ส.ก. ดอนเมือง "ทีมวิโรจน์" คะแนนนำ "ไทยสร้างไทย-เพื่อไทย" ตามหายใจรดต้นคอ
นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต สำรวจทัศนคติคนกรุง เลือกตั้งผู้ว่า กทม. เขตดอนเมือง พบ ส.ก."ทีมวิโรจน์" พรรคก้าวไกลนำ ตามมาแบบหายใจรดต้นคอ "ทีมไทยสร้างไทย -ทีมเพื่อไทย" ส่วน พปชร. รั้งอันดับ 6
7 พ.ค.2565 รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยของนายภาณุพัฒน์ เหลือพร้อม นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เรื่อง “ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 : กรณีศึกษาเขตดอนเมือง” ซึ่งเก็บแบบสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ระหว่างวันที่ 16-24 เมษายน 2565
ผมขอนำเสนอสรุปบางด้าน ดังนี้
- ด้านเพศ
- ชาย 193 คน 48.2%
- หญิง 199 คน 49.8%
- เพศทางเลือก 8 คน 2%
- ด้านอายุ
- Gen Z (อายุ 18-25 ปี) 118 คน 29.4%
- Gen Y (อายุ 26-42 ปี) 191 คน 47.8%
- Gen X (อายุ 43-57 ปี) 75 คน 18.8%
- Gen Baby Boomer ขึ้นไป (อายุ 58 ปีขึ้นไป) 16 คน 4.0%
- ด้านอาชีพ
- นักเรียนนักศึกษา 73 คน 18.3%
- พนักงานเอกชน 115 คน 28.7%
- รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 53 คน 13.3%
- เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 48 คน 12.0%
- ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 65 คน 16.3%
- พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 24 คน 6.0%
- อื่นๆ 22 คน 5.5%
- ท่านจะไปเลือกตั้งหรือไม่
- ไปเลือกตั้ง 393 คน 98.25%
- ไม่ไปเลือกตั้ง 1 คน 0.25%
- ยังไม่ตัดสินใจ 1.5%
สรุปภาพรวม คนเขตดอนเมืองเลือกสมาชิกสภากรุงเทพฯ (ผู้สมัคร ส.ก. มี 7 คน) ดังนี้
อันดับ 1 หมายเลข 5 นายไกรศักดิ์ เสาเวียง (พรรคก้าวไกล) 113 คน 28.2%
อันดับ 2 หมายเลข 3 นายพนา วุฒิเดช (พรรคไทยสร้างไทย) 94 คน 23.5%
อันดับ 3 หมายเลข 2 นางกนกนุช กลิ่นสังข์ (พรรคเพื่อไทย) 73 คน 18.3%
อันดับ 4 หมายเลข 6 นายอดิเรก สังข์นุช (ทีมอัศวิน) 47 คน 11.8%
อันดับ 5 หมายเลข 4 นายศิววงศ์ วงศ์พิชญา (พรรคประชาธิปัตย์) 35 คน 8.8%
อันดับ 6 หมายเลข 1 นางวีรยา กลั่นปัญญา (พรรคพลังประชารัฐ) 21 คน 5.3%
อันดับ 7 หมายเลข 7 นางสาวฤดีมาศ เที่ยงทัศน์ (พรรคประชากรไทย) 1 คน 0.3%
ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร 12 คน 3.0% ไม่เลือกใคร 4 คน 1.0%
ด้านอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม (เฉพาะเลือก 3 อันดับแรกในแต่ละ Gen)
- คน Gen Z (18-25 ปี) เลือก
- อันดับ 1 นายไกรศักดิ์ (ก้าวไกล) 38.1%
- อันดับ 2 นายพนา (ไทยสร้างไทย) 25.4%
- อันดับ 3 นางกนกนุช (เพื่อไทย) 19.5%
- คน Gen Y (26-42 ปี) เลือก
- อันดับ 1 นายพนา (ไทยสร้างไทย) 24.6%
- อันดับ 2 นายไกรศักดิ์ (ก้าวไกล) 24.1%
- อันดับ 3 นางกนกนุช (เพื่อไทย) 17.3%
- คน Gen X (43-57 ปี) เลือก
- อันดับ 1 นายไกรศักดิ์ (ก้าวไกล) 28.0%
- อันดับ 2 นางกนกนุช (เพื่อไทย) และนายอดิเรก (ทีมอัศวิน) 18.7%
- อันดับ 3 นายพนา (ไทยสร้างไทย) 17.3%
- คน Gen Baby Boomer ขึ้นไป (58 ปีขึ้นไป) เลือก
- อันดับ 1 นายอดิเรก (ทีมอัศวิน) 43.8%
- อันดับ 2 นายพนา (ไทยสร้างไทย) 25.0%
- อันดับ 3 นางกนกนุช (เพื่อไทย) 18.8%
สรุป
1. คนเขตดอนเมืองที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครเป็น ส.ก. ถึง 96% นั่นอาจเพราะได้ตัดสินใจจะเลือกใครเป็นผู้ว่า กทม. แล้ว
2. คนเขตดอนเมืองเลือก ส.ก.
- อันดับ 1 นายไกรศักดิ์ (ก้าวไกล) 28.2%
- อันดับ 2 นายพนา (ไทยสร้างไทย) 23.5%
- อันดับ 3 นางกนกนุช (เพื่อไทย) 18.3%
- อันดับ 4 นายอดิเรก (ทีมอัศวิน) 11.8%
- อันดับ 5 นายศิววงศ์ (ประชาธิปัตย์) 8.8%
- อันดับ 6 นางวีรยา (พลังประชารัฐ) 5.3%
- อันดับ 7 นางสาวฤดีมาศ (ประชากรไทย) 0.3%
3. คะแนนผู้สมัคร ส.ก. ก้าวไกลได้รับสูงกว่าเล็กน้อยจากคะแนนที่นายวิโรจน์ก้าวไกลได้รับจากสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
4. คะแนนที่นายชัชชาติได้รับจากสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม. น่าจะกระจายสู่สนามเลือกตั้ง ส.ก. ที่ผู้สมัครพรรคไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล
5. ผู้สมัคร ส.ก. ทีมอัศวิน ได้รับคะแนนน้อยกว่าเล็กน้อยที่ พล.ต.อ.อัศวิน ได้รับในสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
6. ผู้สมัคร ส.ก. พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนน้อยกว่าเล็กน้อยที่ นายสุชัชวีย์ ได้รับในสนามเลือกตั้งผู้ว่า กทม.
7. ผู้สมัคร ส.ก. พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคหลักของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ได้รับคะแนนน้อยมากยิ่ง
8. คน Gen X, Gen Y และ Gen Z กระจายคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ก. พรรคก้าวไกล พรรคไทยสร้างชาติ และพรรคเพื่อไทย
9. คน Gen Baby Boomer ขึ้นไป กระจายคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัคร ส.ก. ทีมอัศวิน พรรคไทยสร้างชาติ และพรรคเพื่อไทย
ตาราง อายุผู้ตอบแบบสอบถามกับการเลือกตั้ง ส.ก. เขตดอนเมือง
(หมายเลขแนวนอน คือหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ส.ก.)
จัดทำโดย นายภาณุพัฒน์ เหลือพร้อม นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เรื่อง “ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 : กรณีศึกษาเขตดอนเมือง”
หมายเหตุ : เพจ “โฟกัสเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต” มีวัตถุประสงค์ที่จะนำความรู้วิชาการด้านรัฐศาสตร์มาศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 22 พฤษภาคม 2565 และเผยแพร่ความรู้วิชาการแก่นักศึกษาและประชาชน
ข้อมูลและทัศนะที่ปรากฏในบทความเป็นของผู้เขียน/ผู้สัมภาษณ์ ไม่ได้เป็นข้อมูล/ทัศนะของคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต แต่ประการใด
สื่อมวลชนทุกแขนงสามารถนำงานต่างๆ ในเพจนี้ ทั้งบางส่วนหรือทั้งหมด ไปเผยแพร่ต่อได้ในทุกรูปแบบ โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใดทั้งสิ้น ขอเพียงให้เครดิตผู้เขียน และมาจากเพจ “โฟกัสเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต”