เลย พัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP สู่ตลาดภายนอก-ตลาดสากล

เลย พัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP สู่ตลาดภายนอก-ตลาดสากล

รองผู้ว่าฯ เลย เปิดโครงการพัฒนาศักยภาพสินค้า OTOP จัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เพื่อให้มีคุณภาพ มาตรฐาน พร้อมจำหน่ายสู่ตลาดภายนอกและตลาดสากล

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.65 ณ โรงแรมใบบุญแกรนด์ ต.นาอาน อ.เมืองเลย จ.เลย นายบุญเต็ม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด" มีส่วนราชการ เกษตรกร ผู้ประกอบการสินค้า OTOP จังหวัดเลยร่วมจำนวนมาก

นายคมสิทธิ์ สุริยวรรณ พัฒนาการจังหวัดเลย รายงานว่า ด้วยกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อน โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ OTOP ควบคู่ไปกับการตลาด รวมทั้งการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เพื่อให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน เครือข่ายผู้ผลิตชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ภายในจังหวัดผนึกกำลังองค์ความรู้พัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ 0TOP ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP
 

โดยภาครัฐพร้อมที่จะสนับสนุน ให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนายืดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชน

สู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เป็นศูนย์กลางในการให้ความ ช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิตผู้ประกอบกาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย ได้กำหนดดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ 0TOP ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ระหว่างวันที่ 6 - 7 ธันวาคม 2565 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการ KBO จังหวัด จำนวน 20 กลุ่ม ๆ ละ 1 คน รวม 20 คน คณะกรรมการเครื่อข่าย KBO จังหวัด เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ รวม 20 คน
 

เป้าหมายในการพัฒนา คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทกลุ่มผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ระดับ 1-3 ดาว ปี 2565 หรือผลิตภัณฑ์ประเภทปรับพัฒนา (Quadrant D) ที่มีศักยภาพกิจกรรมในครั้งนี้ มีการอบรมแลกเปลี่ยน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ตลอดจนการจัดทำแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีคุณภาพ มาตรฐาน พร้อมจำหน่ายสู่ตลาดภายนอกและตลาดสากล ผลที่คาดว่าจะได้รับ คณะกรรมการเครื่อข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการให้ ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

KBO ในการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนายกระดับให้มีมูลค่าเพิ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ ผลการดำเนินงานของเครื่อข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด ได้รับการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์มีโอกาสนำเสนอออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมากขึ้น