กอนช. ชี้แนวโน้มฝนตกเพิ่มหลายพื้นที่ เร่งแผนเก็บกักน้ำให้มีประสิทธิภาพ

กอนช. ชี้แนวโน้มฝนตกเพิ่มหลายพื้นที่ เร่งแผนเก็บกักน้ำให้มีประสิทธิภาพ

กอนช. เผยแนวโน้มฝนตกเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ คาดพายุจะพาดผ่านไทย 1-2 ลูก กำชับทุกหน่วยงานปฏิบัติตาม 12 มาตร การรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด เขื่อนใหญ่รับน้ำได้อีกกว่า 35,000 ล้าน ลบ.ม. พร้อมเร่งจัดทำแผนรับมือเอลนีโญ ย้ำต้องกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด วอนงดทำนาต่อเนื่อง

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า แม้อิทธิพลของ"พายุตาลิม"จะผ่านประเทศไทยไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ยังจะทำให้มีฝนตกต่อเนื่อง

ซึ่งสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในปีนี้น่าจะสิ้นสุดลงแล้ว คงเหลือเพียงฝนตกน้อยในบางพื้นที่ ดังนั้น เกษตรกรในพื้นที่ดอนที่ชะลอการทำนาปีเพื่อรอฝน ขณะนี้สามารถทำนาปีได้แล้ว โดยตามแผนที่วางไว้นั้น จะปลูกข้าวนาปีทั่วประเทศทั้งสิ้น 16.98 ล้านไร่ ขณะนี้ปลูกไปแล้ว 12.54 ล้านไร่ เหลืออีกประมาณ 4.44 ล้านไร่  

กอนช. ชี้แนวโน้มฝนตกเพิ่มหลายพื้นที่ เร่งแผนเก็บกักน้ำให้มีประสิทธิภาพ

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่ได้มีการปลูกข้าวนาปีไปก่อนหน้านี้แล้ว และจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 นี้ กอนช.ขอความร่วมมือให้งดทำนาต่อเนื่อง  เพราะอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่สำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2566/67 ได้  เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2567 จะทำให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ  ซึ่งที่ผ่านมาฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 24% ดังนั้น จะต้องการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้รอบคอบ และใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

กอนช. ชี้แนวโน้มฝนตกเพิ่มหลายพื้นที่ เร่งแผนเก็บกักน้ำให้มีประสิทธิภาพ

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่

ขณะนี้ปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้าเริ่มมากกว่าปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนแล้ว ล่าสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 มีปริมาณรวมกันทั่วประเทศ จำนวน 35,890 ล้านลูกบากศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 51 ของปริมาณการกักเก็บ

  • ปริมาณน้ำใช้การได้ 12,253 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณน้ำที่ใช้การได้ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 จำนวน 3,570 ล้าน ลบ.ม.
  • ปริมาณนํ้าไหลลงอ่างฯ จำนวน 168.53  ล้าน ลบ.ม.
  • ปริมาณการระบายน้ำออกอยู่ที่ 89.40  ล้าน ลบ.ม. 

คาดว่าหลังจากสิ้นสุดฤดูฝน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่รวมกันทั่วประเทศจะมีประมาณ 55,046 ล้าน ลบ.ม. เป็นปริมาณน้ำที่ใช้การได้ประมาเณ 31,504 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2565 ประมาณ 4,358 ล้าน ลบ.ม. 

กอนช. ชี้แนวโน้มฝนตกเพิ่มหลายพื้นที่ เร่งแผนเก็บกักน้ำให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ฝนจะตกเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีจะพายุที่พาดผ่านประเทศไทยอีก 1-2 ลูก ซึ่งจะทำให้แหล่งน้ำต่างๆ กักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ ยังสามารถรับนํ้าได้อีกมากกว่า 38,153 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ กอนช.ได้สั่งการให้หน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และที่สำคัญจะต้องกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด  พร้อมทั้งให้จัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการน้ำรายงานให้ กอนช. รับทราบโดยเร็ว นอกจากนี้ยังให้ทุกหน่วยงานภายใต้ กอนช. ขับเคลื่อนสร้างการรับรู้และรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด พร้อมขอความร่วมมือจากเกษตรกร กักเก็บน้ำไว้ในแหล่งเก็บน้ำของตนเองให้ได้มากที่สุด  เพื่อที่จะมีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งปี 2566/67 อย่างเพียงพอกับความต้องการ 

 “แม้ปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้น จะทำให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ แต่อาจมีบางพื้นที่ที่ฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ กอนช.ได้สั่งการให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัยและดินถล่ม เตรียมความพร้อมเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ประจำในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย