กรมชลประทาน จ่อขยายพื้นที่ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ชูขาย 'คาร์บอนเครดิต'

กรมชลประทาน จ่อขยายพื้นที่ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ชูขาย 'คาร์บอนเครดิต'

กรมชลประทาน ร่วม Thaicid เตรียมขยายพื้นที่ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ชูขาย “คาร์บอนเครดิต” สร้างรายได้เสริม

วันนี้ (9 เม.ย. 67) ที่ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท  ดร.วัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมชลประทาน (ประธาน Thaicid) ให้เป็นประธานการประชุมแนวทางการขยายพื้นที่การทำนาเปียกสลับแห้งและขายคาร์บอนเครดิตในนาข้าวอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านทางระบบ Zoom Meeting ID ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยมี นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายรองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก พร้อมด้วย นายวัชระ ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 รศ.ดร.วราวุธ วุฒิวณิชย์ ที่ปรึกษาโครงการ Water Ordering และหัวหน้าโครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ IrriSAT และ IWASAM ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ หัวหน้าโครงการวิจัยการประเมิน GDP โครงการชลประทาน นายบุญฤทธิ์ หอมจันทร์ รองประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน ฝั่งซ้ายสามัคคี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบรมธาตุ ประธาน JMC โครงการฯ กระเสียวและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและบรรยายแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนนำคณะลงพื้นที่แปลงนาจุดทำการวิจัยฯ และขยายผล ตามนโยบายประธานคณะแก้ไขปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมซ้ำซาก (ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า)ในครั้งนี้ด้วย 

กรมชลประทาน จ่อขยายพื้นที่ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ชูขาย \'คาร์บอนเครดิต\'

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน เตรียมขยายผลการทำนาแบบใช้น้ำน้อยหรือ"การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง' ซึ่งเป็นผลงานที่กรมชลประทาน ได้วิจัยและนำเสนอต่อที่ประชุมชลประทานโลกครั้งที่ 2 และได้รับรางวัล WatSave Awards ในปี 2559 นำไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทยและของโลก โดยแนวทางการส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้งเป็นการประหยัดน้ำและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่นำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตร 

กรมชลประทาน จ่อขยายพื้นที่ทำนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ชูขาย \'คาร์บอนเครดิต\'
 

โดยนำเอาความรู้และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร หรือที่เรียกว่า "ทำน้อย แต่ได้มาก" ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถลดการใช้น้ำ ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรได้อีกด้วย