น้ำท่วม เงินเยียวยา 9,000 บาททุกครัวเรือน เช็กด่วน

น้ำท่วม เงินเยียวยา 9,000 บาททุกครัวเรือน เช็กด่วน

ปรับแจกเงิน กรณีน้ำท่วม เงินเยียวยา 9,000 บาททุกครัวเรือน เช็กด่วน

เช็กด่วนกรณีน้ำท่วม เงินเยียวยา 9,000 บาททุกครัวเรือน วันนี้ (8 ต.ค. 67) เวลา 09.30 น. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ทีมปฏิบัติการ ปภ. จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 8 กำแพงเพชร เขต 9 พิษณุโลก เขต 10 ลำปาง เขต 11 สุราษฎร์ธานี และ เขต 15 เชียงราย ต่างยังคงเร่งฟื้นฟูฟื้นที่ประสบภัยในจังหวัดเชียงรายอย่างเต็มกำลัง

ทั้งด้านการฟื้นฟูเพื่อคืนพื้นที่ให้กับประชาชนในโซนพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย และด้านการอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเข้าปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ

โดยในภาพรวมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยในการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 21 รายการ 70 คัน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวม 74 คน และยังคงปักหลักช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

เงินเยียวยา 9,000 บาททุกครัวเรือน

สำหรับการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 นั้น ปัจจุบัน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ได้ให้ความเห็นชอบกับการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอแล้ว และในวันนี้ จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567

จากเดิมที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ตามระยะเวลาน้ำท่วมขังในพื้นที่อยู่อาศัยและให้อัตราการช่วยเหลืออยู่ที่ 5,000 บาท 7,000 บาท และ 9,000 บาท ตามลำดับ

โดยจะปรับใหม่เป็นทั้งกรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และกรณีน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน ให้ได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราเท่ากันที่ 9,000 บาท 

โดยผู้ประสบภัยที่ได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมไปแล้วครัวเรือนละ 5,000 บาท หรือ 7,000 บาทให้มีการโอนเงินช่วยเหลือเพิ่มให้อีก แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 9,000 บาท ซึ่งการปรับหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น

และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ความปกติโดยเร็ว และเป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือด้วยหลักเกณฑ์สูงสุด


ในส่วนของอาคารบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากดินโคลน มีความจำเป็นต้องใช้แรงงาน เครื่องมือ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการ กรมบัญชีกลางจึงได้อนุมัติให้จังหวัดสามารถปฏิบัตินอกเหนือหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 ด้านการดำรงชีพ เป็นค่าใช้จ่ายในการล้างทำความสะอาดดินโคลน รวมทั้งซากวัสดุต่าง ๆ บริเวณที่อยู่อาศัยประจำ โดยผู้ประสบภัยต้องเป็นเจ้าของ หลังละ 10,000 บาท ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ซึ่งไม่รวมถึงที่อยู่อาศัยประจำที่เสียหายทั้งหลัง หรือที่อยู่อาศัยประจำที่ส่วนราชการหรือส่วนอื่น ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือในการทำความสะอาดเรียบร้อยและผู้ประสบภัยได้เข้าไปดำรงชีวิตตามปกติ ทั้งนี้ กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจะได้ประสานให้จังหวัดพิจารณาการใช้จ่ายเงินทดรองราชการฯ ให้กับผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจากดินโคลนในส่วนนี้ด้วย

อ้างอิง - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)