เช็กพื้นที่เสี่ยง พายุเข้า-ไฟดับ 11จุด ลากยาว 8 ชั่วโมงเต็มๆ กระทบคนกรุงเทพ
คนกรุงเทพ เตรียมพร้อมรับมือ กระทบ 2 ต่อ พายุเข้า ฝนตกหนัก แถม "ไฟดับ" 11 จุดทั่วกรุงเทพ ลากยาว 8 ชั่วโมงเต็มๆ หลัง กฟน. แจ้งดับไฟ ชวนวางแผนชีวิต เช็กพื้นที่เสี่ยงด่วน
ประชาชน คนกรุงเทพ เตรียมพร้อมรับมือให้ดี วางแผนชีวิต กระทบ 2 ต่อแน่ บอกเลยจุกๆ ทั้งพายุเข้าคืนนี้ ฝนตกหนักแถม "ไฟดับ" 11 จุดทั่วกรุงเทพ ลากยาว 8 ชั่วโมงเต็มๆ เช็กพื้นที่เสี่ยงด่วน
การไฟฟ้านครหลวง "กฟน." ได้ประกาศว่ามีความจำเป็นต้อง "ดับไฟ" ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 1 มิถุนายน 2567 เพื่อพัฒนาหรือบำรุงรักษาระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
กฟน. งดจ่ายกระแสไฟเป็นการชั่วคราว 11 พื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ เช็กเวลาดับไฟเลย
"ไฟดับ"พื้นที่กรุงเทพมหานคร
- ถนนสะแกงาม ซอยสะแกงาม 37 (ดับตลอด) เวลา 08:30น. - 15:30น.
- ถนนพัฒนาการ ตั้งแต่ แยกทางด่วนฉลองรัตน์ ถึง ซอยพัฒนาการ 13 เวลา 08:30น. - 15:30น.
- ถนนสุขาภิบาล 5 ซอยสุขาภิบาล 5 ซ.94 เวลา 08:30น. - 14:00น.
- ถนนจตุโชติ ซอยจตุโชติ 15 เวลา 10:30น. - 14:30น.
- ถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 35 เวลา 08:30น. - 14:00น.
- ริมถนนเจริญกรุง บริเวณ ปากซอย เจริญกรุง ถึง แยกทรงวาด (วงเวียนหุ่นยนต์) เวลา 08:00น. - 14:00น.
"ไฟดับ" พื้นที่สมุทรปราการ
- ถนนเลียบคลองสรรพสามิต บริเวณวัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) และโรงเรียนวัดแหลมฟ้าผ่า เวลา 08:30น. - 15:30น.
- ถนนคลองลาดกระบังและเทวะคลองตรง ผู้รับจ้างปักย้ายเสาไฟฟ้าในคลอง ซอย เวลา 08:30น. - 17:00น.
"ไฟดับ"พื้นที่นนทบุรี
- ริมถนนเลียบคลองตาคล้าย บริเวณ หลังวัดคลองตาคล้าย เวลา 08:30น. - 16:30น.
- ริมถนนจันทร์ทองเอี่ยม 08:30น. - 14:30น.
- ถนนราชพฤกษ์ ซอยร่วมใจพัฒนา เวลา 08:30น. - 15:30น.
ทั้งนี้หากประชาชนมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง หรือ โทร.1130
ทั้งนี้คนกรุงเทพฯ เตรียมรับผลกระทบอีกต่อหนึ่ง เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศฉบับที่ 1 พายุดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน "พายุเข้าคืนนี้" ฝนตกหนัก 31 พฤษภาคม 2567 กำลังทวีกำลังแรงขึ้นเป็น "พายุโซนร้อน" เตือนประชาชนเตรียมรับมือ วางแผนเดินทาง ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง
เช็กสภาพอากาศวันนี้ อ่านประกาศ กรมอุตุฯ เตือน ฉ.1 "พายุเข้าคืนนี้" พายุดีเปรสชัน รุนแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อน (คลิก)
อ้างอิง-ภาพ : การไฟฟ้านครหลวง , กรมอุตุนิยมวิทยา