8 มาตรการ ฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วมเชียงราย เครื่องจักร ซ่อมแซมบ้าน กำจัดดินโคลน
นายกรัฐมนตรี ตั้ง ศปช.ส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางและประสานงานฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม 2567 จ.เชียงราย เร่งใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ซ่อมแซมบ้านเรือน กำจัดดินโคลนถล่ม ผ่าน 8 มาตรการ
8 มาตรการ ฟื้นฟูเยียวยา น้ำท่วม 2567 จ.เชียงราย เร่งใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ซ่อมแซมบ้านเรือน กำจัดดินโคลนถล่ม โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. กล่าวว่า
จากการลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ อุทกภัย ของนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) ประธานการประชุมบูรณาการแผนฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบ ณ ห้องประชุมท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ได้มอบหมายให้หน่วยงานดําเนินการ
8 มาตรการ ฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม 2567 จ.เชียงราย
1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลถล่ม (ศปช.) ปฏิบัติการส่วนหน้า เพื่อเป็นศูนย์สั่งการ และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
2. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ (Zoning) โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมอบหมายผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ติดตามผลการดําเนินงาน ปัญหา อุปสรรค จากหัวหน้าหน่วยที่รับผิดชอบแต่ละโซนทุกวัน
3. มอบหมายทุกส่วนราชการที่สนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร ในการดําเนินงาน รายงานไปยังศูนย์ ศปช. และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อทราบ
4. ในกรณีเครื่องจักรเครื่องมือไม่เพียงพอมอบให้จัดจ้างเอกชน เพื่อระดมการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ มอบหมายให้กรมบัญชีกลางพิจารณากระบวนการจัดจ้างให้เกิดความรวดเร็ว แต่ต้อง ไม่ขัดกับระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสํานักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณกับหน่วยงานดําเนินการ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อน ประชาชนต่อไป
5. ส่วนราชการต่างๆ อํานวยความสะดวกเพื่อซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ถนน สะพาน เสาไฟฟ้า อ่างเก็บน้ำา ท่อระบายน้ำา
6. การบริหารจัดการขยะ และดินโคลน ให้ผ่อนผันเรื่องการเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และที่ราชพัสดุ
7. ระบบการเตือนภัยมอบหมายส่วนราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเร่งรัด ดําเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนปีหน้า
8. มอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนการแก้ไขปัญหาระยะกลาง และระยะยาว เช่น การขุดลอกแม่น้ำ ขยายสะพาน การจัดทําระบบเตือนภัย และสรุปผลเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร่งด่วน