ไทยปราบคอร์รัปชันให้ได้ผลได้อย่างไร?
ไทยมีคอร์รัปชันมากอันดับต้นๆ ของโลก เพราะชนชั้นนำกลุ่มน้อยมีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการครอบงำข้อมูลข่าวสารเหนือกว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนมากๆ ประชาชนยังถูกครอบงำให้คิดว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติที่คงไม่มีทางแก้ได้
บางส่วนคิดว่า “ในเมื่อรัฐบาลไหนๆ ก็คอร์รับชัน ถ้ารัฐบาลนี้จะคอร์รัปชันบ้าง แต่ถ้าทำงานเป็น ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ก็ยังดีกว่ารัฐบาลที่ทำงานไม่เป็น”
วิธีคิดเช่นนี้เป็นภารสรุปอย่างผิดพลาด การที่บางรัฐบาลทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตสูง ไม่ได้แปลว่าทำให้ประชาชนทุกคนรวยขึ้นเท่ากัน เพราะเป็นการเติบโตแบไม่สมดุล/ฉาบฉวยที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนน้อย แต่ประเทศต้องเสียหายไปอย่างมหาศาล
ปัญหาคอร์รัปชันนั้นสร้างความเสียหายต่อประชาชนทั้งประเทศอย่างร้ายแรงมากกว่าประเด็นเรื่องความไม่เป็นธรรมและการขาดจริยธรรม
การคอร์รัปชันทำให้เกิดการบิดเบือนการใช้ทรัพยากรของส่วนรวม ทำให้คนเก่งคนดีไม่มีโอกาสได้ทำงานเต็มศักยภาพ ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนทำงานอย่างขาดประสิทธิภาพ แข่งขันสู้ประเทศอื่นในระยะยาวไม่ได้
การคอร์รัปชันยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและการพัฒนาแบบกอบโกยล้างผลาญ ทำลายทรัพยากรและสภาพแวดแวดแวดล้อมอย่างมาก
คนไทยส่วนใหญ่ยังมีกรอบวิธีคิดถึงถึงปัญหาคอร์รัปชัน ว่าเป็นเรื่องของปัจเจกชนที่โลภเห็นแก่ตัว นักการเมืองฝ่ายค้าน สื่อมวลชน นักวิชาการ องค์กรประชาชน
เวลาเปิดโปงโจมตี มักเน้นการเอาผิดนักการเมืองและเจ้าหน้าที่คอร์รัปชันเป็นรายบุคคล แต่ไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคอร์รัปชันครั้งใหม่อีก
ฟินแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันได้ผล ประเทศไทยน่าจะแก้หรือลดปัญหานี้ได้ ถ้าเราหัดคิดวิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันและการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบองค์รวม ตั้งใจศึกษาบทเรียนจากเขา และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย
แนวทางแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน
1. ปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนทั้งประเทศให้ฉลาดทั้งทางปัญญา อารมณ์ และจิตสำนึก รู้จักการคิดในเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจปัญหาและแนวทางแก้ไขในเชิงปฏิรูประดับโครงสร้างเศรษฐกิจ หารเมือง สังคมอย่างเป็นระบบองค์รวม แทนที่วิธีการจัดการศึกษาแบบที่ท่องจำ คิดแบบแบบแยกส่วนและแก้ปัญหาที่ตัวบุคคคลอย่างที่ทำกันอยู่
2. ให้การศึกษาเรื่องสิทธิหน้าที่ของพลเมือง ให้ประชาชนตระหนักว่าประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากร เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ แหล่งแร่ น้ำมัน ก๊าซธธรรมชาติของประเทศรวมทั้งคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ เป็นผู้เสียภาษีที่นำไปใช้ลงในงบประมาณโครงการต่าง ๆ ของรัฐ (แม้บางคนจะเสียภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มเวลาซื้อสินค้าต่างๆ)
ประชาชนเลือกผู้แทนให้ไปทำงานโดยมีสัญญาทางสังคมว่าผู้แทนจะต้องบริหารเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ได้เลือกไปเป็นนาย ประชาชนไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณรัฐบาล รัฐบาลต่างหากที่เป็นหนี้บุญคุณประชาชน
