แฉ! ทักแชท สวมรอยเพื่อนสนิท สารพัดอ้างเดือดร้อน สุดท้ายขอยืมเงิน
เปิดโปงแฉ! ทักแชท สวมรอยเพื่อนสนิท สารพัดอ้างเดือดร้อน สุดท้ายขอยืมเงิน กลโกงออนไลน์ มิจฉาชีพทำเป็นขบวนการ
อัปเดตภัยออนไลน์ เปิดโปงแฉ ทักแชท สวมรอยเพื่อนสนิท สารพัดอ้างเดือดร้อน สุดท้ายขอยืมเงิน กลโกงออนไลน์ มิจฉาชีพทำเป็นขบวนการ
กรณีตำรวจไซเบอร์ รวบขบวนการสวมรอยเป็นเพื่อน อึ้งพบหมายจับ 5 หมาย เหยื่อเพียบ สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความกับทาง สภ.เมืองอุทัยธานี ว่าขณะที่ผู้เสียหายกำลังเล่นเฟซบุ๊กผ่านมือถืออยู่นั้น
- ได้มีแชตทักเข้ามาส่วนตัว ซึ่งก็คือเพื่อนสนิทของผู้เสียหาย
- เริ่มเล่าถึงความเดือดร้อนทางการเงิน
- สุดท้ายจบลงด้วยการขอยืมเงิน
- ผู้เสียหายก็หลงเชื่อเพราะด้วยความที่สนิทกับเพื่อนและเกิดความสงสาร
- หลงเชื่อโอนเงินไปให้ที่บัญชีชื่อ น.ส.ดารินทร์
- ตอนแรกก็สงสัย จึงทักกลับไปถามเพื่อนในแชท แล้วตอบกลับว่าบัญชีของตนเองถูกระงับ ให้โอนมาที่บัญชีของเพื่อนก่อน ผู้เสียหายไม่ได้เอะใจ จึงโอนเงินให้
- ต่อมาได้คุยกับคนในครอบครัว และคิดว่าน่าจะถูกหลอก จึงตัดสินใจโทรไปสอบถามเพื่อนที่แชตมายืมเงิน
- ปรากฎความแตก ไม่ได้มีการยืมเงินกันจริง แต่ก็สายเกินไป จึงเดินทางมาแจ้งความ
พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ รรท.ผบช.สอท. จึงสั่งการให้ พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สอท.4 และ พ.ต.อ.อนุชา ศรีสำโรง ผกก.2 บก.สอท.4 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อออกหมายจับผู้ร่วมกระทำผิดในคดีนี้
.
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.สอท.4 ได้สืบสวนจนทราบว่า น.ส.ดารินทร์ เจ้าของบัญชีธนาคารดังกล่าว ได้หลบหนีมาทำงานอยู่บริเวณกรุงเทพกรีฑา จึงมาทำการตรวจสอบ และในวันที่ 25 พ.ย.67 พ.ต.ท.พร้อมพล นิตย์วิบูลย์ สว.กก.2 บก.สอท.4, ร.ต.อ.เปรมประชา อุตมา รอง สว.กก.2 บก.สอท.4 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน นำหมายจับของศาลจังหวัดอุทัยธานี ที่ 128/2567 ลงวันที่ 13 มิ.ย.2567
เข้าจับกุมตัว น.ส.ดารินทร์ ได้ในความผิดฐาน “ฉ้อโกงและโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง”
จากการสอบถาม น.ส.ดารินทร์ฯ ให้การภาคเสธ อ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องหลอกทางเฟซบุ๊ก เมื่อซักถามต่อ น.ส.ดารินทร์ฯ ให้การว่า
เมื่อช่วงปลายปี 64 ตนเองประสบปัญหาด้านการเงิน และมีเพื่อนมาขอให้เปิดบัญชีม้า ซึ่งตนก็มีบัญชีของธนาคารแห่งหนึ่งอยู่แล้ว และประกอบกับตอนนั้น พ.ร.ก.มาตรการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยียังไม่บังคับใช้ การสแกนใบหน้ายังไม่มี
ตนจึงแค่เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ที่ผูกกับโมบายแบงค์กิ้งเป็นเบอร์ที่ผู้ซื้อบัญชีม้าต้องการ โดยไม่ต้องไปทำธุรกรรมที่ธนาคารแต่อย่างใด ซึ่งผู้ต้องหาก็รู้ตัวดีว่าสักวันต้องโดนจับ