ชาวเน็ตแห่ทวงสัญญานายกฯ ปมคุม 'บุหรี่ไฟฟ้า' ถูกกฎหมาย หวั่นไม่รักษาคำพูด

ชาวเน็ตแห่ทวงสัญญานายกฯ ปมคุม 'บุหรี่ไฟฟ้า' ถูกกฎหมาย หวั่นไม่รักษาคำพูด

'เพจมนุษย์ควัน' ยกคอมเมนต์โลกออนไลน์ แห่ทวงสัญญา 'นายกฯ' หลังเคยหาเสียงจะคุม 'บุหรี่ไฟฟ้า' ถูกกฎหมาย หวั่นพรรคเพื่อไทยไม่รักษาคำพูด

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2567 นายสาริษฏ์ สิทธิเสรีชน เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ “มนุษย์ควัน” ที่มีผู้ติดตามกว่า 2.6 หมื่นคน เปิดเผยถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์เกี่ยวกับโทษและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าลงในแพลตฟอร์ม X (@Thavisin) และเฟซบุ๊กเพจ เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมาว่า ประเด็นดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายในสังคม โดยมีผู้แสดงความไม่เห็นด้วยในหลายประเด็นจำนวนมาก และออกมาตอบโต้ ซึ่งเป็นความเห็นที่มีประโยชน์จากประชาชนที่นายกฯควรรับฟังและนำมาพิจารณา และมีอีกนับร้อยแห่คอมเม้นทวงสัญญา “สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า” ที่นายเศรษฐาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ในช่วงหาเสียงของพรรคเพื่อไทย พร้อมชี้นายกฯควรเร่งออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบ

ชาวเน็ตแห่ทวงสัญญานายกฯ ปมคุม \'บุหรี่ไฟฟ้า\' ถูกกฎหมาย หวั่นไม่รักษาคำพูด

นายสาริษฏ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังและทวีความรุนแรงมานับทศวรรษ ส่วนตัวตนคิดว่าหากไม่มีการดำเนินการที่เป็นชิ้นเป็นอัน ปัญหานี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงไปเรื่อยๆ ดังนั้นตนจึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความคืบหน้าจากคณะกรรมาธิการวิสามัญบุหรี่ไฟฟ้า นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับการจัดการเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยให้ชัดเจน และสะท้อนให้เห็นนโยบายที่ก้าวหน้า (Progressive Policy) ของพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง ดังที่ประธาน กมธ. จากพรรคเพื่อไทยกล่าวไว้ "วันนี้บุหรี่ไฟฟ้าในไทยแม้จะผิดกฎหมายแต่ก็ใช้กันแพร่หลายมาก กมธ. จึงต้องเร่งหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ความเป็นจริง และบริบทของประเทศ”

ชาวเน็ตแห่ทวงสัญญานายกฯ ปมคุม \'บุหรี่ไฟฟ้า\' ถูกกฎหมาย หวั่นไม่รักษาคำพูด

สำหรับประเด็นแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะอนุฯ นั้น นายสาริษฏ์ กล่าวว่า สังคมต้องเข้าใจก่อนว่าบุหรี่ทางเลือกนั้นมีหลายแบบมาก จำแนกง่ายๆ คือแบบที่ใช้ใบยาสูบ และไม่ใช้ใบยาสูบ และยังมีแยกย่อยไปอีกในเรื่องของกลไกการทำงานของอุปกรณ์ ส่วนประกอบ รวมถึงระดับผลกระทบทางสุขภาพองค์กรระหว่างประเทศเช่น องค์การอนามัยโลก องค์การศุลกากรโลก องค์การมาตรฐานสากล (ISO) ต่างก็กำหนดนิยามไว้แตกต่างกันอย่างชัดเจน และต่างจากบุหรี่ธรรมดา

ชาวเน็ตแห่ทวงสัญญานายกฯ ปมคุม \'บุหรี่ไฟฟ้า\' ถูกกฎหมาย หวั่นไม่รักษาคำพูด

“ในมุมมองของผู้บริโภค ผมเชื่อว่าการเลือกแบนทุกอย่างเบ็ดเสร็จนั้นชัดเจนด้วยหลักฐานตลอด 10 ปีที่ผ่านมาแล้วว่าไม่เป็นผล หรือหากรัฐเลือกที่จะใช้กฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์แบบใดแบบหนึ่ง และยังคงให้แบนผลิตภัณฑ์ที่เหลือต่อไป ก็น่ากังวลว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ถูกแบนนั้นจะนำมาซึ่งปัญหาลักษณะเดิม ตั้งแต่ตลาดใต้ดิน การลักลอบซื้อขาย การเข้าถึงของเด็กและเยาวชน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมถึงรายได้ภาษีที่รั่วไหล ดังนั้น การนำทุกอย่างขึ้นมาระบุและจำแนกให้ชัดเจน แล้วควบคุมทั้งแผงไปเลย น่าจะตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่หากยังแบนต่อไปประเทศไทยก็ยังย่ำอยู่ที่เดิม” นายสาริษฏ์ กล่าว