กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ

กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ

‘ภาษีป้าย 2568’ กทม. อัปเดต “ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี” ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี รวมถึงอัตราภาษีป้าย สูตรคำนวณภาษีป้าย หลักฐานในการยื่นแบบ และการยื่นแบบและชำระภาษี (รายเก่า/รายใหม่)

"กทม." อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี รวมถึงอัตราภาษีป้าย สูตรคำนวณภาษีป้าย หลักฐานในการยื่นแบบ และการยื่นแบบและชำระภาษี (รายเก่า/รายใหม่)

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ให้เจ้าของป้ายที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ณ สำนักงานเขตซึ่งป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่ ส่วนป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะที่ต้องเสียภาษี ให้ยื่น ณ สำนักงานเขตซึ่งการจดทะเบียนยานพาหนะได้กระทำในท้องที่นั้น ภายในเดือนมีนาคม 2568 และชำระเงินค่าภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ

สำหรับป้ายที่ติดตั้งหรือแสดง ภายหลังเดือนมีนาคม 2568 ติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายบางส่วนเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดง หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไข แล้วแต่กรณี

อนึ่ง ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย โปรดนำหลักฐาน บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ยื่นแบบ) เพื่อประกอบการยื่นแบบด้วย

ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี

  • ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ป้ายแบบไหนที่ต้อง ไม่ต้องเสียภาษี

1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ

2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า

3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว

4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์

5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือกิจการอื่น หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ เช่น ป้ายในปั๊มน้ำมันในบริเวณที่จำหน่ายน้ำมันที่มีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร แต่ไม่ใช่ป้ายที่ผู้ประกอบการจดเป็นป้ายตามทะเบียนพาณิชย์

6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ

8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น

10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
 

11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนาหรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ

12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ

13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2)

กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535)

ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ:

  • ก. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
  • ข. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
  • ค. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก ก. และ ข. โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร

อัตราภาษีป้าย

กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ

สูตรคำนวณภาษีป้าย หลักฐานในการยื่นแบบ

กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ


การยื่นแบบและชำระภาษี (รายเก่า/รายใหม่)

กทม. อัปเดต ‘ภาษีป้าย 2568’ ป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี อัตราภาษี สูตรคำนวณ