สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ

สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ

กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์ลำน้ำมูล จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง คาดเข้าสู่สภาวะปกติในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน นี้

วันนี้ (16 ต.ค. 66) กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสถานการณ์ลุ่มน้ำชี ปริมาณน้ำในลำน้ำตอนบนเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เขื่อนชนบท เขื่อนมหาสารคาม เขื่อนวังยาง เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร เขื่อนธาตุน้อย มีการยกบานประตูระบายพ้นน้ำทั้ง 6 เขื่อน ในส่วนของเขื่อนลำปาวมีปริมาณน้ำ 2,066 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 104% ของความจุฯอ่าง กรมชลประทานได้พิจารณาปรับลดการระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ในส่วนปริมาณน้ำในลำน้ำยัง มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน ระดับน้ำบริเวณสถานีวัดน้ำ E.92 อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.25 เมตร มีแนวโน้มลดลง สำหรับลุ่มน้ำชีตอนล่างบริเวณ จ.ยโสธร  ยังคงมีน้ำล้นตลิ่งของแม่น้ำชีที่ อ.เมืองยโสธร และ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร แนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้น

สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ

สำหรับลุ่มน้ำมูล ปัจจุบันเขื่อนระบายน้ำมูล 4 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนพิมาย เขื่อนชุมพวง เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา ช่วยหน่วงน้ำที่จะไหลลงสู่ลำน้ำมูลตอนล่าง โดยเปิดบานระบายน้ำตามความเหมาะสมกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากแม่น้ำชี ซึ่งจะลดผลกระทบกับแม่น้ำมูลที่ จ.อุบลราชธานี โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลที่ระบายท้ายเขื่อนหัวนา 1,188 ลบ.ม./วินาที สถานีวัดน้ำ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,808 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง ในส่วนของเขื่อนลำเซบาย ลำเซบก และเขื่อนปากมูล ได้ยกบานประตูระบายน้ำพ้นน้ำ

สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ
 

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีระดับน้ำจะกลับสู่ตลิ่งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตามกรมชลประทาน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ เร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงพร้อมกับเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ สรุปสถานการณ์น้ำมูล จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลง คาดต้น พ.ย. เข้าสู่สภาวะปกติ