'อ.ธรณ์' มีคำตอบ 'ปลาหมอคางดำ' อันตรายแค่ไหน กำจัดได้หรือไม่

'อ.ธรณ์' มีคำตอบ 'ปลาหมอคางดำ' อันตรายแค่ไหน กำจัดได้หรือไม่

'ปลาหมอคางดำ' อันตรายแค่ไหน กำจัดได้หรือไม่ "อ.ธรณ์" ชี้ สิ่งที่ต้องทำคือ ควบคุมการระบาดให้มากที่สุด รวมทั้งลดผลกระทบทั้งต่อแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบนิเวศ

วันนี้ (16 ก.ค. 67) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการกำจัดปลาหมอคางดำซึ่งเป็น Alien Species โดยระบุว่า เมื่อสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นเข้าไปอยู่ในธรรมชาติถึงระดับหนึ่งแล้ว การจัดการให้หมดเป็นเรื่องที่เป็นไปแทบไม่ได้ พร้อมยกตัวอย่างปลาซักเกอร์ที่ยังมีอยู่ในแหล่งน้ำของไทยหรือปลาช่อนในสหรัฐอเมริกา

การจัดการด้านพื้นที่คือ คุมการระบาดให้มากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่เป็นเขต 3 เขตได้แก่ เขตหลักคือ อ่าวไทย ตัวก.เขตรองซึ่งพบการระบาดเป็นพื้นที่ๆ กระจายออกไปทั้งในแผ่นดินและในทะเล และเขตที่ปลายากไปถึง เช่น เกาะต่างๆ แหล่งน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกับแหล่งอื่น

สำหรับเขตหลักต้องเน้นการลดจำนวนปลาหมอ เขตรองต้องคุมไม่ให้ขยายออกไปข้างๆ เพิ่มขึ้น ส่วนเขตไม่มีปลาไปถึงตามธรรมชาติต้องคุมไว้ให้ได้
 

เมื่อการกำจัดการปลาหมอคางดำให้หมดเป็นไปได้ยากนั้น จึงต้องพยายามลดผลกระทบให้มากสุดทั้งต่อระบบนิเวศ รวมถึงการประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทำประมงเนื่องจากปลาหมอคางดำที่เข้าไปในระบบนิเวศจะกินสัตว์น้ำอื่นส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างรุนแรง เมื่อเข้าไปแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะไปกินสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง หากเข้าไปในแหล่งประมง ทำให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจหายไป ชาวประมงพื้นบ้านจับได้แต่ปลาหมอราคาต่ำโดยในการลดจำนวนปลาหมอคางดำคือ จับเท่าที่ทำได้แล้วนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น เป็นอาหารคน อาหารสัตว์ โดยคณะประมงคิดค้นเมนูกู้แหล่งน้ำทั้งปรุงสดและผลิตภัณฑ์ โดยต้องหาแนวทางนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ อีก
 

นอกจากนี้ยังมีวิธีการส่งผู้ล่าลงไปจัดการ โดยผู้ล่าต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่ เป็นปลาท้องถิ่น มีประโยชน์ และหาได้ในจำนวนมาก ทั้งนี้จะไม่ส่งสัตว์น้ำต่างถิ่นไปกินสัตว์น้ำต่างถิ่นเพราะอาจเกิดปัญหารุนแรงขึ้น ประเด็นมีประโยชน์หมายถึง ต่อให้ไม่กินปลาหมอคางดำหรือกินได้ไม่เยอะ คนก็ยังจับมากินมาขายได้ ส่วนเรื่องหาได้เยอะหมายถึง ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาได้มากพอซึ่งอาจเป็นที่มาของปล่อยปลากะพงกินปลาหมอคางดำเพราะปลากะพงขาวมีคุณสมบัติครบ

สำหรับเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมเช่น จะกินปลาอื่นไหม กินปลาหมอคางดำได้แค่ไหน ปลาผู้ล่าต้องไหนถึงเหมาะ จำนวนปลาหมอคางดำหนาแน่นแค่ไหนจึงสมควรปล่อยปลาผู้ล่า การปล่อยปลาจึงต้องระมัดระวังผลกระทบข้างเคียงและศึกษาพื้นที่ให้แน่ชัดว่า จะควบคุมได้ซึ่ง ถึงขั้นนี้ต้องยอมรับว่า ต้องหาทางอยู่ร่วมกับปลาหมอคางดำต่อไป และพยายามลดความเสียหายให้มากที่สุด