ขยายเสร็จแล้ว 'ทางหลวงหมายเลข 225' สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ เชื่อมกลางกับอีสาน

ขยายเสร็จแล้ว 'ทางหลวงหมายเลข 225' สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ เชื่อมกลางกับอีสาน

กรมทางหลวง ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 225 สาย นครสวรรค์ - ชัยภูมิ ตอน อ.บ้านเขว้า - ชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ แล้วเสร็จ เชื่อมระบบโลจิสติกส์ พัฒนาการคมนาคมภาคกลางสู่ภาคอีสาน ด้วยงบประมาณ 621,325,100 บาท

กรมทางหลวง ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 225 สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ ตอน อ.บ้านเขว้า - ชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ แล้วเสร็จ เชื่อมระบบโลจิสติกส์ พัฒนาการคมนาคมภาคกลางสู่ภาคอีสาน

ขยายเสร็จแล้ว \'ทางหลวงหมายเลข 225\' สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ เชื่อมกลางกับอีสาน

นายสราวุธ  ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่ากรมทางหลวง โดยสำนักก่อสร้างทางที่ 2 ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 225 สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ ตอน อ.บ้านเขว้า - ชัยภูมิ ระหว่าง  กม. 236+755 - กม. 251+690 ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ระยะทางยาวประมาณ 14.9 กิโลเมตร เป็นทางหลวงที่มีความสำคัญในการคมนาคม และขนส่งที่เชื่อมโยงระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
 

โดยเชื่อมต่อกับ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.นครสวรรค์ จ.เพชรบูรณ์ และจ.ชัยภูมิ เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบโลจิสติกส์ให้ทันกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศที่มีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีแนวโน้มการจราจรเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพสายทางในปัจจุบันมีความเสียหายมีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง

ขยายเสร็จแล้ว \'ทางหลวงหมายเลข 225\' สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ เชื่อมกลางกับอีสาน

กรมทางหลวงจึงได้บูรณะและขยายสายทางดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ  ขนาด 4 ช่องจราจร (ไป-กลับ) ทิศทางละ 2 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร เกาะกลางเป็นแบบกำแพงกั้นแบ่งทิศทางจราจร ผิวจราจรแอสฟัสต์คอนกรีต และช่วงชุมชน อ.บ้านเขว้า ก่อสร้างเป็นถนนแบบเต็มเขตทาง ขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 3.00 เมตร เกาะกลางเป็นแบบยกถมดิน มีทางเท้าและระบบระบายน้ำ สองข้างทาง 
 

ขยายเสร็จแล้ว \'ทางหลวงหมายเลข 225\' สายนครสวรรค์ - ชัยภูมิ เชื่อมกลางกับอีสาน

รวมทั้งปรับปรุงทางแยกบริเวณโรงพยาบาลบ้านเขว้า เป็นผิวจราจรคอนกรีต (ความยาวประมาณ 360 เมตร) พร้อมทั้งติดตั้งไฟสัญญาณจราจร อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยและไฟฟ้าแสงสว่าง วงเงินงบประมาณ 621,325,100 บาท

ปัจจุบันโครงการฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ช่วยเพิ่มการรองรับปริมาณการจราจรและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจตามแผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคม รวมทั้งระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศได้อย่างมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น