เราควรช่วยกันทำให้ประชาชนหวงแหนและสนใจตรวจตรวจสอบดูแลการใช้อำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปอย่างโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
3. แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูประบบการเมือง ให้เป็นประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมได้มากขึ้น เช่น ประชาชนยื่นขอองค์กรภาคประชาชนโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล และใช้สื่อมวลชนภาครัฐได้ฟรี
ประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มีการลงประชามติถอดถอนนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีได้ ถ้าหากมีพฤติกรรมที่ศอร์รัปชันหรือหาผลประโยชน์ทับซ้อนและขัดขวางกระบวนการตรวจสอบการคอร์รัปชัน ปฏิรูปการบริหารท้องถิ่นให้เป็นอิสระและโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีระบบตรวจสอบคานอำนาจที่ดี
4. ปฏิรูปองค์กรต้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ เช่น ป.ป.ช. ให้เป็นองค์กรอิสระที่คัดเลือกคนดีคนเก่งมาทำงานโดยได้เงินเดือนสูงมีงบสนับหนุนเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม และแก้ไขกฎหมายให้อำนาจ ป.ป.ช. เพิ่มขึ้น
เช่น เรียกข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ ธนาคารพาณิชย์และองค์กรต่างๆ ได้ มีอำนาจยึดทรัพย์ผู้ต้องสงสัยให้ผู้ต้องสงสัยหาใบเสร็จมาพิสูจน์ ไม่ใช่ให้ ป.ป.ช. เป็นฝ่ายหาใบเสร็จ
นอกจากนี้ ก็ต้องปฏิรูป ป.ป.ท. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและองค์กรอื่นๆ ในภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ การคลัง กระบวนการยุติธรรม ฯลฯ อย่างขนานใหญ่ด้วยเช่นกัน
5. จัดตั้งองค์กรอิสระที่อิงภาคประชาชนและป้องกันการแทรกแซงของนักการเมืองได้ค่อนข้างดี เพื่อช่วยตรวจสอบฝ่ายบริหารเพิ่มขึ้น เช่น องค์กรอิสระข้อมูลข่าวสาร องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรอิสระเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมแห่งชาติ องค์กรอิสระเพื่อความโปร่งใส ฯลฯ
ปฏิรูปกระบวนการได้มาซึ่งคณะกรรมการองค์กรเหล่านี้เพื่อให้ได้คนที่เป็นกลางเป็นอิสระจากพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทันทับช้อนจริงๆ ควรเปิดกว้างรับผู้สมัครจากภาคธุรกิจเอกชน ผู้นำชุมชน องค์กรประชาชน นักวิชาการและนักวิชาชีพ สื่อมวลชน ฯลฯ ด้วย แทนที่จะเน้นรับแต่อดีตข้าราชการระดับสูง
6. สนับสนุนการรวมตัวของภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน เป็นองค์กรผู้บริโภคด้านต่างๆ และองค์กรเพื่อความโปร่งใส ติดตามตรวจสอบการทำงานของทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เกิดระบบการบริหารที่ดีหรือธรรมาภิบาล คือมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม มีการฟ้องร้อง และคว่ำบาตรทางสังคมที่ได้ผล เพื่อให้บริหารองค์กรต่างๆ ต้องระมัดระวังตัวที่จะไม่คอร์รัปชัน
7. จัดสรรงบสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรประชาชน ให้ทำงานคู่ขนานร่วมมือกับองค์กรเพื่อช่วยให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง พัฒนาระบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมให้ก้าวหน้าไปมากยิ่งขึ้น
8. เร่งปฏิรูปกฎหมาย ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ ปฏิรูประบบราชการ (โดยเฉพาะหน่วยงานด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงิน, การใช้ประมาณ, การออกใบอนุญาตต่างๆ) ปฏิรูประบบการศึกษา ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน
เพื่อให้กลไกการทำงทำงานของกฎหมาย การศึกษา ระบบข้อมูลข่าวสาร มีความชัดเจนโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น.