การจัดการความขัดแย้ง ความสามารถสูงสุดของนักบริหารชั้นนำระดับโลก | ปรมะ
ความสามารถของนักบริหารที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือ “การจัดการความขัดแย้ง” ทั้งจากบุคลากรในองค์กรและจากนอกองค์กร
หน้าที่ของผู้บริหารระดับกลางคือ Manager มาจากการ Manage(การจัดการ) ผู้คนที่อยู่ใต้ Under ของตนเองบ้างอาจมีระดับหลัก 5 คนไปจนถึง 20 คนที่ต้องจัดการ
ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็คือ Managing Director มาจากการ Manage เช่นเดียวกันแต่คราวนี้เป็นการจัดการทั้งองคาพยพ หมายความจัดการทั้งหัวหน้าผู้จัดการ และผู้จัดการไปอีกทีเป็นชั้นๆ จนถึงระดับล่างสุดขององค์กร
ความขัดแย้งมีได้หลากหลายปัจจัย ขัดแย้งจากการไม่ชอบนิสัยใจคอ ขัดแย้งด้วยผลประโยชน์ ขัดแย้งแม้เพียงไม่ชอบหน้า ไปจนถึงเริ่มแรกรักกันบั้นปลายเริ่มขัดแย้ง
จากเหตุการณ์ ชัยชนะครั้งที่ 3 ในบทสวดพาหุง ของพระพุทธเจ้า มีบทเรียนสอนใจ เมื่อพบเจอบุคคลที่จิตใจโหดเหี้ยมอาจเกิดจากปมในอดีตที่ถูกทรมาณมาจากสิ่งรอบตัวจงใช้ความเมตตา เข้าอกเข้าใจเขา จงเอาชนะได้ด้วยความเมตตา
เพราะบางทีผู้อาจหลงผิดจากการโดนมอมเมา ผ่านคำพูด ความคิด หรือสิ่งทุจริตใดๆที่ทำให้เขาผู้นั้นปัญญาในการแยกแยะผิดถูกผิดพลาดไป ให้เราเพียรใช้ความเมตตาในการพิจารณาถึงความจำเป็น
หรือรอให้หายมัวเมาจากความเท็จ แล้วจึงหาโอกาสพูดคุยกับเขา อันจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสันติและได้ผลลัพธ์ของการทำงานที่ดีร่วมกันครับ
สมัยหนึ่ง พระเทวทัตมีความปรารถนาที่จะปกครองสงฆ์เอง ขาดความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงคบหากับพระเจ้าอชาตศัตรูและทำสัญญากันว่า
"ถ้ามหาบพิตรปลงพระชนม์พระบิดาแล้วเป็นพระราชา อาตมภาพจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า” พระเทวทัตเข้าไปในโรงช้าง สั่งคนเลี้ยงช้าง ให้ช้างนาฬาคิรีดื่มเหล้าถึง ๑๖ หม้อ
แล้วให้ปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ เมื่อช้างถูกมอมเหล้า เกิดอาการเมาอย่างหนัก เป็นช้างตกมัน ดุร้ายเกรี้ยวกราด ไม่มีใครจะห้ามได้ ทันทีที่ถูกปล่อยออกจากโรงช้าง มันรีบวิ่งตรงไปตามถนน
บรรดาพระมหาสาวกทั้งหลายต่างรับอาสาจะทรมานช้างนาฬาคิรี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "การทรมานช้างนาฬาคิรี ไม่ใช่วิสัยของเธอ เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า"
ขณะนั้นพระอานนท์ ซึ่งจงรักและภักดีในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก รีบก้าวออกไปยืนขวางหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า "ขอช้างจงฆ่าเราเถิด เราจะสละชีวิตแทนพระพุทธองค์"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามถึง 3 ครั้งว่า "อานนท์จงหลีกไป" พระอานนท์ก็ไม่ยอมหลีกไป คงยืนขวางหน้าอยู่เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาให้กับช้างนาฬาคิรี ช้างได้สัมผัสกระแสแห่งเมตตาธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำให้สร่างเมาเป็นปลิดทิ้ง ลดงวงลง ค่อยๆ เยื้องกรายเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่เบื้องหน้าของพระพุทธองค์ด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขวา ลูบกระพองช้างนาฬาคิรี พลางตรัสว่า “ดูก่อนกุญชร(ช้าง) เจ้าอย่าเข้าไปหาพระพุทธเจ้าด้วยจิตที่คิดจะฆ่า อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในอบาย
ผู้ฆ่าพระพุทธเจ้า จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าจะไม่มีสุคติเลย เจ้าจงสร่างเมาและอย่าประมาท ผู้ที่ประมาทแล้วจะไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดยประการที่จักไปสู่สุคติได้
ดูก่อนช้างนาฬาคีรี เจ้านี้เป็นเดรัจฉาน มีโอกาสพบเราตถาคตในครั้งนี้ นับเป็นกุศลอย่างยิ่ง ตถาคตนี้อุปมาดังพญาช้างตัวประเสริฐ ประกอบด้วยคุณของพระอรหันต์ เป็นใหญ่ใน ๓ โลก
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เจ้าอย่าดุร้ายไล่ทิ่มแทงมนุษย์อีก จงมีเมตตา ยังใจให้โสมนัส อย่าได้ประกอบโทษ จงหมั่นเจริญเมตตาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป สิ้นชีพแล้ว เจ้าจะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์"
ด้วยเมตตานุภาพอันไม่มีประมาณของพระพุทธองค์ ทำให้ช้างนั้นมีจิตชื่นชมโสมนัส จากนั้นช้างได้เอางวงลูบละอองธุลีพระบาทของพระองค์ แล้วพ่นลงบนกระหม่อมของตน ย่อตัวถอยออกไป
ชั่วระยะที่แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เดินกลับเข้าไปสู่โรงช้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ช้างนาฬาคิรีก็ได้ชื่อใหม่ว่า ช้างธนปาล
มหาชนเห็นเมตตานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างเกิดปีติโสมนัส พากันกล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ว่า "ชาวเราเอ๋ย ช่างน่าอัศจรรย์จริงหนอ คนบางพวกย่อมฝึกช้างและม้า ด้วยการใช้ท่อนไม้บ้าง ใช้ขอบ้าง ใช้แส้บ้าง แต่พระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างโดยใช้เมตตาธรรม”
ชัยชนะครั้งที่ 5 ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงผจญกับนางจิญจมาณวิกาผู้ซึ่งแกล้งทำว่าตั้งท้อง โดยผูกไม้ไว้ให้ท้องกลมโตสมจริง มายืนด่าว่าใส่ร้ายพระองค์ท่ามกลางพุทธบริษัทที่มาฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
ไม่ว่านางจะกล่าวร้ายอย่างไร ก็ทรงสงบนิ่ง เป็นสง่าเฉยอยู่ ด้วยความบริสุทธ์ใจ ครั้นที่ นางจิญจมาณวิกาเผลอขยับจนไม้หล่นพื้น ความจริงจึงปรากฏ ทำให้นางได้รับความอับอายและอดสู ถูกมหาชนขับไล่ ในชัยชนะครั้งนี้ เป็นการเอาชนะการถูกใส่ร้ายด้วยใจที่สงบนิ่งต่อคำด่า
ชัยชนะครั้งที่ 6 ครั้งที่ พระพุทธเจ้าทรงผจญกับนักบวชชื่อสัจจกนิครนถ์ผู้หลงตน โอ้อวดว่ามีความรู้มีปัญญามาก มุ่งมาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงเอาคำพูดของสัจจกะย้อนกลับไปซักถามสัจจกะ จนสัจจกะนิ่งอึ้งจนปัญญาด้วยถ้อยคำของตน ทรงเปรียบคำพูดของสัจจกะว่า หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้เลย
จากนั้นจึงสอนให้มองเห็นความจริงของชีวิตว่าเป็นของว่างเปล่าอย่างไร จนสัจจกะมีความเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์เป็นอันมาก เป็นการเอาชนะผู้โอ้อวดตนด้วยการใช้ปัญญาความรู้อย่างรู้แจ้ง
จากการที่ได้วิเคราะห์ ถึงชัยชนะทั้ง 8 ของพระพุทธองค์ ผมมีความเห็นว่าทุกการกระทำใดๆ ของท่านนั้นมีสิ่งที่สำคัญเหมือนกันในทุกชัยชนะคือ
สติถี่ถ้วนในทุกสถานการณ์ และมีปัญญาในการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นของธรรมชาติ มี Emotional Quotient(EQ) Intelligence Quotient(IQ) ควบคู่กันดั่ง ศาสตร์และศิลป์
ดังนั้นการพัฒนาตนเองเพื่อให้กลายเป็นผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่เราจึงต้องศึกษาในหลากหลายแนวทางเพื่อการบริหารงานที่ยั่งยืน.