ไขคำตอบ! ใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ยึดเขตอำเภอทะเบียนบ้าน คนไกลบ้าน ทำยังไง?
คลัง เพิ่มทางเลือก ใช้เงินดิจิทัล 10000 บาท เหตุการใช้จ่ายยึดขอบเขตอำเภอที่อยู่ในทะเบียนบ้าน สำหรับคนบ้านไกล ทำอย่างไร เช้กราลละเอียด
อัปเดตความคืบหน้าล่าสุด "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" กรณีที่ประชาชนบางรายเกิดความกังวลถึง"เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล"ยึดขอบเขตอำเภอที่อยู่ในทะเบียนบ้าน หากต้องการย้ายทะเบียนบ้าน หรืออยากเปลี่ยนที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน สามารถทำได้หรือไม่ และมีโอกาสที่จะถูกตัดสิทธิ์ร่วมดิจิทัลวอลเล็ตหรือเปล่า
ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ ประชาชนที่ต้องการย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้านสามารถทำได้ก่อนที่จะถึงวันลงทะเบียนเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ผ่านดิจิทวอลเล็ต เพราะเมื่อมีการลงทะเบียนแล้วจะไม่สามารถย้ายได้อีก
สำหรับการเข้าร่วมโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มคนเก่า เคยยืนยันตัวตน ไม่ต้องเริ่มต้นยืนยันตัวตนซ้ำ ให้กดรับสิทธิ์เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ เท่านั้น โดยรัฐบาลจะดึงฐานข้อมูลของรัฐเดิมมาใช้ในระบบใหม่
- กลุ่มคนใหม่ ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐมาก่อน ต้องลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท และยืนยันตัวตน ถึงจะได้รับสิทธิ์
ส่วนการยืนยันตัวตน ผู้มีสิทธิ์ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทางรัฐ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและยืนยันตัวตน โดยจะมีการตรวจสอบสิทธิ์ต่างๆ ทั้งบัญชีเงินฝาก, อายุ รวมถึงรายได้ เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วให้กดยืนยันสิทธิ์เพื่อร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
หลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด
- จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 67
- เงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท นับเฉพาะเงินฝากสกุลบาทรวมกันทุกบัญชี ทั้งธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (บัญชีเงินฝากประจำ, บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัตรเงินฝาก, ใบรับเงินฝาก, เงินฝากกระแสรายวัน) ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์ และสลากออมสิน เป็นต้น นับยอดบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 31 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา
- เกณฑ์รายได้วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 66 กำหนดว่าจะต้องไม่เกิน 840,000 บาท
เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- ระหว่างประชาชนกับร้านค้า
ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก
- ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า
ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า
วิธีย้ายทะเบียนบ้านออนไลน์ผ่านแอปฯ Thai ID
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thai ID
- ลงทะเบียนยืนยันตัวตนสำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก
- เลือก "การแจ้งย้ายที่อยู่"
- ระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชน "เจ้าของบ้าน" ที่จะย้ายเข้า
- ส่งข้อความให้เจ้าบ้านทำการยืนยันตัวตนและให้ความยินยอม
- เมื่อเจ้าบ้านยินยอม คำขอจะถูกส่งไปยังนายทะเบียนของอำเภอ/เขตที่แจ้งย้าย
- นายทะเบียนดำเนินการอนุมัติ
- แจ้งผลทาง SMS ให้ผู้แจ้งย้าย-เจ้าบ้าน