ฝนตกหนัก แจ้งเตือน 53 จว. ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก คลื่นลมแรง 14-18 ก.ย.

ฝนตกหนัก แจ้งเตือน 53 จว. ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก คลื่นลมแรง 14-18 ก.ย.

ฝนตกหนัก! ปภ. แจ้งเตือน 53 จังหวัด "เหนือ-อีสาน-กลาง-ใต้" เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรง 14-18 ก.ย.นี้

วันนี้ (14 กันยายน 2567) เวลา 17.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 53 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 14 - 18 ก.ย. 67 โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้สามารถเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยขึ้น รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

 

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 5 (186/2567) ลงวันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร โดยมีพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 14 - 18 กันยายน 2567 ดังนี้

 

พื้นที่เฝ้าระวัง สถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่

  • แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ปางมะผ้า ปาย สบเมย)
  • เชียงใหม่ (อ.แม่อาย ฝางจอมทอง ฮอด)
  • เชียงราย (อ.แม่สาย เชียงแสน แม่จัน แม่ฟ้าหลวง เทิง พญาเม็งราย เวียงแก่น)
  • พะเยา (อ.ปง เชียงคำ จุน ภูกามยาว เชียงม่วน)
  • แพร่ (อ.วังชิ้น สูงเม่น เด่นชัย ลอง)
  • น่าน (อ.ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ ปัว บ่อเกลือ ท่าวังผา เชียงกลาง แม่จริม ภูเพียง เวียงสา)
  • อุตรดิตถ์ (อ.ท่าปลา น้ำปาด)
  • ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่สอด พบพระ อุ้มผาง)
  • สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง กงไกรลาศ)
  • กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง คลองลาน โกสัมพีนคร พรานกระต่าย)
  • พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ นครไทย วัดโบสถ์ วังทอง เนินมะปราง)
  • พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง)
  • เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ หนองไผ่ หล่มเก่า หล่มสัก)
  • นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ แม่เปิน)
  • อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่

  • เลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม)
  • หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก)
  • บึงกาฬ (อ.เมืองฯ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง)
  • หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา)
  • อุดรธานี (อ.นายูง น้ำโสม)
  • สกลนคร (อ.เมืองฯ ภูพาน สว่างแดนดิน)
  • นครพนม (อ.เมืองฯ ศรีสงคราม)
  • ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ คอนสาร หนองบัวแดง)
  • ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ภูผาม่าน ชุมแพ บ้านไผ่)
  • มหาสารคาม (อ.เมืองฯ)
  • กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ ยางตลาด ร่องคำ)
  • มุกดาหาร (อ.เมืองฯ หว้านใหญ่ ดอนตาล)
  • ร้อยเอ็ด (อ.เมืองฯ เสลภูมิ)
  • ยโสธร (อ.เมืองฯ ป่าติ้ว คำเขื่อนแก้ว)
  • อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ ชานุมาน)
  • นครราชสีมา (อ.ปากช่อง วังน้ำเขียว)
  • บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ)
  • สุรินทร์ (อ.เมืองฯ ปราสาท)
  • ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ยางชุมน้อย)
  • อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ ตาลสุม น้ำยืน พิบูลมังสาหาร น้ำขุ่น)

ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่

  • กาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี ทองผาภูมิ)
  • นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี)
  • ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี นาดี)
  • สระแก้ว (อ.เมืองฯ)
  • ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ)
  • ชลบุรี (อ.ศรีราชา บางละมุง)
  • ระยอง (อ.เมืองฯ แกลง บ้านค่าย)
  • จันทบุรี (อ.เมืองฯ เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง)
  • ตราด (ทุกอำเภอ)

ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่

  • ชุมพร (อ.พะโต๊ะ สวี)
  • สุราษฎร์ธานี (อ.พนม บ้านตาขุน)
  • นครศรีธรรมราช (อ.พิปูน ช้างกลาง ลานสกา)
  • ระนอง (ทุกอำเภอ)
  • พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)
  • ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
  • กระบี่ (อ.เมืองฯ เหนือคลอง อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เกาะลันตา)
  • ตรัง (อ.เมืองฯ ปะเหลียน นาโยง กันตัง สิเกา ห้วยยอด วังวิเศษ)
  • สตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)


พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ คลื่นลมแรง

ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่

  • ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ)
  • ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง)
  • จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง)
  • ตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)

ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่

  • ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์)
  • พังงา (อ.เกาะยาว ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี)
  • ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
  • กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก)
  • ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ)
  • สตูล (อ.เมืองฯ ละงู ท่าแพ ทุ่งหว้า)

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 53 จังหวัดในพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ โดยได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน

สำหรับ สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเจ้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีคลื่นลมแรง ให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล และนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด รวมถึงให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด

นอกจากนี้ ขอให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ หากประเมินสถานการณ์แล้ว คาดว่าสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงหรือขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ให้จังหวัดเตรียมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ เครื่องจักรกลสาธารณภัย และวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมออกช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ให้จังหวัดแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และแจ้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศ สถานการณ์น้ำ และข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะนี้ขอให้ติดตามสภาพอากาศ ประกาศการแจ้งเตือนภัย สถานการณ์น้ำในพื้นที่ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT และหากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ ปภ.รับแจ้งเหตุ1784 โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย 1784 (ตลอด24 ชั่วโมง) เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

ฝนตกหนัก แจ้งเตือน 53 จว. ระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก คลื่นลมแรง 14-18 ก.ย.