ประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตน 4 กลุ่ม รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมา
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) ให้สิทธิผู้ประกันตน 4 กลุ่ม รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง (Plasma Rich Growth Factor (PRGF)) เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มผู้สูงวัย
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) ให้สิทธิผู้ประกันตน 4 กลุ่ม รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง (Plasma Rich Growth Factor (PRGF)) เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มผู้สูงวัย
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พร้อมมุ่งพัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค ทุกความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกันตนทุกช่วงวัยที่เจ็บป่วย แม้ว่าจะเป็นโรคที่ต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานานหรือมีค่าใช้จ่ายสูง
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง (Plasma Rich Growth Factor (PRGF)) ซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เป็นทางเลือกในการรักษาผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มผู้สูงวัย
ประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตน 4 กลุ่ม รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมา
โดยให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดพลาสมาคุณภาพสูง ซึ่งจะต้องได้รับการวินิจฉัยและประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีข้อบ่งชี้สำหรับการรักษา ได้แก่
- ผู้ป่วยมีภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะต้นและระยะปลายที่รักษาด้วยวิธีการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล
- ผู้ป่วยที่รับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัด และได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์แล้วอาการไม่ดีขึ้น
- ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาได้ เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนจากยา ระบบทางเดินอาหารและไต และมีโรคที่รับประทานยาแก้อักเสบไม่ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะอาหาร
- ผู้ป่วยต้องไม่มีพยาธิสภาพของโรคที่เป็นข้อห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงการฉีด (Contraindication) เป็นต้น
ทั้งนี้ : ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการได้ไม่เกิน 2 ครั้ง/ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการ
สำนักงานประกันสังคม มีสถานพยาบาลที่ทำความตกลง พร้อมให้บริการดูแลผู้ประกันตนโดยการใช้พลาสมาคุณภาพสูง (Plasma Rich Growth Factor (PRGF) และมีคุณสมบัติตามที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์กำหนด ซึ่งได้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 5 แห่ง คือ
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
- โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
- โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
- โรงพยาบาลลานนา