แจก 10,000 ช่วยอีก 9,000 บาท เงินช่วยเหลือ ธ.ออมสินโอนเงินแล้วยังไม่ได้เช็ก

แจก 10,000 ช่วยอีก 9,000 บาท เงินช่วยเหลือ ธ.ออมสินโอนเงินแล้วยังไม่ได้เช็ก

อัพเดทแจกเงิน 10,000 ล่าสุด ช่วยอีก 9,000 บาท เงินช่วยเหลือเงินเยียวยาประชาชน ธนาคารออมสินโอนเงินแล้วยังไม่ได้ รับเช็กด่วน

อัพเดท "แจกเงิน 10,000 ล่าสุด" ช่วยอีก 9,000 บาท เงินช่วยเหลือ เงินเยียวยา ประชาชนประสบภัยน้ำท่วม ธนาคารออมสิน โอนเงินแล้วยังไม่ได้ รับเช็กด่วน

มาตรการแจกเงินเยียวยาฟื้นฟูอัตราเดียวกัน 9,000 บาท ทุกครัวเรือน

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2567 ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ในหลายพื้นที่ของประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลให้ความสำคัญและเร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการออกมาตรการต่าง ๆ อาทิ

  • มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วมในอัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท
  • ช่วยเหลือค่าล้างโคลน ครัวเรือนละ 10,000 บาท

ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยกลับมาดำเนินชีวิตปกติโดยเร็วที่สุด รัฐบาลได้อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 9,000 บาท ในพื้นที่ 47 จังหวัด เรียบร้อยแล้ว โดยธนาคารออมสินได้โอนเงินผ่าน PromptPay ซึ่งเงินถึงมือผู้ประสบภัยแล้วกว่า 2,700 ล้านบาท

สำหรับ พื้นที่ภาคใต้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในอัตราเดียวกัน ครัวเรือนละ 9,000 บาท โดยคาดว่าสามารถทยอยจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ในรอบแรกได้ภายในวันที่ 16 มกราคม 2568

ผู้ประสบอุทกภัยสามารถยื่นคำร้อง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยื่นคำร้องฯ ผ่านระบบ Online ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.flood67.disaster.go.th ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 67 เป็นต้นไป และขอเน้นย้ำประชาชนผู้ประสบภัยตรวจสอบข้อมูลบัญชีหากยังไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ (PromptPay) แบบผูกบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน ขอให้ไปติดต่อธนาคารดำเนินการลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้ทุกธนาคารเพื่อให้สามารถรับเงินช่วยเหลือได้โดยเร็วที่สุด

รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนเฉพาะที่ประสบภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่าง ๆ มากมายอีกด้วย โดยสามารถติดตามการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 3 เดือน และการมอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี ภายใต้หัวข้อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง 2025 Empowering Thais: A Real Possibility จากผลงานที่เป็นรูปธรรม สู่อนาคตที่ทำได้จริง” ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดทางช่อง NBT2HD และ Facebook Live: Live NBT2HD ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น.

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2567 ประเทศไทยได้ประสบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ในหลายพื้นที่ของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจของประชาชนเป็นอย่างมาก

จัดตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย (27 ส.ค. 67) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัยเพื่อให้การติดตามสถานการณ์และการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกี่ยวข้องในทุกมิติทั้งด้านการบูรณาการงบประมาณ บุคลากร และเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ เป็นระบบ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย

โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของศูนย์อำนวยการสถานการณ์อุทกภัย และแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน ดังนี้

การบูรณาการการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย มี รมว. มหาดไทย เป็นประธาน

การเร่งรัดแก้ไขการบริหารจัดการน้ำ มี รมว. เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน

(16 ก.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ครั้งที่ 1/2567 และสั่งการในที่ประชุม ดังนี้ ให้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นฉุกเฉินให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ในคณะ คอส. ให้มีการประชุมติดตามงานเป็นระยะ ๆ จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ

ให้ ศปช. ประเมินสถานการณ์และกำหนดการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตาม สั่งการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้ทันที และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่

ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเร่งรัดมาตรการฟื้นฟูเยียวยา โดยกำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจนและเสนอ คอส. เพื่อทราบลำดับถัดไป รวมถึงการเยียวยาขอให้ครอบคลุมถึงกลุ่มชาติพันธ์ุ

เรื่องดินโคลนถล่ม กรมทรัพยากรธรณีต้องมีการชี้จุดที่ชัดเจน และมีการซักซ้อมอย่างจริงจังในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีภัยดังกล่าว

ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการประชาสัมพันธ์การรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบ เพื่อเตรียมการตามที่มีการแจ้งเตือน และขอให้กองทัพร่วมกับกรมอาชีวศึกษาระดมกำลังเข้าไปช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนของประชาชน รวมถึงอาคารสถานที่ราชการโดยเร็ว

ครม. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน

(17 ก.ย. 67) ครม. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 โดย อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 3,045,519,000 บาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฯ ดังนี้

กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 5,000 บาท

กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 7,000 บาท

กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือ ครัวเรือนละ 9,000 บาท

หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567

เป็นกรณีอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 ตั้งแต่วันที่

20 พ.ค. 67 ทั้งกรณีน้ำท่วมโดยฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ

จนส่งผลกระทบทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้

ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป

เงื่อนไข ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยและหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ (ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 30) ต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย และต้องผ่านการตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) สำหรับกรุงเทพมหานคร ต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร

กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ ให้จังหวัดที่ประสบภัยเร่งรัดดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์และช่วยเหลือให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

ทั้งนี้ จะมีครัวเรือนผู้ประสบภัย จำนวน 338,391 ครัวเรือน ได้รับประโยชน์ ตามข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พื้นที่ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 57 จังหวัด เช่น จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น เป็นต้น

กรมบัญชีกลางอนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการเชียงราย เชียงใหม่ จังหวัดละ 100 ล้านบาท

(13 ก.ย. 67) กรมบัญชีกลางส่งหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0402.4/33762 ถึงอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งการอนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ สามารถพิจารณาอนุมัติให้ใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้เพิ่มอีก 100 ล้านบาท จากที่มีวงเงิน

ทดรองราชการปกติอยู่ 20 ล้านบาท เพื่อให้ทั้งสองจังหวัด ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และสอดคล้องกับโยบายของรัฐบาล

นายกฯ สั่งการตั้ง ศปช.ส่วนหน้า เร่งฟื้นฟูเยียวยา จ.เชียงราย

(27 ก.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูพื้นที่จังหวัดเชียงรายที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ อุทกภัย และเป็นประธานการประชุมบูรณาการแผนฟื้นฟู และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมสั่งการให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ปฏิบัติการส่วนหน้า เพื่อเป็นศูนย์สั่งการ และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย เป็นประธาน และ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม เป็นที่ปรึกษา และให้นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เป็นโฆษกศูนย์ ศปช. ส่วนหน้า

ครม. ปรับเกณฑ์จ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วม เหมาจ่าย 9,000 บาท ต่อครัวเรือน

(8 ต.ค. 67) ครม. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และให้ใช้แทนหลักเกณฑ์เดิมที่ ครม. เคยมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 67 โดยปรับเกณฑ์เป็นการ

ให้ความช่วยเหลืออัตราเดียว ครัวเรือนละ 9,000 บาท ภายใต้กรอบวงเงินเดิม 3,045 ล้านบาท เพื่อให้การช่วยเหลือสอดคล้องกับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง

สำหรับผู้ประสบภัยได้รับเงินช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ไปแล้ว

ให้จ่ายเงินช่วยเหลือฯ เพิ่มเติมให้ครบจำนวน 9,000 บาท กรณีผู้ประสบภัยที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือฯ

ให้จ่ายเงินช่วยเหลือฯ ตามหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินฯ ตามหลักเกณฑ์ใหม่

มท. จ่ายเพิ่ม 1 หมื่น สมทบค่าล้างโคลน - ดินให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงราย

