เปิดรายชื่อ 12 จว.ภาคใต้ ปภ. เตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม 5 - 11 ธ.ค. 67

เปิดรายชื่อ 12 จว.ภาคใต้ ปภ. เตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม 5 - 11 ธ.ค. 67

ปภ.แจ้ง 12 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 5 - 11 ธ.ค. 67

วันนี้ (4 ธ.ค. 67) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 12 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 5 – 11 ธ.ค. 67 พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมอยู่ ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างเต็มกำลัง เพื่อลดผลกระทบจากเหตุอุทกภัยให้น้อยที่สุด รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากทางราชการอย่างเคร่งครัด 

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่างกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ โดยพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 5 – 11 ธันวาคม 2567 แยกเป็น

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม

จังหวัดชุมพร 8 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองชุมพร
  2. อำเภอท่าแซะ
  3. อำเภอปะทิว
  4. อำเภอละแม
  5. อำเภอสวี
  6. อำเภอทุ่งตะโก
  7. อำเภอหลังสวน
  8. อำเภอพะโต๊ะ 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  2. อำเภอกาญจนดิษฐ์
  3. อำเภอบ้านนาสาร
  4. อำเภอเวียงสระ
  5. อำเภอบ้านนาเดิม
  6. อำเภอพุนพิน
  7. อำเภอเคียนซา
  8. อำเภอพระแสง
  9. อำเภอชัยบุรี
  10. อำเภอดอนสัก
  11. อำเภอเกาะพะงัน
  12. อำเภอเกาะสมุย 

จังหวัดนครศรีธรรมราช 18 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
  2. อำเภอปากพนัง
  3. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. อำเภอพระพรหม
  5. อำเภอร่อนพิบูลย์
  6. อำเภอจุฬาภรณ์
  7. อำเภอขนอม
  8. อำเภอทุ่งสง
  9. อำเภอสิชล
  10. อำเภอนบพิตำ
  11. อำเภอพิปูน
  12. อำเภอฉวาง
  13. อำเภอท่าศาลา
  14. อำเภอพรหมคีรี
  15. อำเภอลานสกา
  16. อำเภอเชียรใหญ่
  17. อำเภอชะอวด
  18. อำเภอหัวไทร 

จังหวัดพัทลุง 6 อำเภอ ได้แก่

  1. เภอเมืองพัทลุง
  2. อำเภอศรีบรรพต
  3. อำเภอศรีนครินทร์
  4. อำเภอควนขนุน
  5. อำเภอกงหรา
  6. อำเภอป่าบอน 

จังหวัดสงขลา 14 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองสงขลา
  2. อำเภอกระแสสิน
  3. อำเภอสทิงพระ
  4. อำเภอควนเนียง
  5. อำเภอบางกล่ำ
  6. อำเภอสิงหนคร
  7. อำเภอหาดใหญ่
  8. อำเภอนาหม่อม
  9. อำเภอรัตภูมิ
  10. อำเภอระโนด
  11. อำเภอจะนะ
  12. อำเภอเทพา
  13. อำเภอนาทวี
  14. อำเภอสะบ้าย้อย 

จังหวัดปัตตานี 12 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองปัตตานี
  2. อำเภอโคกโพธิ์
  3. อำเภอแม่ลาน
  4. อำเภอกะพ้อ
  5. อำเภอทุ่งยางแดง
  6. อำเภอไม้แก่น
  7. อำเภอยะรัง
  8. อำเภอสายบุรี
  9. อำเภอยะหริ่ง
  10. อำเภอปะนาเระ
  11. อำเภอมายอ
  12. อำเภอหนองจิก 

จังหวัดยะลา 8 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองยะลา
  2. อำเภอกรงปินัง
  3. อำเภอเบตง
  4. อำเภอธารโต
  5. อำเภอบันนังสตา
  6. อำเภอกาบัง
  7. อำเภอยะหา
  8. อำเภอรามัน 

จังหวัดนราธิวาส 13 อำเภอ ได้แก่

  1. เภอเมืองนราธิวาส
  2. อำเภอศรีสาคร
  3. อำเภอเจาะไอร้อง
  4. อำเภอแว้ง
  5. อำเภอบาเจาะ
  6. อำเภอยี่งอ
  7. อำเภอระแงะ
  8. อำเภอรือเสาะ
  9. อำเภอจะแนะ
  10. อำเภอสุคิริน
  11. อำเภอสุไหงโก-ลก
  12. อำเภอสุไหงปาดี
  13. อำเภอตากใบ

จังหวัดพังงา 2 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอตะกั่วป่า
  2. อำเภอกะปง 

จังหวัดภูเก็ต ทุกอำเภอ 

จังหวัดตรัง 6 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองตรัง
  2. อำเภอวังวิเศษ
  3. อำเภอย่านตาขาว
  4. อำเภอห้วยยอด
  5. อำเภอนาโยง
  6. อำเภอปะเหลียน 

จังหวัดสตูล 5 อำเภอ ได้แก่

  1. อำเภอเมืองสตูล
  2. อำเภอทุ่งหว้า
  3. อำเภอมะนัง
  4. อำเภอควนกาหลง
  5. อำเภอควนโดน

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็ก

ที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ปัจจุบันมีระดับน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับที่มีความเสี่ยง อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อน ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด และให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเขื่อนด้วย

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขัง

ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองท่าดี คลองชะอวด แม่น้ำตรัง คลองลำ คลองท่าแนะ คลองอู่ตะเภา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 12 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 12 สงขลา และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต ให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าว โดยได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน และพื้นที่ที่ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมอยู่ ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างเต็มกำลัง เพื่อลดผลกระทบจากเหตุอุทกภัยให้น้อยที่สุดสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัยให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัย และพร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีหากเกิดสถานการณ์ขึ้น ตลอด 24 ชั่วโมง และขอให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะนี้ขอให้ติดตามสภาพอากาศ ประกาศการแจ้งเตือนภัย สถานการณ์น้ำในพื้นที่ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถ ติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน "THA DISASTER ALERT" ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ ทั้งระบบ IOS และ Android และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ "ปภ.รับแจ้งเหตุ1784" โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป