'ไข่ครอบสงขลา' สินค้า GI ตัวใหม่ของไทย ดันทั้งห่วงโซ่การผลิต ให้มีรายได้เพิ่ม

'ไข่ครอบสงขลา' สินค้า GI ตัวใหม่ของไทย ดันทั้งห่วงโซ่การผลิต ให้มีรายได้เพิ่ม

"ไข่ครอบสงขลา" สินค้าปศุสัตว์ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตัวใหม่ของประเทศไทย เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการตลาด และ ช่องทางการจำหน่าย ดันทั้งห่วงโซ่การผลิต ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ตามที่ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุน และ ผลักดันให้ “ไข่ครอบสงขลา” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ซึ่งจะเป็นสินค้าปศุสัตว์ GI ลำดับที่ 5 ต่อจาก ไข่เค็มไชยา หมูย่างเมืองตรัง เนื้อโคขุนโพนยางคำ และ ผ้าฝ้ายทอผสมขนแกะบ้านห้วยห้อม เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการตลาด และ ช่องทางการจำหน่ายตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ผู้แปรรูปไข่ครอบ และผู้ประกอบการร้านอาหารให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

\'ไข่ครอบสงขลา\' สินค้า GI ตัวใหม่ของไทย ดันทั้งห่วงโซ่การผลิต ให้มีรายได้เพิ่ม
 

ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และ ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ ร่วมกับจังหวัดสงขลาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ “ไข่ครอบสงขลา” โดยมีการสาธิตการทำอาหารจากไข่ครอบสงขลาเป็นเมนูต่าง ๆ ได้แก่ ทาร์ตไข่ครอบ สปาเก็ตตี้คาโบนาร่าไข่ครอบ และยำไข่ครอบ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไข่ครอบสงขลาให้แก่ประชาชนทั่วไป สำหรับเป็นข้อมูล ในการบริโภค และ เป็นแนวทางให้ กับผู้จำหน่าย ในการเพิ่มมูลค่าไข่ครอบ

\'ไข่ครอบสงขลา\' สินค้า GI ตัวใหม่ของไทย ดันทั้งห่วงโซ่การผลิต ให้มีรายได้เพิ่ม

บัดนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไข่ครอบสงขลาเป็นสินค้า GI ตัวใหม่ของไทย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาเป็นลำดับที่ 178 จากเดิมไทยมีสินค้า GI ที่ประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว 177 สินค้าครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
 

ทั้งนี้ ไข่ครอบสงขลา (Songkhla Steamed Egg Yolks หรือ Khai Khrop Songkhla) เป็นอาหารพื้นถิ่นที่ผลิตและแปรรูปในอำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด และอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในพื้นที่ที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี โดยการนำไข่แดงจากไข่เป็ด 2 ใบ ใส่ลงในเปลือกไข่ 1 ใบที่ตัดแต่งขอบ แล้วนำไปนึ่งจะมีสีแดงอมส้ม ผิวมันวาว โดดเด่นด้วยเนื้อสัมผัส 3 ระดับ คือ เนื้อลาวา เนื้อยางมะตูม เนื้อดั้งเดิม มีรสหวานและเค็มเล็กน้อย ไม่มีกลิ่นคาว