รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67

รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67

ทำความรู้จักกับ BRT โฉมใหม่ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ให้บริการฟรี 2 เดือน ตั้งแต่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 67

จากกรณีสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ และได้ประกาศผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) โดยมีระยะสัญญาจ้าง 5 ปี

เพจเฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ออกมาโพสต์ภาพบรรยากาศการ BRT-EV โฉมใหม่ให้บริการวันแรก ซึ่งมีการให้บริการในเส้นทางสาทร – ราชพฤกษ์ พร้อมทั้งระบุว่า “BRT-EV เป็นรถโฉมใหม่ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ภายในรถจะค่อนข้างเงียบ”

รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67

ทำความรู้จักกับ BRT โฉมใหม่

รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT โฉมใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% นี้ จะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นวันแรก ในระหว่างเวลา 06.00 – 22.00 น. โดยให้บริการฟรีเป็นระยะเวลา 2 เดือน (1 ก.ย. – 31 ต.ค. 2567) สจส. จึงชวนทุกท่านมาร่วมทำความรู้จักกับ BRT โฉมใหม่นี้ไปด้วยกัน 

- ลักษณะของรถโดยสารรูปแบบใหม่เป็นแบบ Low floor พื้นที่ทางเข้า-ออก และตัวรถโดยสารมีระดับความสูงจากระดับผิวถนน 34 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นลงรถได้สะดวกปลอดภัย และเพื่อให้สามารถปรับเส้นทางรับ-ส่งผู้โดยสารบริเวณป้ายรถประจำทางได้อีกด้วย ปัจจุบันได้จัดทำชานรับ - ส่ง (ชั่วคราว) ซึ่งมีลักษณะต่ำรองรับการใช้งาน 

รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67

 

- เป็นรถโดยสารปรับอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100 % แก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้จัดเตรียมรถไว้พร้อมให้บริการทั้งสิ้น 23 คัน 

- มีประตูเข้า-ออก เพิ่มขึ้น ฝั่งซ้ายจำนวน 2 ประตู และฝั่งขวาของตัวรถโดยสารอีก  1 ประตู 

- ถูกออกแบบให้มีทางลาดทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อรองรับการใช้งานของรถเข็นผู้พิการ (Wheel chair) ให้ใช้บริการได้อย่างสะดวก

- อุ่นใจด้วยการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด CCTV จำนวน 5 ตัวภายในรถโดยสาร เพื่อจับภาพบริเวณตำแหน่งเครื่องจัดเก็บค่าโดยสาร และเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยภายในรถโดยสารอีกด้วย

- มีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อให้สามารถติดตามตำแหน่งรถผ่านแอพพลิเคชัน และมีจอแสดงข้อมูลตำแหน่งรถโดยสารเพื่อแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ 

- มีจำนวนที่นั่งผู้โดยสารขนาดมาตรฐาน 30 ที่นั่ง อุปกรณ์ราวจับสำหรับพื้นที่ยืน และมีพื้นที่รองรับรถเข็นผู้พิการ (Wheel chair) ใกล้กับประตูเข้า-ออก 

- สามารถชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิท หรือสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยจะไม่มีช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสาร

รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67
 

นอกจากนี้ BRT ยังเพิ่มจุดรับส่งใหม่ 2 สถานี คือ

  • สถานีถนนจันทน์เหนือ (บริเวณแยกจันทน์ – นราธิวาส)
  • สถานีถนนจันทน์ใต้ (บริเวณแยกรัชดา – นราธิวาส)

ทำให้สถานีของรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เพิ่มขึ้นเป็น 14 สถานี คือ

  1. สถานี B1 : สาทร (เชื่อมต่อ BTS ช่องนนทรี)
  2. สถานี B2 : อาคารสงเคราะห์
  3. สถานี B3 : เทคนิคกรุงเทพ
  4. สถานี B3A : ถนนจันทน์เหนือ (สถานีใหม่)
  5. สถานี B4 : ถนนจันทน์
  6. สถานี B4A : ถนนจันทน์ใต้ (สถานีใหม่)
  7. สถานี B5 : นราราม 3
  8. สถานี B6 : วัดด่าน
  9. สถานี B7 : วัดปริวาส
  10. สถานี B8 : วัดดอกไม้
  11. สถานี B9 : สะพานพระราม 9
  12. สถานี B10 : เจริญราษฎร์
  13. สถานี B11 : สะพานพระราม 3
  14. สถานี B12 : ราชพฤกษ์ (เชื่อมต่อ BTS ตลาดพลู)

รู้จัก BRT โฉมใหม่ ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% นั่งฟรี ถึง 31 ต.ค. 67

ขอบคุณที่มาจาก รถไฟฟ้าบีทีเอส