"ประวิตร" โชว์ ผลงาน แก้ "ค้ามนุษย์" ลั่น ไทยสมควร ขึ้น เทียร์2 ปี 65
"ประวิตร" มอบนโยบายป้องกันปราบปราม "ค้ามนุษย์" เผย ใช้กลไกระดับชาติ บริหารจัดการคดี ยกระดับมาตรฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน ลั่น ไทย สมควรได้รับการจัดลำดับ ขึ้น เทียร์2 ปี 65
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ก่อนเป็นประธานแถลงข่าวผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาล โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ร่วมด้วย
โดย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นที่ทราบดีอยู่แล้ว ไทยตระหนักถึงความร้ายแรงของอาชญากรรมการค้ามนุษย์ โดยประกาศให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี58 กำหนดให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบูรณาการ ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป และสร้างความร่วมมือเพื่อกำหนดทิศทางและทำงาน ของทุกภาคส่วน ให้ประสานและสอดคล้องกัน โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการ ในการพัฒนากลไก ระดับชาติมาตรฐานและวิธีปฏิบัติร่วมมือต่างๆ จากองค์การระหว่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นความสำคัญในการสำเร็จของวันนี้
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รัฐบาลประกาศใช้กลไกการต่อระดับชาติการบริหารจัดการคดีและการช่วยเหลือฟื้นฟูคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการจ้างแรงงานหรือบริการ พ.ศ 2565 เพื่อกำหนดวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจนให้ปฏิบัติการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน และพันธกรณีระหว่างประเทศ
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนต้องขอขอบพระคุณทุกท่าน ในการเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานการค้ามนุษย์ตลอดมา ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าและมีความเชื่อมั่น แผนการปฏิบัติงานนี้จะเป็นเครื่องมือให้ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับได้ใช้ปฏิบัติงานในเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่างไป
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ในปี64 ถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามข้อเสนอแนะสำคัญ 5 ประเด็น ในรายงานสถานการณ์การค้าของสหรัฐฯ โดยมีผลความก้าวหน้า อย่างเป็นรูปธรรมอย่างการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานและคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ พัฒนาการกลไกการตรวจสอบระดับชาติ กำหนดให้นายจ้างต้องจัดทำสัญญาจ้างเป็นภาษาไทยและภาษาที่ลูกจ้างต่างด้าวเข้าใจได้ การดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รัฐบาลจึงได้ริเริ่มโครงการสำคัญ ยกระดับหลักฐานการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างยั่งยืน จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกส่งต่อในระดับชาติ และการบริหารจัดการคดีและการช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียหาย จากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์หรือบริการ ปี 65 พร้อมจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายระดับชาติ จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ออกมาตรการทำงานเชิงรุกป้องกันเด็กจากการค้ามนุษย์
สำหรับในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ และส่งผลให้การอาชญากรรมต่างๆลดลงทุกประเภทในช่วงปี 2563 และ9 เดือนแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564 สามารถสอบสวนคดีการค้ามนุษย์ได้แต่ 188 คดี สูงกว่าในปี 2563 โดยเฉพาะคดีออนไลน์ปรับรูปแบบการทำงานในรูปแบบออนไลน์ได้แก่ การคัดแยกผู้เสียหาย สินไหมทดแทน การพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อย่างยั่งยืนต่อไปเพราะฉะนั้น ประเทศไทยได้รับสมควรได้รับการพิจารณาจัดลำดับขึ้นเป็นเทียร์ 2 ในปี 65 นี้ อันเป็นผลของการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน