อัปเดต มกราคม 2568 เงินสมทบประกันสังคม จ่ายเท่าไหร่ วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์

อัปเดต มกราคม 2568 เงินสมทบประกันสังคม จ่ายเท่าไหร่ วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์

อัปเดตล่าสุด เงินสมทบประกันสังคม มกราคม 2568 “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เช็กรายชื่อ 42 จังหวัดพื้นที่ "น้ำท่วม 2567" ยังคงจ่ายน้อยลง จาก 5% เหลือ 3% วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์ www.sso.go.th ใช้สิทธิทันตกรรมได้ฟรี 900 บาทต่อปี

"เงินสมทบประกันสังคม" อัปเดตล่าสุด ประจำเดือนมกราคม 2568 “ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง โดยผู้ประกันตน เช็กรายชื่อ 42 จังหวัดพื้นที่ "น้ำท่วม 2567" ยังคงจ่ายน้อยลง จาก 5% เหลือ 3% ถึงงวด มี.ค. 68 พร้อม"วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์" ผ่าน sso.go.th ที่ใช้สิทธิทันตกรรมได้ฟรี 900 บาทต่อปี

อัปเดต มกราคม 2568 เงินสมทบประกันสังคม จ่ายเท่าไหร่ วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์

เงินสมทบประกันสังคม มกราคม 2568 ต้องจ่ายเท่าไหร่? ในพื้นที่ปกติ ไม่ได้รับผลกระทบ “น้ำท่วม 2567”

ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)

  • พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน

ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ม.39)

  • บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน
 

ผู้ประกันตนมาตรา 40

ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

โดยมี 3 ทางเลือกสำหรับการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม

ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

เงินสมทบประกันสังคม มกราคม 2568 ต้องจ่ายเท่าไหร่?  ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ในพื้นที่ 42 จังหวัด ผลกระทบจาก “น้ำท่วม 2567”

ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนการออกเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง โดยให้การลดหย่อนการออกเงินสมทบมีผลใช้บังคับในงวดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568 ดังนี้ 

1)    กรณีนายจ้างซึ่งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ในท้องที่ที่กำหนดในข้อ

1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยให้นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราฝ่ายละร้อยละ 5 เป็นอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

2)    กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งมีทะเบียนผู้ประกันตนในท้องที่ที่กำหนดในข้อ 1. ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 

โดยนำส่งเงินสมทบ จากเดิมอัตราร้อยละ 9 เป็นอัตราร้อยละ 5.90  ของค่าจ้างของผู้ประกันตน คิดเป็นจำนวนเงิน จากเดือนละ 432 บาท เป็นเดือนละ 283 บาท 

รายชื่อ 42 จังหวัด จ่ายเงินสมทบประกันสังคมน้อยลง ถึงงวด มีนาคม 2568

  1. กระบี่ 
  2. กาญจนบุรี 
  3. กาฬสินธุ์ 
  4. กำแพงเพชร 
  5. ขอนแก่น 
  6. ชัยภูมิ 
  7. ชุมพร 
  8. เชียงราย  
  9. เชียงใหม่
  10. ตรัง 
  11. ตาก
  12. นครนายก 
  13. นครปฐม 
  14. นครพนม
  15. นครราชสีมา
  16. นครศรีธรรมราช 
  17. นครสวรรค์ 
  18. น่าน 
  19. บึงกาฬ 
  20. พะเยา 
  21. พังงา 
  22. พิจิตร 
  23. พิษณุโลก
  24. เพชรบูรณ์ 
  25. แพร่
  26. ภูเก็ต 
  27. มหาสารคาม 
  28. มุกดาหาร
  29. แม่ฮ่องสอน
  30. ร้อยเอ็ด 
  31. ลำปาง
  32. ลำพูน 
  33. เลย 
  34. สตูล 
  35. สระบุรี
  36. สุโขทัย 
  37. สุราษฎร์ธานี
  38. หนองคาย
  39. หนองบัวลำภู
  40. อ่างทอง
  41. อุดรธานี 
  42. อุตรดิตถ์

วิธีเบิกค่าทำฟันประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 - ม. 39 ผ่านระบบออนไลน์ มกราคม 2568

  • เข้าสู่เว็บไซต์ sso.go.th 
  • เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน ด้วยรหัสของผู้ใช้งาน (เลขบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมรหัสผ่าน หากใครยังไม่มีสามารถสมัครสมาชิกได้
  • เลือกระบบทันตกรรม
  • เลือกบันทึกรับแจ้ง กรณีทันตกรรม
  • กรอกวันที่เข้ารับบริการทันตกรรม และสิทธิประโยชน์ จากนั้นเลือกตรวจสอบสิทธิ
  • ระบบจะขึ้นวงเงินคงเหลือ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่เลือกใช้สิทธิ และวันที่ใช้สิทธิ
  • ส่วน "สปส. รับผิดชอบ" ให้เลือกพื้นที่ประกันสังคมที่เราอยู่ จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวที่เราอยู่ให้เรียบร้อย
  • ข้อมูลของผู้รับสิทธิ และวิธีการรับสิทธิ
  • กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว ธนาคารสำหรับรับเงิน และแนบเอกสาร
  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

เอกสารที่ต้องใช้ เบิกค่าทำฟันประกันสังคม

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกมีชื่อ-เลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

สิทธิทันตกรรม ประกันสังคมที่เบิกออนไลน์ได้

  • ถอนฟัน
  • อุดฟัน
  • ขูดหินปูน
  • ผ่าฟันคุด

ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 ทำฟันที่ไหนได้บ้าง ?

  • โรงพยาบาลรัฐ
  • โรงพยาบาลเอกชน
  • คลินิกทันตกรรมที่มีการลงทะเบียนเป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม

ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ ผู้ประกันตนจำเป็นต้องนำบัตรประชาชนมาด้วย เพื่อยืนยันสิทธิในการเบิกจ่ายตรงจากสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตน ม. 33 และม. 39 ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท/ปี เหลือจ่ายแค่ส่วนที่เกินจากสิทธิที่ได้รับเท่านั้น

จะต้องทำเรื่อง เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ม.33 - ม.39 ภายในกี่วัน?

  • ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการ

ผู้ประกันตน เบิกค่าทำฟันประกันสังคม กี่วันถึงจะได้รับเงิน?

  • 1-2 สัปดาห์