ทูตสหรัฐ พบ ปชช. ริมแม่น้ำโขง รับฟังปัญหาสิ่งแวดล้อม-ชายแดนสามเหลี่ยมทองคำ

ทูตสหรัฐ พบ ปชช. ริมแม่น้ำโขง รับฟังปัญหาสิ่งแวดล้อม-ชายแดนสามเหลี่ยมทองคำ

ทูตสหรัฐ ลงพื้นที่เชียงรายพบปะประชาชนริมแม่น้ำโขง รับฟังปัญหาสิ่งแวดล้อม และชายแดนสามเหลี่ยมทองคำ

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นายโรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นางลิสา บูเจนนาส กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ได้เดินทางลงพื้นที่เชียงรายเป็นครั้งแรกโดยในวันที่ 30 พ.ค.66 พบกับ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และภาคประชาสังคม เพื่อหารือถึงความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ด้านการศึกษา การบังคับใช้กฎหมาย และหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) โดยมีวตถุประสงค์เพื่อ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่สหรัฐฯ มีต่อชุมชนในภาคเหนือของไทย ซึ่งมีความสำคัญและครอบคลุมหลากหลายประเด็นร่วมของสหรัฐฯ กับไทย  

โดยได้พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อหารือถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้พบเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของไทยเพื่อหารือถึงความร่วมมือทวิภาคีเพื่อต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ และตัวแทนภาคประชาสังคมเพื่อหารือถึงประเด็นความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง  และได้พบกับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษา และได้พบกับพลเมืองอเมริกันที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับคุณูปการต่าง ๆ ที่ชาวอเมริกันได้สร้างให้กับจังหวัดในภาคเหนือของไทย  จากนั้นได้เดินทางไปที่ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน  ภารกิจกู้ภัย 13 หมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง
 

โดยได้เดินทางไปที่บ้านหาดบ้าย เพื่อพบปะกับกลุ่มทอผ้าไทยลื้อ ที่สุขาวดีผ้าทอไทลื้อ เพื่อพบปะกับกลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันอนุรักษ์ผ้าทอไทยลื้อ ซึ่งจะมีการนำไปแสดงที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งผ้าที่จะนำไปแสดงจะเป็นลายเกี่ยวกับวิถีชีวิของชุมชนแม่น้ำโขง เช่น การหาปลา ปลูกพืช การล่องเรือ เป็นต้น  จากนั้นได้เดินทางไปที่ศาลาเอนกประสงค์ ของหมู่บ้านเพื่อพบปะกับภาคประชาสังคม โดยมีนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของ นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เพื่อรับฟังปัญหาแม่น้ำโขง 

นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า การพบปะกับทูตสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ในฐานะที่ได้ทำงานด้านประชาสังคมและพบเห็นปัญหาของแม่น้ำโขงจากผลกระทบของการพัฒนา โดยได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำโขง ซึ่งการพูดถึงปัญหาแม่น้ำโขง และการแก้ไขปัญหาไม่ใช่การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ แต่จะต้องเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้แม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงและกระทบกับวิถีของชาวบ้าน ส่วนการคุ้มครองสิทธิ์ของชาวบ้านจะต้องเป็นไปตามที่ชาวบ้านเสนอ ซึ่งถือเป็นสิทธิมนุษยชนของประชาชนลุ่มแม่น้ำโขง

 

หลังจากที่ได้รับฟังปัญหาจากชาวบ้านที่ผ่านมา 10 กว่าปี มีงานวิจัย รายงานทางวิชาการ ต่างๆ องค์กรเอกชน การวิเคราะห์ปัญหาขออง MRC ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง เกิดจากผลกระทบของการพัฒนาแม่น้ำโขงและการระเบิดแก่ง ซึ่งกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน หลังจากนี้ไปจะต้องมีการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่อยู่ลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ซึ่งเราได้เรียกร้องในสิ่งที่ไม่ใช่การช่วยเหลือ แต่เป็นความรับผิดชอบที่เกิดความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการต่างๆ หากจะเปรียบเทียบก็คือ ภัยพิบัติต่างๆ เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ แต่ผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่การช่วยเหลือ

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้วหรือ ครูตี๋  กล่าวว่า การพบปะครั้งนี้ข้อเสนอให้กับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวณ และผู้คนลุ่มแม่น้ำโขง สิ่งท่อยากนำเสนอก็คืออยากสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแม่น้ำโขงโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญของแม่น้ำโขง หรือของโลกใบนี้ ซึ่งอยากให้ทางสหรัฐอเมริกาได้รับรู้และช่วยส่งเสริมและสร้างศักยภาพของประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงให้เข้มแข็ง เพื่อให้การทำงานในแม่น้ำโขงถูกพัฒนาไปในทิศทางที่สมควรและถูกต้อง 

