เงินสมทบประกันสังคม ธันวาคม 67 จ่ายเท่าไหร่ เงื่อนไขรับเงินบำนาญ 7,500 บาท
อัปเดตล่าสุด เงินสมทบประกันสังคม ธันวาคม 2567 “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่? โดยผู้ประกันตน 42 จังหวัดพื้นที่ "น้ำท่วม 2567" จ่ายน้อยลง จาก 5% เหลือ 3% พร้อมเช็กเงื่อนไขรับเงินบำนาญชราภาพ ผู้สูงอายุ เงินเดือน 7,500 บาท ตลอดชีพ จากสำนักงานประกันสังคม
เงินสมทบประกันสังคม ประจำเดือนธันวาคม 2567 อัปเดตล่าสุด “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่? โดยผู้ประกันตน 42 จังหวัดพื้นที่ "น้ำท่วม 2567" จ่ายน้อยลง จาก 5% เหลือ 3% พร้อมเช็กเงื่อนไขรับเงินบำนาญชราภาพ ผู้สูงอายุ เงินเดือน 7,500 บาท ตลอดชีพ จากสำนักงานประกันสังคม
ธันวาคม 2567 เงินสมทบประกันสังคม ต้องจ่ายเท่าไหร่?
ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)
- คือ พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน
ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ม.39)
- บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน
ผู้ประกันตนมาตรา 40
- ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
โดยมี 3 ทางเลือกสำหรับการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม
ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน
- สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 พื้นที่ 42 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจาก “น้ำท่วม 2567” ลดเงินสมทบประกันสังคม ถึงงวด มี.ค. 68
- กระบี่
- กาญจนบุรี
- กาฬสินธุ์
- กำแพงเพชร
- ขอนแก่น
- ชัยภูมิ
- ชุมพร
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- ตรัง
- ตาก
- นครนายก
- นครปฐม
- นครพนม
- นครราชสีมา
- นครศรีธรรมราช
- นครสวรรค์
- น่าน
- บึงกาฬ
- พะเยา
- พังงา
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- ภูเก็ต
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- แม่ฮ่องสอน
- ร้อยเอ็ด
- ลำปาง
- ลำพูน
- เลย
- สตูล
- สระบุรี
- สุโขทัย
- สุราษฎร์ธานี
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อ่างทอง
- อุดรธานี
- อุตรดิตถ์
ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบมีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 ดังนี้
1) กรณีนายจ้างซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยให้นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 เป็นอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน
2) กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 39
โดยนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราร้อยละ 9 เป็นอัตราร้อยละ 5.90 ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ รง. ครั้งที่ 14/2567 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับแล้ว
เงื่อนรับเงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม เงินเดือน 7,500 บาท ตลอดชีพ
- ผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 สิ้นสุดลง ตามเงื่อนไข
- ต้องดำเนินการขอคืนเงินชราภาพ ประกันสังคม ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
เงื่อนไขขอรับเงินคืน เงินออมชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ "เงินบำเหน็จ-เงินบำนาญ"
- ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตรา 33 เมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง มีสิทธิ์ที่จะยื่นขอรับเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมได้
- ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับ “เงินบำเหน็จ”
- ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15ปี ) ขึ้นไป จะได้รับ “เงินบำนาญ” ที่ประกันสังคมจ่ายให้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงื่อนไขบำนาญชราภาพ ให้ผู้ประกันตน เป็นรายเดือน
- ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปี) ขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ โดยจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- หากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
อัตราเงินบำนาญชราภาพ คำนวณตามระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบ
ระยะเวลาที่ส่งเงินสบทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ คำนวณจากร้อยละของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 20.00-27.50% ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000-4,125 บาท/เดือน
ระยะเวลาที่ส่งเงินสบทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ คำนวณจากร้อยละของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 29.00-35.00% ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 4,350-5,250 บาท/เดือน
ระยะเวลาที่ส่งเงินสบทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ คำนวณจากร้อยละของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 36.50-42.50% ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 5,475-6,375 บาท/เดือน
ระยะเวลาที่ส่งเงินสบทบ 31-35 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ คำนวณจากร้อยละของค่าจ้าง เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 44.00-50.00% ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 6,600-7,500 บาท/เดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานประกันสังคม (คลิก)