ทั่วไป
ข้อมูลส่วนตัวเก็บยังไง ยืนยันตัวตนเข้าระบบ ข้อมูลหลุดมิจฉาชีพ มีเสียเงิน
ข้อมูลส่วนตัวเก็บยังไง ให้ปลอดภัย ใช้ยืนยันตัวตนเข้าระบบสำคัญ "เลขบัตรประชาชน - วันเดือนปีเกิด - เบอร์โทรศัพท์ - รหัสผ่าน" ข้อมูลหลุดเสี่ยงคนโกง มิจฉาชีพสวมรอยทำธุรกรรม เสียเงินเปล่า
สังคมมิจฉาชีพ คนโกงผุดขึ้นรายวัน ทุกย่างก้าวของประชาชนทำธุรกรรมการเงินต้องระวังพิเศษ "ข้อมูลส่วนตัว"เก็บยังไงดี ให้ปลอดภัย ใช้ยืนยันตัวตนเข้าระบบสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรประชาชน - วันเดือนปีเกิด - เบอร์โทรศัพท์ - รหัสผ่าน ข้อมูลหลุดเสี่ยงมิจฉาชีพสวมรอยทำธุรกรรม เสียเงินเปล่าหลายแสน ป้องกันไว้ก่อนอาจสายเกินแก้
ธนาคารแห่งประเทศไทย แจ้งเตือนภัยผ่าน "สตางค์ Story" ระบุว่า หวงข้อมูลส่วนตัวไว้ ลดความเสียหายจากมิจฉาชีพได้
ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ รหัสผ่าน หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถใช้ยืนยันและระบุตัวตน เพราะหากมิจฉาชีพใช้ข้อมูลเหล่านั้นสวมรอยเป็นเรา และทำธุรกรรม ล้วนทำให้เกิดความเสียหายกับเราได้แน่นอน
เรื่องประชาชนต้องรู้ ปกป้องข้อมูลส่วนตัว เสี่ยงมิจฉาชีพสวมรอยทำธุรกรรม
- ไม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เบอร์โทร ลงบนโลกออนไลน์
- ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก ไม่ให้ซ้ำและหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เสมอ หรือตั้งรหัสผ่านผสมตัวอักษร ตัวเลขให้คาดเดายากยิ่งขึ้น
- ไม่บันทึก ข้อมูลเลขบัตรเครดิต หรือผูกบัญชีธนาคารกับเว็บไซต์และแอปต่าง ๆ ป้องกันคนอื่นเข้าสู่ระบบเราได้
- ออกจากระบบทุกครั้งที่เสร็จการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกันผู้อื่น
- ระวังอีเมลที่มีลิงก์หลอกลวง โดยหลอกให้กดลิงก์ ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หากไม่แน่ใจต้องเช็กกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ถูกแอบอ้างก่อน เพื่อความมั่นใจไม่ให้โดนหลอก โดนโกง
อ้างอิง : สตางค์ Story , ธนาคารแห่งประเทศไทย