อวดก่อนฮาโลวีน อึ่งผี อึ่งกรายลายเลอะ ลวดลายสุดแปลก ภาพหาดูยาก บนห้วยขาแข้ง

อวดก่อนฮาโลวีน อึ่งผี อึ่งกรายลายเลอะ ลวดลายสุดแปลก ภาพหาดูยาก บนห้วยขาแข้ง

อวดก่อนวันฮาโลวีน 2567 เปิดโฉม "อึ่งกรายลายเลอะ" อึ่งผี - อึ่งกรายหมอสมิธ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีลวดลายสุดแปลก เป็นภาพหาดูยาก ร้องดังเสียงคล้ายเป็ด ไม่กลัวคน ปัจจุบันมีจำนวนประชากรลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ บนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี

ภาพหาดูยาก! อวดก่อนวันฮาโลวีน 2567 เปิดโฉม "อึ่งกรายลายเลอะ" อึ่งผี - อึ่งกรายหมอสมิธ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีลวดลายสุดแปลก ร้องดังเสียงคล้ายเป็ด ไม่กลัวคน ปัจจุบันมีจำนวนประชากรลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ บนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี 

อวดก่อนฮาโลวีน อึ่งผี อึ่งกรายลายเลอะ ลวดลายสุดแปลก ภาพหาดูยาก บนห้วยขาแข้ง

รู้จักอึ่งกรายลายเลอะ

"อึ่งกรายลายเลอะ" หรือ อึ่งผี หรือ อึ่งกรายหมอสมิธ (Smith’s litter frog) 

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobrachium smithi ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับ มัลคอล์ม อาเธอร์ สมิธ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอังกฤษ ที่ได้เข้ามาทำการศึกษาค้นคว้าสัตว์ประเภทนี้ในประเทศไทยและคาบสมุทรมลายู 

ถูกค้นพบครั้งแรกที่ ต้นน้ำตกพลู บนเขาช่องจังหวัดตรัง เมื่อปี ค.ศ. 1999

จุดเด่นของอึ่งกรายลายเลอะ

อึ่งกรายลายเลอะ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มีลักษณะโดดเด่น อาศัยอยู่ในผืนป่าอนุรักษ์ มีดวงตาโปนด้านบนสีแดง หรือส้มเหลืองวาวเสมือนขอบตา

หัวใหญ่กว่าลำตัว ขาค่อนข้างสั้น ผิวหลังด้านหลังมีลายสีเข้ม พื้นสีผิวเป็นสีเทา ชอบออกหากินหลังเวลาฝนตก

อึ่งกรายลายเลอะ พบได้ที่ไหน?

  • โดยทั่วไปมักพบ อึ่งกรายลายเลอะ ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง 
  • มักพบในแนวป่าตะวันตกของประเทศไทยจนถึงแหลมมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงไป จนถึงเกาะลังกาวีในประเทศมาเลเซีย 
  • ในประเทศไทยพบมากในบริเวณพื้นป่าใกล้ลำธารในป่าดิบแล้ง ถึงป่าดิบเขา ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี 

อวดก่อนฮาโลวีน อึ่งผี อึ่งกรายลายเลอะ ลวดลายสุดแปลก ภาพหาดูยาก บนห้วยขาแข้ง

ที่มาที่ไปกับชื่อเรียกว่า "อึ่งผี" 

มีเสียงร้องดัง ว้าก ว้าก ว้าก กึกก้องไปทั่วผืนป่าหลังฝนตก ร้องดังเสียงคล้ายเป็ด

นอกจากนั้นยังมีนิสัยที่ไม่กลัวคน ไม่ขี้อาย มีลวดลายที่ดูน่ากลัว จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “อึ่งผี” 

คนท้องถิ่นส่วนมาก มักเรียกชื่อตามเสียงร้องของมันว่า กบว้าก หรือ เดะกอ ในภาษากะเหรี่ยง

ปัจจุบัน อึ่งกรายลายเลอะ มีปริมาณลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ที่อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสีย แหล่งที่อยู่อาศัยไปจากเดิม

 

อ้างอิง-ภาพ : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง , เจริญชัย โตไธสง