาในแนวคิดผางประทีปตื้นกาปูจาแม่กาเผือก อันมีตำนานที่เล่าขานกันมาถึงอานิสงฆ์แห่งการทำผางประทีปจุดบูชา ตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประปหรือดังปรากฎในคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีป ถือได้ว่ารถกระทงของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเอาตำนานมาผสมผสานกับการตกแต่งให้สอดกล้องกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นออกมาอย่างลงตัวและสวยงาม เพื่อร่วมสืบสานงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 ให้ยังคงสืบต่อไป
ขบวนที่ 3 สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ แสดงออกถึงความเป็นหุ้นส่วนที่ไม่หยุดนิ่ง ด้วยการนำเสนอเทศกาลและประเพณีทั้งในสหรัฐอเมริกาและภาคเหนือของไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและการถักทอเรื่องราวของความเป็นมาของสหรัฐฯ และไทย รวมถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯที่จะส่งเสริมให้เชียงใหม่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลก
ขบวนที่ 4 กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ เล่าผ่านเรื่องราวการลงเรือลำเดียวกันตามฝันดวงดารามีความเป็นมาโดยย่อ คือลงเรือลำเดียวกัน เรือ หมายถึง ยานอวกาศเสินโจว และเทียนโจว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ประเทศจีนได้ มีการส่งยานอวกาศเสินโจว-14 พร้อมนักบิน และยานบรรทุกสัมภาระเทียนโจว-4 ขึ้นสู่สถานีอวกาศจีน ตามลำดับ ซึ่ง หมายความว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สำรวจสิ่งที่ไม่รู้จักได้ดียิ่งขึ้น โดยจีนและไทย ลงเรือลำเดียวกันตามฝันดวงดารา เมื่อแหงนขึ้นไปบนท้องนภา มองหาดวงดาราอันพร่างพราย และมองลงมาบนโลกเพื่อสร้าง บ้านอันงดงามร่วมกัน และมนต์เสน่ห์ของเมืองเชียงใหม่เกิดจากพวกเราทุกคน และเพราะโชคชะตานำพามาให้เราพบกัน เราจึงต้องร่วมกันปกปักษ์รักษาบ้านเกิดหลังนี้ภายใต้ท้องฟ้าอันงดงาม
ขบวนที่ 5 Anantara Chiang Mai Resort มาในแนวคิดรัตนบูชามหาเทวีประเวณลีอยกระทงยี่เป็งเชียงใหม่มหานครแห่ง อารยธรรมล้านนา ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ มนต์อารยะแห่งการบูชาพระแม่คงคา การขอขมาบูชา แม่น้ำระมิงค์ เทพยาดาแห่งสานธารา การสักการะขอขมาบูชา แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ การบูชาผางประทีป เป็นธรรมเนียม แก่การบูชา แห่งพระพุทธศาสนาตามความเชื่อของล้านนา เพื่อความเป็นศิริมงคลรุ่งเรือง มงคลสมัย รถกระทงสื่อ ผ่านงานหัตถศิลป ล้านนา กระทง โคม จักสารด้วยดีงานศิลป์ ทำมาจากงานไม้ไผ่จักสาน สื่อสานให้เห็นถึง ศิลปวัฒนธรรมอันดี ที่ เป็นการสืบต่อ จากรุ่นสูงรุ่น การสักการะบูขชา แห่งมาหาสัตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ด จักรวาลแห่งความมั่งมี ลวดลายล้านนา ลายดอกโบรณ์ สื่อสานถึงเรื่องราวความเป็นมาแห่ง อารยะชน ล้านนา
ขบวนที่ 6 มหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเชียงใหม่ นำเสนอเรื่อง ปีเปิ้ง สิบสองนักษัตร ล้านนามีความเป็นมาโดยย่อ อังนี้ปีเปิ้ง หรือ ปีเกิดสิบสองราศีแบบล้านนา ใช้รูปสัตว์ 12 นักษัตรแทนในรอบ 12 ปี โดยความเชื่อเรื่องนักษัตรนี้ทั้งไทยและล้านนา ได้รับมาจากระบบปฏิทินจีนโบราณ แต่ล้านนาเปลี่ยนปีใค้(ปีกุน) จากเดิมนักษัตรหมูมาเป็นช้างแทน ซึ่งการนับปีเปิ้งจะเริ่มจากปีใจนักษัตรหนู แล้วสิ้นสุดในปีนักษัตรช้าง โดยเรียงตามลำดับดังนี้ 1. ปีชวด(หนู) 2. ปีฉลู(วัว) 3. ปีขาล(เสือ) 4. ปีเถาะ(กระต่าย) 5. ปีมะโรง(งูใหญ่) 6. ปีมะเส็ง(งูเล็ก) 7. ปีมะเมีย(ม้า) 8. ปีมะแม(แพะ) 9. ปีวอก(ลิง) 10. ปีระกา(ไก่) 11. ปีจอ(หมา) 12. ปีกุน(ช้าง)
ขบวนที่7สถานกงสุลใหญ่ ญี่ปุ่น นครเชียงใหม่ ตกแต่งเกี่ยวกับเรื่อง โอะโมจะ และมัททซึริ หรือของเล่นและงานเทศกาลของญี่ปุ่น แม่น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของมนุษย์เรามาช้านาน แม่น้ำปีงเองก็เป็นสายน้ำสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่อยู่คู่กับคนเชียงใหม่มาตั้งแต่โบราณกาล สถานกงสุลญี่ปุ่น ณ เชียงใหม่ตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้มากกว่า 20 ปี สะท้อนถึงสายสัมพันธุ์ระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวเชียงใหม่ที่มีมาเป็นเวลาเนิ่นนานและแน่นเฟ้น จึงกล่าวได้ว่าแม่น้ำปิงก็มีส่วนหล่อเลี้ยงชีวิตของคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ขบวนที่ 8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มาในแนวคิด นาวาแห่งความสุขสมบูรณ์ยิ่ง จากสัตตธารา สู่พิงคนทีธาร สำเภาแห่งความอุดมสมบูรณ์บาน ผลิดอกออกผล จากดอยสุเทพเบื้องบน สู่หนน่านน้ำระมิงคนที่ ผ่านศรีศุภมิ่ง มงคลนาม แห่งนพบุรีศรีนคพิงค์เชียงใหม่ ที่ได้สั่งสมความงามความดี สมสง่าแห่งสะหลีภูมิปัญญาวัฒนธรรมขบวนที่ 9 กองประกวดนางสาวเชียงใหม่ นำเสนอความหมายของเหล่าสัตว์ในป่าหิมพาน อันเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนนางสาว เชียงใหม่ในดวงใจ อันประกอบไปด้วย พญาครุฑ อันแสดงถึง ความแข็งแกร่ง ความเป็นผู้นำ ,พญานาค อันแสดงถึง ความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์, พญานกยูง อันแสดงถึง ความสง่างาม ความละเอียดอ่อน ความสุข, พญาช้าง อันแสดงถึง ความฉลาด ความอ่อนโยน ความมีเมตตา ความแข็งแรงพละกำลัง ,สะเปาคำ อันแสดงถึง การรวมจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมดนี้เปรียบดั่ง ทีมนางสาวเชียงใหม่ในดวงใจ ที่เปล่งประกายความงดงาม พลังแห่งความรัก ความเป็นผู้นำที่ดีของสังคม
ขบวนที่ 10 กงสุลอินเดียประจำจังหวัดเชียงใหม่ มาในแนวคิด การผสมผสานวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และสัญลักษณ์ของประเทศอินเดีย ที่มีความหลากหลาย วัฒนธรรมมาผสมผสานกับวัฒนธรรมล้านนา ให้ออกมาในรูปแบบของรถกระทงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ เสาอโศกหรือเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่อยู่ทั้งด้านหน้าและส่วนท้ายรถกระทง เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศพระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช ประดุจธงชัยแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อถวายสักการะแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อนี้ได้ทำให้มีการสร้างพระเจดีย์ที่วัดเกตอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปีง อันเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต และเป็นยานท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ริมแนวแม่น้ำปิงในปัจจุบันสัญลักษณ์นี้เชิงปรัชญา ยังหมายถึง ระลึกบูชาพระรัตนตรัยและดวงปัญญาอันบริสุทธิ์ที่ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่
ขบวนที่ 11 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ออกแบบรถกระทงให้สอดคล้องกับประเพณีคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและเลือกใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงความเคารพต่อสายน้ำอันเป็นมงคลของเมืองเชียงใหม่ และเพื่อระลึกถึงภาระกิจที่ได้น้อมรับมาจากพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรและพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการที่จะดูแลระบบนิเวศป่าต้นน้ำและแหล่งเกษตรในพื้นที่ใกล้กับเมืองเชียงใหม่ให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์สืบไป โดยคติที่ได้นำมาสื่อในการประดับรถ กระทงประกอบไปด้วยตรงส่วนกลางรถกระทงจำลอง พระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งตามตำนานเชื่อว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาและพระโมลีของเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อทรงเสด็จออกผนวชทรงตัดพระจุฬา พร้อมพระโมลีแล้วขว้างไปในอากาศ ขณะนั้นท้าวสักกะเทวราชนำผอบแก้วมารองรับเอาไปประดิษฐานในพระเจดีย์ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อนี้ได้ทำให้มีการสร้างพระเจดีย์ที่วัดเกตอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปีงอันเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต และเป็นยานท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ริมแนวแม่น้ำปิงในปัจจุบันสัญลักษณ์นี้เชิงปรัชญา ยังหมายถึง ระลึกบูชาพระรัตนตรัยและดวงปัญญาอันบริสุทธิ์ที่ปกปักรักษาเมืองเชียงใหม่
ขบวนที่ 12 กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม ราชาวดี ออกแบบภายใต้แนวความคิด งานประเพณีสรงน้ำ พระธาตุดอยสุเทพ(ประเพณีขึ้นดอย)ประเพณีคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันเราออกแบบโดยมีพญาช้าง เป็นตัวแทนของชาวเชียงใหม่ อันเชิญพระธาตุดอยสุเทพมาประดิษฐานบนหลังพญาช้างพร้อมด้วยเครื่องสักการะ(พานพุ่ม เครื่องสัตตภัณฑ์ ตุงกระด้าง) เพื่อให้เข้าภายใต้แนวคิด เชียงใหม่นครที่เป็นที่สุด แห่งความสง่างามทางวัฒนธรรม ความสุขแห่งสายน้ำปีงนครามมหานที่ ในงานประเพณีเดือนยี่เป็ง เชียงใหม่ ประจำปี 2565
ขบวนที่ 13 สภาชาติพันธุ์ไทใหญ่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในนครพิงค์เชียงใหม่มาเป็นเวลาช้านานแล้ว และได้นำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของชาติพันธุ์มาผสมผสานกับประเพณีล้านนาของนครพิงค์เชียงใหม่ ตั้งแต่การแต่งกาย การแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ให้สอดคล้องกับประเพณีลอยกระทง
ขบวนที่ 14 Chiang Mai Night life นำเสนอ ขบวนกระทงใหญ่อันวิจิตร ที่ได้นำเสนอถึงความเชื่อของพระพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยนำเอาความเชื่อของพราหมณ์เกี่ยวกับจักรวาล อันมีพระพรหมผู้สร้างโลกและพระนารายณ์แห่งการรักษา อีกทั้งยังมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลางซึ่งแทนด้วยพระบรมธาตุดอยสุเทพ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของคนเชียงใหม่ มีท้าวจตุมหาราชทำหน้าที่อารักขาพระบรมธาตุ ซึ่งตามความเชื่อของทางพระพุทธศาสนา ท้าวมหาราชทั้ง 4 เป็นผู้อารักขาพระพุทธศาสนามาโดยตลอด
ขบวนที่ 15 เทศบาลตำบลท่าศาลา นำเสนอขบวนกระทงใหญ่อันวิจิตรภายใต้แนวคิด เชียงใหม่นครที่เป็นที่สุดแห่งความสง่างามทางวัฒนธรรมได้รวบรวมเอาสัญลักษณ์อันแสดงไว้ถึงศักดิ์ศรีของนครเชียงใหม่ มาแสดงไว้ในขบวนกระทงใหญ่ใบนี้ โดยบรรยากาศตลอดเส้นทางที่ขบวนเคลื่อนผ่าน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ยืนรอชื่นชมและถ่ายรูปกระทงใหญ่ทั้ง 15 ขบวน อย่างแน่นขนัด และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างมีรอยยิ้มบนใบหน้าเมื่อได้เห็นกระทงของแต่ละขบวนเคลื่อนผ่าน ถือเป็นการส่งท้ายเทศกาลยี่เป็งหรืองานลอยกระทง ปี 2565 ของจังหวัดเชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่