“สิ่งสำคัญในการทำงานของพวกเรายังไม่เท่าทันกับสถานการ์แม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นยังไม่ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงอยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสามารถสนับสนุนได้ ให้ความสนใจ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถานการณ์แม่น้ำโขงมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นเรื่ยๆ  ในการรีรอหรือว่าช้าเกินไปจะทำให้ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ อยากให้ทางกลุ่มทุนเข้าใจและให้ความช่วยเลหือให้ทันท่วงที ก็จะสามารถทำให้คนลุ่มแม่น้ำโขงสามารถปรับตัวอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้” ครูตี๋ กล่าว 

ทูตสหรัฐ พบ ปชช. ริมแม่น้ำโขง รับฟังปัญหาสิ่งแวดล้อม-ชายแดนสามเหลี่ยมทองคำ

นายโรเบิร์ด โกเดค กล่าวว่า ตนอยากเรียนรู้เรื่องต่างๆ วิถีวัฒนธรรม ซึ่งได้พบปะกับผู้คนมากมาย รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง เพื่อพูดคุยเรื่องการหยุดยั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ การค้าสัตว์ป่า เพื่อให้การบังคับใช้กฏหมายดียิ่งขึ้น และพบกับรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพื่อขยายความร่วมมือด้านการศึกษา โดยจะร่วมมือกันสนับสนุนให้นักศึกษาไทยไปศึกษาต่อสหรัฐฯ

“ผมได้ไปที่บ้านหาดบ้าย อยู่ริมโขง ได้ฟังประสบการณ์ของชาวบ้าน ได้พูดคุยกับผู้นำแถบนี้และเยาวชน รวมถึงนักกิจกรรมและคนทอผ้า เขาบอกว่าความเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงส่งผลกระทบต่อเขาอย่างไร จึงได้พูดถึงกรอบความร่วมมือหุ้นส่วนแม่โขงสหรัฐ เราอยากให้เสียงของผู้คนที่เกี่ยวกับความสูญเสียได้รับการสะท้อน ผมได้พบกับกลุ่มทอผ้าไทลื้อ ได้เห็นการสาธิตผ้าที่สวยงามเป็นงานขชิ้นโบแดงทางศิลปะ อยากให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่รู้จัก”เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ กล่าว
 
ในด้านมุมมองยุทธศาสตร์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นสนามแข่งขันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ นายโรเบิร์ด โกเดค กล่าวว่า พื้นที่แถบนี้มีความสำคัญยิ่ง ไม่ใช่แค่ไทย แต่ยังมีทั้งลาว จีน กัมพูชา เราควรช่วยกันปกป้องสิ่งแวดล้อม พัฒนาการจ้างงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต จึงเป็นหน้าที่ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับไทย เราพยายามช่วยเหลือผ่านสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯที่เชียงใหม่และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ 

เมื่อถามว่าสหรัฐฯมองพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำอย่างไร เพราะปัจจุบันจีนเข้ามามีอิทธิพลสูงมาก เอกอัครราชทูตสหรัฐฯกล่าวว่า ภาคเหนือมีความสำคัญ อยากเห็นภูมิภาคนี้รุ่งเรืองโดยเฉพาะบนแผ่นดินใหญ่ของไทย ที่สำคัญคืออยากให้เสียงของชุมชนสะท้อนให้ผู้เกี่ยวข้องได้ยิน เขาอยากเห็นอนาคตของแม่โขงเป็นอย่างไร อยากให้เขาได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริง ซึ่งสหรัฐฯพร้อมเป็นหุ้นส่วน

สำหรับแม่น้ำโขงที่กลายเป็นแหล่งพลังงานแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯมองเรื่องนี้ว่า แม่น้ำโขงมีความสำคัญที่ต้องหาแหล่งผลิตพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นความท้าทายระดับโลกโดยสหรัฐฯมีทางเลือกไว้มากมาย และมีโอกาสมากมายที่จะรับมือกับสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ผลิตพลังงานที่ฉลาดขึ้น

ด้านปัญหายาเสพติดและการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยรอบพื้นที่ประเทศไทย สหรัฐฯ มองว่า อาชญากรรมข้ามชาติไม่มีพรมแดน ดังนั้นการค้ายาเสพติดที่มาจากเมียนมาก็ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน ดังนั้นเราจึงต้องร่วมมือกัน โดยสหรัฐฯสนับสนุนเรื่องการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ไทยโดยมีงบประมาณหลายล้านเหรียญเพื่อช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์ต่างๆและมีการปฎิบัติการต่างๆเพื่อทลายองค์กรเหล่านี้ 

สหรัฐฯ เคยออกรายงานชัดเจนว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษคิงส์โรมันส์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำเป็นแหล่มบ่มเพาะอาชญากรรมข้ามชาติ แต่การที่สหรัฐฯเข้ามาสนับสนุนด้านต่างๆในไทยในขณะที่แหล่งบ่มเพาะอาชญากรรมยังอยู่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯกล่าวว่า หน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมายน่าจะให้คำตอบได้ดีที่สุด สหรัฐฯยินดีสนับสนุนข้อมูลในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์