สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ธ.ค. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ธ.ค. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ธ.ค. 66 ยังคงมีน้ำท่วมขัง 4 จังหวัดภาคใต้ ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,458 ครัวเรือน พร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 8 แห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ธ.ค. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนบางแห่งกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ วันที่ 5 ธ.ค. 66 ความกดอากาศสูงปานกลาง ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และมีฝนบางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 3.ธ.ค. 66 น้อยกว่า ปี 65 จำนวน 4,078 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,695 ล้าน ลบ.ม. (77%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,489 ล้าน ลบ.ม. (68%)

การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 8 แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว 
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ 

ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุด 4 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา
  • ภาคกลาง : กระเสียว
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ

1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  

2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและ
ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

สถานการณ์อุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 จังหวัด (นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส) 
รวม 14 อำเภอ 62 ตำบล 313 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,458 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

 

สทนช.ประกาศ ฉบับที่ 6/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 3 – 8 ธ.ค. 66 ดังนี้

1. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณ

  • จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย)
  • จ.ชุมพร (อ.สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และพะโต๊ะ)
  • จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองสุราษฎร์ธานี พุนพิน เคียนซา พระแสง และดอนสัก)
  • จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ห้วยยอด และวังวิเศษ)
  • จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง และควนขนุน)
  • จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา พระพรหม ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร)
  • จ.สงขลา (อ.เมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร ควนเนียง หาดใหญ่ นาหม่อม และบางกล่ำ)
  • จ.ปัตตานี (อ.เมืองปัตตานี ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก)
  • จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา เบตง และรามัน)
  • จ.นราธิวาส (อ.เมืองนราธิวาส เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี)  

2.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม

 3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 66  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มอบนโยบายในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเน้นปัญหาจากสภาวะเอลนีโญจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีนี้จนถึงปีหน้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องเร่งขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาแหล่งน้ำและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชน ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร และการใช้น้ำในกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างรอบคอบและมีแผนเตรียมการรองรับอย่างเคร่งครัด