ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ 'Agenda 21 for Culture'

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ 'Agenda 21 for Culture'

'กรมส่งเสริมวัฒนธรรม' กระทรวงวัฒนธรรรม พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดประชุมสัมมนาขับเคลื่อน ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ระดับโลก (UCLG) สร้างความร่วมมือกับสหพันธ์เมืองและรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยศิลปากร และ RoamingElephants.com จัดประชุมสัมมนาเพื่อสร้างความร่วมมือกับสหพันธ์เมืองและรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างประเทศ (United Cities and Local Governments – UCLG)  ซึ่งเป็นองค์กรขับเคลื่อนบทบาท วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน นำการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่ง สหประชาชาติ โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของไทยในฐานะประเทศสมาชิก

ภายใต้ Agenda 21 for Culture เดินหน้าจับมือองค์กรขับเคลื่อนวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืนระดับโลก หรือ UCLG ร่วมพัฒนาเมืองต้นแบบ Thailand Culture 21 Best Practice ผลักดันสู่การประกวดเวทีระดับโลก International Award UCLG - Culture 21

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ \'Agenda 21 for Culture\' นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า

“นับเป็นก้าวแรกของประเทศไทยในฐานะสมาชิก UCLG ที่จะได้ปักหมุดแสดงจุดยืนบนเวทีโลกอย่าง Culture 21 เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพความพร้อมของไทยในการเชิดชูคุณค่า และบทบาทวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน และเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับสากล 

ทั้งนี้ประเด็นด้าน วัฒนธรรม มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในที่ประชุมนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2021

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ \'Agenda 21 for Culture\' โดยมีมติเห็นชอบให้ ผนวกรวมวัฒนธรรมร่วมอยู่ในวาระแห่งการพัฒนาระดับโลก คือการร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2030 (Sustainable Development Goals: SDGs) หรือ Agenda 21 for Culture หรือที่เรียกว่า Culture 21 มติดังกล่าวเป็นการยอมรับถึงบทบาทของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในหลายมิติ เช่น การท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์, การพัฒนาเมืองและพื้นที่, แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาสินค้าชุมชน”

อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวเสริมว่า

“ปัจจุบัน Agenda 21 for Culture หรือที่เรียกว่า Culture 21 มี UCLG เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อน ชูบทบาทด้าน วัฒนธรรมนำการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะนี้มีสมาชิกกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียก็ล้วนเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย UCLG และได้รับรางวัลจากเวทีวัฒนธรรมระดับโลกนี้ทั้งสิ้น  

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ \'Agenda 21 for Culture\' ในฐานะที่เรามีวัฒนธรรรมที่รุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน ได้รับการยอมรับในระดับโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องแสดงศักยภาพเชิงวัฒนธรรมไทย ในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวทีระดับโลกด้วยเช่นกัน

ในการสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการสร้างความร่วมมือกับ UCLG ไม่เพียงเป็นการแสดงพลังความพร้อม และเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อน Agenda 21 for Culture อย่างเป็นรูปธรรม หากยังช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยวัฒนธรรม ตามแนวทาง Agenda 21 for Culture และสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ผศ.ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ผู้ก่อตั้ง Roaming Elephants แพลตฟอร์มขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืนของไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ประสานงาน UCLG ในประเทศไทย กล่าวว่า

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ \'Agenda 21 for Culture\' “รางวัล UCLG-CULTURE 21 International Award จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการและนโยบายทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน การได้รับรางวัล International Award UCLG – Mexico City – Culture 21 เป็นการแสดงจุดยืนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้มิติด้านวัฒนธรรมตามหลักสากลที่มุ่งให้เห็นความตั้งใจในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้คน รางวัลนี้เป็นใบเบิกทางสู่ตลาดการค้ากับภาคเอกชนทั่วโลก ตามกรอบแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) และช่วยเสริมสมรรถนะให้พื้นที่/เมืองที่ได้รับรางวัล ให้พร้อมทำงานกับตลาดการค้าในสหภาพยุโรปที่เข้มงวดการตรวจสอบความรับผิดชอบด้านความยั่งยืนตามข้อบังคับ EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence   

หลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ โครงการจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ เสนอรายชื่อเมืองหรือชุมชนที่มีศักยภาพพร้อมเข้าสู่กระบวนการพัฒนาต่อยอด เพื่อคัดเลือก Thailand Culture 21 Best Practice เป็นต้นแบบ เพื่อผลักดันสู่การประกวดรางวัลระดับโลก International Award UCLG - Culture 21 ในปี 2025 ต่อไป

สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมกับ UCLG ในครั้งนี้ประกอบด้วยคณะที่ปรึกษาของโครงการจากกรมการท่องเที่ยว, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรมการพัฒนาชุมชน, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน), องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย, สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย, สมาคมนักผังเมืองไทย, ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และมหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนเครือข่ายชุมชนวัฒนธรรมทั่วประเทศ

ไทยชู ‘วัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน’ ภายใต้ \'Agenda 21 for Culture\' จอร์ดี ปาสกาล ผู้ประสานงานคณะกรรมการวัฒนธรรม Agenda 21 for Culture ของ UCLG กล่าวว่า  “การริเริ่มโครงการ Thailand Culture 21 Best Practice เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและการเพิ่มขีดความสามารถของรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะร่วมกันส่งเสริมนวัตกรรม ความยืดหยุ่น และการเติบโตที่ครอบคลุมในเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าเมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายในอนาคต”

ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่ www.thailandculture21.com และ FB: thailandculture21