เทศบาลเมืองน่าน สืบทอดประเพณีโบราณ หล่อเทียนพรรษา
เทศบาลเมืองน่าน ร่วม 31 สืบทอดประเพณีโบราณหล่อเทียนพรรษา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้ร่วมหล่อเทียนพรรษา เนื่องในเทศกาลอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2566
วันนี้ (25 ก.ค. 66) ที่จังหวัดน่าน ณ มณฑลพิธีข่วงเมืองน่าน นายสุรพล เธียรสูตร นายเทศมนตรีเมืองน่าน นางอริสา บุญสม นายณกรณ์ ศิริรัตน์พิริยะ รองนายกเทศมนตรีเมืองน่าน พร้อมกับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองน่าน พร้อมกับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองน่าน ประธานชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน สืบทอดประเพณีโบราณหล่อเทียนพรรษา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้ร่วมหล่อเทียนพรรษา ตั้งแต่วันที่ 24 – 30 ก.ค. 66 นำไปถวายวัด พร้อมถวายผ้าอาบน้ำฝน ในเขตเทศบาลเมืองน่าน 26 วัด ในวันที่ 31 ก.ค. 66 เนื่องในเทศกาลอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ประจำปี 2566 โดย นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธาน พระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง ประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมด้วย นางสุดารัตน์ แววบัณฑิต นายกเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนหน่วยงานต่างๆร่วมพิธี
นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า เทศกาลแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2566 เทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับ 31 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองน่าน สืบทอดประเพณีโบราณหล่อเทียนพรรษาขึ้น เนื่องในเทศกาลอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ประจำปี 2566 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้ร่วมหล่อเทียนพรรษา ตั้งแต่วันที่ 24 – 30 ก.ค. 66 และในวันที่ 31 ก.ค. 66 จะได้นำเทียนพรรษาพร้อมถวายผ้าอาบน้ำฝนไปถวายยังวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองน่าน จำนวน 26 วัด ซึ่งการหล่อเทียนพรรษาเป็นกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชน ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณกาล จังหวัดน่าน ยังเป็นนครรัฐเล็กๆ เพื่อนำเทียนพรรษาไปถวายให้กับ พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องจำพรรษา อยู่ในวัดเป็นระยะเวลา 3 เดือน สืบทอดประเพณีโบราณหล่อเทียนพรรษา เป็นการร่วมแรง ร่วมใจ ทำให้เกิดความสามัคคีของพี่น้องประชาชนในชุมชน และสถานศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เทศบาลเมืองน่าน ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป
วันเข้าพรรษาถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยพระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝน มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ไม่ไปพักค้างแรมที่อื่น และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบคุณงามความดี ตามแนวทางของชาวพุทธโดยพุทธศาสนิกชน จะนำผ้าอาบน้ำฝน และเทียนไปถวายพระภิกษุ เพื่อนำไปจุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆเป็นพุทธบูชา การนำเทียนไปถวายจึงได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถือเป็นประเพณีพิธีหล่อเทียนพรรษาที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธา ความสามัคคีของชุมชน และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา ให้ธำรงอยู่ต่อไป
ประเพณีหล่อเทียนพรรษาของจังหวัดน่า สืบทอดกันมาตั้งแต่ เมืองน่านยังเป็นนครรัฐเล็ก ๆ เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายยังวัดต่าง ๆ ในชุมชุน ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา