‘พายุจ่ามี’ ยังกระทบไทย กรมอุตุฯ ประกาศ ฉ.15 แจ้งรายชื่อ 14 จว. รับมือพายุฝน
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 15 แจ้งอากาศวันนี้ ผลกระทบพายุโซนร้อน ‘พายุจ่ามี’ ประกาศรายชื่อ 14 จังหวัด ให้เตรียมรับมือพายุฝนตกหนัก ช่วงวันที่ 28 -29 ต.ค.67 โดยพายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อากาศวันนี้ ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 15 แจ้งผลกระทบพายุโซนร้อน ‘พายุจ่ามี’ ประกาศรายชื่อ 14 จังหวัด ให้เตรียมรับมือพายุฝนตกหนัก ช่วงวันที่ 28 -29 ต.ค.67 โดยพายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (28 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อน “จ่ามี” บริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ได้เคลื่อนที่ออกไปทางทะเลจีนใต้ตอนบนแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 16.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพายุนี้จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย และมีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลง ในช่วงวันที่ 28–29 ต.ค. 67 ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง
ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ในช่วงวันที่ 28–29 ต.ค. 67 ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง “พายุจ่ามี” ฉบับที่ 15 แจ้งรายชื่อ 14 จังหวัด รับมือพายุฝน
วันที่ 28 ตุลาคม 2567
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - จังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคใต้ - จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 29 ตุลาคม 2567
ภาคใต้ - จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย