เผยโฉม ความลับธรรมชาติ เบบี้เห็ดถ้วยขนยาว คล้ายถ้วยแชมเปญ สีสันป่าฤดูฝน
เผยโฉม ความลับธรรมชาติ เบบี้ "เห็ดถ้วยขนยาว" คล้ายถ้วยแชมเปญ เห็ดแชมเปญ สีสันป่าฤดูฝน แห่งอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าสลายไป และเกิดการหมุนเวียนของแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ครบเป็นวัฏจักร
สวยงามสีสันสวยสดใส เผยโฉม ความลับธรรมชาติ เบบี้ "เห็ดถ้วยขนยาว" คล้ายถ้วยแชมเปญ เห็ดแชมเปญ สีสันป่าฤดูฝน แห่งอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าสลายไป และเกิดการหมุนเวียนของแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ครบเป็นวัฏจักร
เห็ดถ้วยขนยาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝘾𝙤𝙤𝙠𝙚𝙞𝙣𝙖 𝙩𝙧𝙞𝙘𝙝𝙤𝙡𝙤𝙢𝙖 อยู่ในไฟลัมแอสโคไมโคตา (phylum Ascomycota)
เป็นเห็ดที่มีหมวกเป็นรูปทรงกรวย (คล้ายถ้วยแชมเปญ) มีสีส้ม ส้มเข้ม หรือสีชมพู และมีขนสีขาวอยู่เต็มทั่วผิวดอก ก้านเป็นรูปทรงกระบอกยึดติดเป็นแผ่นเดียวกับหมวก มักพบเจริญอยู่บนขอนไม้หรือกิ่งไม้ที่ตายแล้ว
เผยโฉม ความลับธรรมชาติ "เห็ดถ้วยขนยาว"
บทบาทและคุณค่าในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเห็ดรา มีความสำคัญไม่น้อยในระบบนิเวศ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย (saprophyte) ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าสลายไป
และเกิดการหมุนเวียนของแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ ครบเป็นวัฏจักร และนำกลับมาใช้ใหม่ในระบบนิเวศ ไม่สูญหายไปไหน
อ้างอิง-ภาพ : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ Khaolak-Lamru National Park , สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) , Sarawut Plongnui