ทุ่งหญ้าคา ดราม่าเขาใหญ่ เที่ยวต้องรู้! ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญสัตว์ป่า?

ทุ่งหญ้าคา ดราม่าเขาใหญ่ เที่ยวต้องรู้! ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญสัตว์ป่า?

เปิด 4 ข้อต้องรู้ ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญต่อสัตว์ป่าอย่างไร? ปมดราม่าเขาใหญ่ "ทุ่งหญ้าคา" ดอกขาวบานสะพรั่ง จุดแลนด์มาร์ค จุดเช็คอินยอดฮิต ถ่ายภาพ ถ่ายพรีเวดดิ้งตามสบาย แต่มีบางคนไม่สนใจป้ายห้ามเตือน เดินลงโป่งอยู่ดี แนะจุดสังเกตพื้นที่ของสัตว์ป่าไม่ทำลายระบบนิเวศ

สายท่องเที่ยวมาทางนี้ เปิด 4 ข้อต้องรู้ ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญต่อสัตว์ป่าอย่างไร? ปมดราม่าเขาใหญ่ "ทุ่งหญ้าคา" จุดแลนด์มาร์ค จุดเช็คอินยอดฮิต ถ่ายภาพ ถ่ายพรีเวดดิ้งตามสบาย แต่มีบางคนไม่สนใจป้ายห้ามเตือนเดินลงโป่งอยู่ดี แนะจุดสังเกตพื้นที่สัตว์ป่าไม่ทำลายระบบนิเวศ ความปลอดภัยต่อชีวิต

เรียกได้ว่าเป็น "ดราม่าเขาใหญ่" เลยก็ว่าได้สำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติช่วงนี้ "ทุ่งหญ้าคา" ดอกขาวกำลังบานสะพรั่งทั่วพื้นที่ทางเข้าหอดูสัตว์หนองผักชี บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จุดแลนด์มาร์ค จุดเช็คอินยอดฮิต ทั้งถ่ายภาพ ถ่ายพรีเวดดิ้งก็ฟินไปตามๆกัน 

แต่ก็มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งเดินรุกล้ำเข้าไปในบริเวณพื้นที่โป่ง ของสัตว์ป่า โดยมีป้ายเตือนชัดเจนว่า "ห้ามเดินลงโป่ง" Do not walkinto salt lick แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่สนใจป้ายห้ามเตือน ยังเดินไปยังพื้นที่โป่งอยู่ดี จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลอยู่ในขณะนี้

 

ทุ่งหญ้าคา ดราม่าเขาใหญ่ เที่ยวต้องรู้! ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญสัตว์ป่า?

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พามาเปิด 4 ข้อต้องรู้ ทำไมห้ามเดินลงโป่ง แล้วโป่งมีสำคัญต่อสัตว์ป่าอย่างไรบ้าง?

1.) โป่ง เป็นแหล่งแร่ธาตุเสริมสำหรับสัตว์ป่า 

เปรียบเสมือนห้องครัวที่มีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของสัตว์ป่า สัตว์ป่าจึงต้องการอาหารที่มีคุณภาพและสะอาดเช่นกัน จึงไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ลงไปปนเปื้อนหรือมีกลิ่นใด ๆ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์ป่า ไม่ลงมาใช้บริการพื้นที่โป่ง และยังเป็นแหล่งชุกชุมของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด

2.) กลิ่นตัว หรือกลิ่นน้ำหอมของมนุษย์ 

นักท่องเที่ยวเดินลงไปติดอยู่ที่ดินโป่ง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สัตว์ป่าไม่ลงมาใช้พื้นที่โป่ง จากกรณีช้างป่างาหักที่ผ่านมา นักวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงมาจากการที่ช้างป่าไม่ลงมากินดินโป่ง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพงาของช้างป่าและสัตว์ป่าอื่น ๆ เป็นอย่างมาก

3.) การเดินเข้าไปรบกวนบริเวณพื้นที่โป่ง เป็นพาหะของการแพร่กระจายเชื้อโรคจากสัตว์ป่าสู่คนหรือจากคนสู่สัตว์ป่า 

4.) พื้นที่โป่งคือพื้นที่ที่สัตว์ป่าลงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวอาจได้รับอันตรายได้

จุดสังเกต "โป่ง" พื้นที่ของสัตว์ป่า

  • โป่ง คือ ลักษณะเนินเตี้ย หรือหย่อมดินโล่งที่มีดินสีแดง พบร่องรอยของสัตว์ป่าเข้ามาขุดกิน
  • ระยะปลอดภัยของโป่ง คือ พื้นที่ริมขอบถนน ที่อยู่รอบนอกพื้นที่โป่งและทุ่งหญ้าทั้งหมด และห้ามนักท่องเที่ยวเดินลงโป่งและทุ่งหญ้าบริเวณรอบโป่งเด็ดขาด
  • เพื่อความปลอดภัยของสัตว์ป่า พื้นที่โป่ง เป็นแหล่งแร่ธาตุเสริมสำหรับสัตว์ป่า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ของสัตว์ป่า สัตว์ป่าจึงต้องการอาหารที่มีคุณภาพ และสะอาดเช่นกัน จึงไม่ควรมีกลิ่น หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ลงไปปนเปื้อน
  • เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โป่งคือพื้นที่ของสัตว์ป่า ซึ่งอาจมีสัตว์ป่าเดินลงมาใช้หรือซุ่มอยู่ในทุ่งหญ้า และอาจเป็นพาหะของการแพร่กระจายเชื้อโรคจากสัตว์ป่าสู่คนหรือจากคนสู่สัตว์ป่า

 

ทุ่งหญ้าคา ดราม่าเขาใหญ่ เที่ยวต้องรู้! ทำไมห้ามเดินลงโป่ง สำคัญสัตว์ป่า?

 

มนุษย์ยังมีระยะห่าง สัตว์ป่าก็ต้องการระยะห่างด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะพื้นที่โป่งที่ไหน หากพบเห็นหย่อมดินโล่งสีแดง มีร่องรอยการขุดกินจากสัตว์ป่า ห้ามลงไปในพื้นที่โป่งทุ่งหญ้าและบริเวณโดยรอบเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และสุขภาพของนักท่องเที่ยว ที่เราคำนึงถึงเป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวทุกท่าน ห้ามเดินลงไปบริเวณพื้นที่โป่งและบริเวณทุ่งหญ้ารอบโป่งเด็ดขาด เพื่ออาหารที่มีคุณภาพของสัตว์ป่า และโอกาสที่นักท่องเที่ยวทุกท่านจะได้ชื่นชมสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบและป้ายแจ้งเตือนของอุทยานแห่งชาติอย่างเคร่งครัด เพื่อความสุขของคน และเพื่อสุขภาพที่ดีของสัตว์ป่า ให้พวกเขาอยู่กับเราไปอีกนาน 

ภาพ : กลุ่มเขาใหญ่ เที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ Khaoyai National Park , Buppatong Sanan ,นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน (หมอล็อต) นายสัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติฯ , นางสาวรัชนี โชคเจริญ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่