(9 ต.ค. 67) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า หลังจากที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ได้รายงานให้ที่ประชุม ครม. (8 ต.ค. 67) ทราบถึงกรณีที่กรมบัญชีกลางได้อนุมัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพื้นที่ซึ่งประกาศเขตให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สามารถใช้เงินทดรองราชการจ่ายเป็นค่าช่วยล้างดินโคลน รวมทั้งซากวัสดุต่าง ๆ ในที่อยู่อาศัยประชาชน ซึ่งประสบอุทกภัย

ในอัตรา 10,000 บาทต่อหลัง ทั้งนี้ การจ่ายเงินช่วยเหลือค่าล้างดินโคลนดังกล่าว เป็นคนละส่วนกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในฤดูฝนปี 2567 ครัวเรือนละ 9,000 บาท ซึ่งการได้รับสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากภาครัฐบางส่วนผ่านเงินทดรองราชการที่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดนี้จะเป็นอีกแรงที่ช่วยแบ่งเบาภาระ และบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยให้กลับมาดำรงชีวิตปกติได้เร็วขึ้น

ปภ. ชี้แจงแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติม 16 จังหวัด

(9 ธ.ค. 67) นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติม

ในพื้นที่ 16 จังหวัด เพื่อชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้ได้รับเงินช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด

ครม. อนุมัติกรอบวงเงิน 5,039 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วงฤดูฝน 67 เพิ่มเติม ในพื้นที่ 16 จังหวัด

(3 ธ.ค. 67) ครม. มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 เพิ่มเติม พร้อมอนุมัติกรอบวงเงิน 5,039 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝนปี 2567 ในพื้นที่จังหวัด 16 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจังหวัดที่เกิดสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. - 2 พ.ย. 67 รวม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท บุรีรัมย์ สมุทรสาคร และสิงห์บุรี (เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 57 จังหวัดแรก)

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจังหวัดภาคใต้ที่เกิดสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. 67 รวม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ ตรัง พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

การช่วยเหลือครั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับมติคณะรัฐมนตรี (8 ต.ค. 67) คือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในอัตราเดียวกัน ครัวเรือนละ 9,000 บาท ปภ. เน้นย้ำให้พื้นที่ทำงานคู่ขนานไม่ต้องรอน้ำลด คาดว่าจ่ายเงินรอบแรกได้ภายในวันที่ 16 ม.ค. 68

รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. ได้เน้นย้ำพื้นที่ประสบภัยทั้ง 16 จังหวัด

ให้ดำเนินการสำรวจ จัดทำบัญชี และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจังหวัดสามารถดำเนินการคู่ขนานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอน้ำลด และทยอยส่งข้อมูลเข้ามายัง ปภ. โดยเร็วตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องอีกครั้งก่อนส่งไปยังธนาคารออมสิน เพื่อทำการโอนเงินให้กับประชาชนต่อไป โดยคาดว่าสามารถทยอยจ่ายเงินช่วยเหลือฯ ในรอบแรกได้ภายในวันที่ 16 มกราคม 2568

เอกสารหลักฐานในการขอรับเงินช่วยเหลือ

ผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือต้องเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน) สัญญาเช่าบ้านหรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรณีเป็นบ้านเช่า) และหากเป็นกรณีอื่น อาทิ บ้านพักอาศัยประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน จะต้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น ร่วมกับผู้นำชุมชน ตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3 นอกจากนี้ ไม่รวมถึงบ้านพักที่หน่วยราชการจัดให้

ทั้งนี้ ผู้ประสบอุทกภัยสามารถยื่นคำร้อง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ส่วนการยื่นคำร้องฯ ผ่านระบบ Online ระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.flood67.disaster.go.th คลิก ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค. 67 เป็นต้นไป (กรุณาตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนจะยื่นคำร้อง เนื่องจากจะไม่สามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลได้หลังจากยื่นคำร้องผ่านระบบ Online เป็นที่เรียบร้อยแล้ว) ตลอดจนขอเน้นย้ำประชาชนผู้ประสบภัยตรวจสอบข้อมูลบัญชีหากยังไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ (PromptPay) แบบผูกบัญชีธนาคารกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน ขอให้ไปติดต่อธนาคารดำเนินการลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้ทุกธนาคารเพื่อให้สามารถรับเงินช่วยเหลือได้โดยเร็วที่สุด

อ้างอิง - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ปภ.