เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก และหน่วงน้ำ "น้ำท่วม67" รองรับน้ำแม่น้ำยมตอนบนจาก จ.สุโขทัย "บางระกำโมเดล" อ.พรหมพิราม เริ่มผันน้ำเข้าทุ่ง หลังเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 100% พร้อมรับน้ำเข้าพื้นที่ลดผลกระทบ ระดับน้ำในคลองเมมที่จะเอ่อล้นตลิ่งได้อีกทางหนึ่ง

เปิดภาพ "บางระกำโมเดล" อ.พรหมพิราม พื้นที่รับน้ำหลาก และหน่วงน้ำ "น้ำท่วม67" รองรับน้ำแม่น้ำยมตอนบนจาก จ.สุโขทัย เริ่มผันน้ำเข้าทุ่ง หลังเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 100% พร้อมรับน้ำเข้าพื้นที่ลดผลกระทบ ระดับน้ำในคลองเมมที่จะเอ่อล้นตลิ่งได้อีกทางหนึ่ง

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง

โครงการชลประทานพิษณุโลก สำนักงานชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน เปิดเผยภาพถ่ายมุมสูง ทุ่งหนองมน

ซึ่งเป็น 1 ในทุ่งหน่วงน้ำในโครงการบางระกำโมเดล ในเขต ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม อยู่เหนือ ประตูระบายน้ำ บ้านใหม่โพธิ์ทอง พื้นที่ที่ผันน้ำเข้าทุ่ง

เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 100% พร้อมรับน้ำเข้าพื้นที่ลดผลกระทบ ระดับน้ำในคลองเมมที่จะเอ่อล้นตลิ่งได้อีกทางหนึ่ง 

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง

รูปแบบโครงการบางระกำโมเดล พื้นที่รองรับน้ำหลากและหน่วงน้ำ

“โครงการบางระกำโมเดล” เป็นโครงการปรับปฏิทินการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำในเขตชลประทาน เพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลากและหน่วงน้ำ พื้นที่กว่า 265,000 ไร่ ในเขต อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมีอง และ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และ อ.กงไกรลาศ จ.สฺโขทัย 

โดยเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีก่อนฤดูกาลปกติ เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน และเก็บเกี่ยวก่อนฤดูน้ำหลาก ไม่เกิน 15 สิงหาคม ของทุกปี 

หลังจากนั้น จะงดทำการเพาะปลูกเพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำ เป็นทุ่งหน่วงน้ำให้กับลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ลดผลกระทบอุทกภัย 

สามารถหน่วงน้ำได้สูงสุด 400 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่ 15 ส.ค-30 พ.ย. และเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบใหม่ ตั้งแต่ 1 ธ.ค. เป็นต้นไป เปลี่ยนทุ่งนาสีเขียว เป็นทุ่งหน่วงน้ำสีขาว ลดน้ำท่วมข้าว เพิ่มน้ำสร้างปลา

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง
 

เปิดภาพพื้นที่รับน้ำหลาก - หน่วงน้ำ แม่น้ำยม จากสุโขทัย เริ่มรับน้ำเข้าทุ่ง

อ้างอิง-ภาพ : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก ,โครงการชลประทานพิษณุโลก สำนักงานชลประทานที่ 3 , ชำนาญ ผอ.ชลประทานพิษณุโลก