ขยายเสร็จ ทางหลวง 220 สายวังหิน - ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ถนนเชื่อมโลจิสติกส์อีสาน

ขยายเสร็จ ทางหลวง 220 สายวังหิน - ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ถนนเชื่อมโลจิสติกส์อีสาน

กรมทางหลวง ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 220 สาย อ.วังหิน - อ.ขุขันธ์ ตอน 2 จ.ศรีสะเกษ แล้วเสร็จ เสริมประสิทธิภาพโลจิสติกส์ ส่งเสริมการคมนาคมและเศรษฐกิจสู่แดนอีสาน

ขยายเสร็จ “กรมทางหลวง” ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 220  สาย อ.วังหิน - อ.ขุขันธ์ ตอน 2 จ.ศรีสะเกษ แล้วเสร็จ เสริมประสิทธิภาพโลจิสติกส์ ส่งเสริมการคมนาคมและเศรษฐกิจสู่แดนอีสาน

ขยายเสร็จ ทางหลวง 220 สายวังหิน - ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ถนนเชื่อมโลจิสติกส์อีสาน

นายสราวุธ  ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่ากรมทางหลวง สำนักก่อสร้างทางที่ 2  ได้ดำเนินการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 220 สาย อ.วังหิน - อ.ขุขันธ์ ตอน 2 จ.ศรีสะเกษ ระหว่าง กม.35+000 - กม.47+000 ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข 24 อ.ขุขันธ์ กับทางหลวงหมายเลข 226 ตัวเมืองศรีสะเกษผ่าน อ.วังหิน และเป็นเส้นทางสายหลักเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันช่วงตัวเมืองศรีสะเกษ - อ.วังหิน เป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจรแล้ว คงเหลือช่วงจาก อ.วังหิน - อ.ขุขันธ์ ที่ยังคงเป็น 2 ช่องจราจร 
 

ขยายเสร็จ ทางหลวง 220 สายวังหิน - ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ถนนเชื่อมโลจิสติกส์อีสาน

เส้นทางดังกล่าวเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งในภาคอีสานตอนล่างที่มีการจราจรหนาแน่น และเป็นทางหลวงที่เชื่อมโยงไปยังภาคอีสาน ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองและพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชน 

กรมทางหลวง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นทางหลวงมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ ข้างละ 2 ช่อง-จราจร) ผิวจราจรเป็นผิวทางคอนกรีต ช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลางแบบยกขอบหรือแบบถมดิน และเกาะกลางแบบกำแพงกั้นกว้าง 4.20 เมตร

มีการออกแบบช่องจราจรสำหรับรถรอเลี้ยวไม่ให้ กีดขวางรถทางตรงเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ รวมงานติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย ไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง และไฟสัญญาณจราจร วงเงินงบประมาณ 519,480,000 บาท
 

ขยายเสร็จ ทางหลวง 220 สายวังหิน - ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ถนนเชื่อมโลจิสติกส์อีสาน

ปัจจุบันโครงการฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ช่วยเพิ่มศักยภาพความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจร และช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในการเดินทาง ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนในภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน