ขึ้นทะเบียนกาแฟระนอง-กาแฟดอยมูเซอตาก เป็นสินค้า GI

ขึ้นทะเบียนกาแฟระนอง-กาแฟดอยมูเซอตาก เป็นสินค้า GI

ขึ้นทะเบียนกาแฟระนอง-กาแฟดอยมูเซอตาก เป็นสินค้า GI ใหม่ พืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 375 ล้านบาท

กรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องขึ้นทะเบียนกาแฟระนอง-กาแฟดอยมูเซอตาก เป็นสินค้า GI ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ขึ้นทะเบียนกาแฟระนอง-กาแฟดอยมูเซอตาก เป็นสินค้า GI

กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียน GI “กาแฟระนอง” และ “กาแฟดอยมูเซอตาก” จึงทำให้ปัจจุบันมีกาแฟไทยที่ขึ้นทะเบียน GI แล้ว 10 รายการ ได้แก่ กาแฟดอยตุง, กาแฟดอยช้าง, กาแฟเขาทะลุ, กาแฟดงมะไฟ, กาแฟเทพเสด็จ, กาแฟวังน้ำเขียว, กาแฟเมืองกระบี่, กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร, กาแฟระนอง และกาแฟดอยมูเซอตาก สร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 1,300 ล้านบาท
 

กาแฟระนองเป็นกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกมายาวนานกว่า 100 ปีเป็นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าที่ปลูกและแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเล 200-800 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟโรบัสต้า แร่ธาตุในดินของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดีทำให้ต้นกาแฟได้รับธาตุอาหารจากดินได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับภูมิอากาศของพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทั้งจากฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ทำให้ปริมาณน้ำฝนสูงและพื้นที่มีความชุ่มชื้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้กาแฟระนองมีรสชาติเข้มข้น กลมกล่อม เป็นเอกลักษณ์อีกทั้งจังหวัดระนองยังเป็นแหล่งผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้าแหล่งใหญ่เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดระนองที่สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 375 ล้านบาท
 

ส่วนกาแฟดอยมูเซอตาก คือกาแฟพันธุ์อาราบิกาและกาแฟโรบัสต้า มีรสชาติกาแฟที่มีกลิ่นหอมผลไม้และถั่ว รสสัมผัสแบบเบาบาง มีแหล่งเพาะปลูกและแปรรูปในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของดอยมูเซอซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ระดับ 800 เมตรขึ้นไป และมีความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ส่งผลให้กาแฟดอยมูเซอตากมีรสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบกาแฟ และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 257 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการรับข้อมูลข่าวสารจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ipthailand.go.th หรือ โทร. 02-590-6000 หรือ โทร. 1368 สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์