เตียมรับมือฝนปี 66 กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด

เตียมรับมือฝนปี 66 กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด

รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยา เตียมพร้อมรับมือฝนปี 66 อย่างใกล้ชิด เพื่อให้จัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้มากที่สุด

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ด-บางยี่หน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำสัญจร พร้อมลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66 ณ สถานีสูบน้ำสิงหนาท2 และประตูระบายน้ำคลองลากฆ้อน  โดยมี นายชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายยงยส เนียมทรัพย์  รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 พร้อมด้วยผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง  และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ

เตียมรับมือฝนปี 66 กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด
 

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า  จากการติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พบว่าปัจจุบัน (19 มิ.ย.66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 39,411 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 36,925 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,953 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ รวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 13,919 ล้าน ลบ.ม. 

เตียมรับมือฝนปี 66 กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด
 

ทั้งนี้ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนนี้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา และตรวจความพร้อมในการรับมือ โดยได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด  พร้อมติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด  นำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการบริหารจัดการน้ำ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว  และตรงเป้า สอดคล้องกับสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการเก็บกัก  พิจารณาปรับการระบายให้เหมาะสมโดยไม่กระทบต่อคุณภาพน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง พร้อมบูรณาการร่วมกับสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และสำนักเครื่องจักรกล  นำบทเรียนจากปีที่ผ่านมา มาวางแผนรับมือสถานการณ์น้ำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้มากที่สุด  

รวมทั้งตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทาน อาทิ ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ  ตลอดจนความพร้อมของเครื่องจักรเครื่องมือ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับรู้รับทราบอย่างต่อเนื่อง  รณรงค์ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน และเพียงพอสำหรับทุกกิจกรรมไปตลอดช่วงต้นฤดูฝนนี้

เตียมรับมือฝนปี 66 กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด